มาตรฐานการจัดทำรายงานการศึกษา หรือรายงานการวิจัย

รายงานการศึกษาหรือรายงานการวิจัย ต้องประกอบด้วยเนื้อหาตามลำดับ ดังนี้

1. ส่วนนำ (Preliminaries) ประกอบด้วย

  1. ปก (Cover) ประกอบด้วย ปกนอก และปกใน
  2. คำนำ (Preface) หรือกิติกรรมประกาศ
  3. บทคัดย่อ (Abstract) หรือบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  4. สารบัญ (Table of content) ประกอบด้วยสารบัญตาราง สารบัญภาพ

2. ส่วนเนื้อความ (Text) แบ่งเป็นบทตามเนื้อหาโดยประกอบด้วย

  1. บทนำ (Introduction) ประกอบด้วย
    1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    3. ขอบเขตของการวิจัย
    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะไดรับ
  2. การทบทวนวรรณกรรม (Review literature) เป็นการทบทวนเอกสาร ที่แสดงให้เห็นถึงขอบเขตองค์ความรู้ (Body of Knowledge) เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา รวมทั้งงานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องโดยการทบทวนวรรณกรรมอาจมีบทเดียว หรือหลายบทตามปริมาณเนื้อหาในเรื่องนั้น ๆ ประกอบด้วย
    1. กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้
    2. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
  3. ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) เป็นส่วนที่นำเสนอเกี่ยวกับวิธีวิทยาในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย
    1. รูปแบบการวิจัย
    2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    3. การเก็บรวบรวมขอ้มูล
    4. การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิจัย
  4. ผลการวิจัย (Result) เป็นการนำเสนอผลการศึกษา ในรูปแบบการบรรยาย ตาราง แผนภาพ แผนภูมิแล้วแต่ความเหมาะสม
  5. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ (Summary and Recommendation) เป็นการสรุปผลการศึกษา พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลการศึกษา เปรียบเทียบกับแนวคิด ทฤษฎีที่นำใช้เป็นกรอบในการวิจัย รวมทั้งงานวิจัยที่ผ่านมาว่า ผลการศึกษาวิจัยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ มีความ สอดคลอ้งหรือแตกต่างในประเด็นใดบ้าง จากปัจจยัหรือสาเหตุใด ตลอดจนนำเสนอข้อเสนอที่ได้ จากผลการวิจัยครั้งนี้และข้อเสนอแนะในการทำ การวิจัยคร้ังต่อไป

3. ส่วนอ้างอิง การอ้างอิงใน รายงานการศึกษา หรือรายงานการวิจัย ให้ใช้การ อ้างอิงรูปแบบบรรณานุกรม (References) โดยควรใช้ระบบ นาม-ปี เป็นต้น ประกอบด้วย

  1. เอกสารอ้างอิง หรือ บรรณานุกรม
  2. ภาคผนวก

4. ภาคผนวก รายละเอียดในส่วนของภาคผนวกจะเป็นส่วนให้รายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งการจะมีภาคผนวกหรือไม่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสม หากมีให้เริ่มภาคผนวกในหน้าถัดจากบรรณานุกรม โดยมีข้อความว่า “ภาคผนวก” อยู่กลางหน้ากระดาษ รายละเอียดในภาคผนวก ให้แสดงในบรรทัดถัดไป หรือในหน้าถัดไปตามความเหมาะสม

ที่มา : คู่มือมาตรฐานการจัดทำเอกสารวิชาการ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

Tiny URL for this post:
 

Related Articles