ตัวอย่างโครงสร้าง Template ตอนที่ 3 (หน้าอนุมัติ)

1. Approval Page (TH): หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย

ในหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยจะมีความแตกต่างกันมากที่สุดในแต่ละสถาบันการศึกษา เนื่องจากแต่ละสถาบันการศึกษามีผู้อนุมัติในการทำวิทยานิพนธ์ไม่เหมือนกัน จึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษา HTML ด้วยในการจัดรูปแบบหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยนี้

ApprovalPageTH

จากตัวอย่าง Source Code หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการรูปแบบหน้าอนุมัตินี้จะไม่ได้มีแค่ตัวแปรที่ต้องทราบ แต่ยังมีข้อมูลอื่น ๆ อีกที่ต้องทราบและใช้งานเป็น เพราะจะต้องนำมาใช้งานในการจัดรูปแบบ ซึ่งข้อมูลที่ต้องทราบมีดังนี้

1) Tag : เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง จาก Source Code ข้างต้นมี Tag ดังนี้

– <table> คือ ตาราง
– <tr> คือ แถวในตาราง
– <td> คือ คอลัมน์ในตาราง

2) Attribute : ข้อมูลที่อยู่ภายในกรอบของแท็ก HTML เป็นตัวบอกคุณลักษณะของ Tag นั้น จะมีอยู่สองส่วนคือ name และ value จาก Source Code ข้างต้นมี Attribute ดังนี้

– align ใช้กำหนดตำแหน่งของข้อความหรือตัวแปร
– width ใช้กำหนดความกว้างของตาราง
– height ใช้กำหนดความสูงของตาราง

3) Variable : ตัวแปรทั่วไปที่อยู่ภายใต้ {{…}}

– {{title_name_th}} คือ ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาไทย
– {{student_name_th}} คือ ชื่อนิสิตนักศึกษาภาษาไทย
– {{degree_name_th}} คือ ชื่อปริญญาภาษาไทย
– {{major_name_th}} คือ ชื่อสาขาวิชาภาษาไทย
– {{width_approve_th}} คือ ความกว้างช่องเซ็นชื่อ
– {{advisor_name_prefix_th}} คือ คำนำหน้าของอาจารย์ที่ปรึกษา
– {{advisor_name_th}} คือ ชื่อและนามสกุลอาจารย์ที่ปรึกษา
– {{advisor_name_postfix_th }} คือ คำลงท้ายของอาจารย์ที่ปรึกษา
– {{chairman _name_th}} คือ ชื่อและนามสกุลประธาน
– {{co_advisor_name_th}} คือ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
– {{committee_name_th}} คือ กรรมการ
– {{external_examiner_th}} คือ กรรมการภายนอก

4. ตัวแปรชุดคำสั่งพิเศษ : เป็น Tag ที่นักพัฒนาโปรแกรมของระบบไอทีสีสเป็นผู้สร้างขึ้นมา จากข้อมูลที่ควรทราบข้างต้น เป็นข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ในการจัดรูปแบบหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์

– {{sign-table}} คือ ตารางลายเซ็น
– {{sign}} คือ ข้อความในตารางลายเซ็น

จากภาพที่ 26 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 27

ApprovalPageTH02

หมายเหตุ: หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย หน้าที่ 1 และ 2 จะเป็นรูปแบบเดียวกัน

2. Approval Page (EN): หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ

Approval Page Section

<a href="#Approval Page">Approval Page saction</a>
<a name="Approval Page"></a>

ในหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยจะมีความแตกต่างกันมากที่สุดในแต่ละสถาบันการศึกษา เนื่องจากแต่ละสถาบันการศึกษามีผู้อนุมัติในการทำวิทยานิพนธ์ไม่เหมือนกัน จึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในการเขียนโปแกรมภาษา HTML ด้วยในการจัดรูปแบบหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยนี้

ApprovalPageEN01

จากตัวอย่าง Source Code หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ จะมีตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

– {{title_name_en}} คือ ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาไทย
– {{student_name_en}} คือ ชื่อนิสิตนักศึกษาภาษาไทย
– {{degree_name_en}} คือ ชื่อปริญญาภาษาไทย
– {{major_name_en}} คือ ชื่อสาขาวิชาภาษาไทย
– {{width_approve_en}} คือ ความกว้างช่องเซ็นชื่อ
– {{advisor_name_prefix_en}} คือ คำนำหน้าของอาจารย์ที่ปรึกษา
– {{advisor_name_en}} คือ ชื่อและนามสกุลอาจารย์ที่ปรึกษา
– {{advisor_name_postfix_en }} คือ คำลงท้ายของอาจารย์ที่ปรึกษา
– {{chairman _name_en}} คือ ชื่อและนามสกุลประธาน
– {{co_advisor_name_en}} คือ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม
– {{committee_name_en}} คือ กรรมการ
– {{external_examiner_en}} คือ กรรมการภายนอก

จากภาพที่ 28 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 29

ApprovalPageEN02

หมายเหตุ: หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ หน้าที่ 1 และ 2 จะเป็นรูปแบบเดียวกัน

Tiny URL for this post:
 

Related Articles