การใช้งาน IF condition

การใช้งาน if condition ในแต่ละหน้าวิทยานิพนธ์นี้ ใช้เพื่อกำหนดเงื่อนไขบางอย่างที่นิสิต/นักศึกษาในสถาบันการศึกษาเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขในการแสดงรูปแบบวิทยานิพนธ์ที่ต่างกัน โดยวิธีการเขียนเงื่อนไข if condition จะมีรูปแบบในการเขียนและมีจุดประสงค์ในการใช้เงื่อนไขที่แตกต่างกันไป โดยในแต่ละหน้าวิทยานิพนธ์จะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ซึ่งจะมีรูปแบบในการเขียน if condition ดังนี้

{if _______________
{elseif ______________ } ______________
{elseif ______________ } ______________
{else} ______________
{/if}

มีตัวอย่างการใช้งานเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้

1. เงื่อนไข Article A/AN

if01

จากภาพ เป็น Article ของคำที่ใช้เรียกวิทยานิพนธ์เป็น An ซึ่งถ้าเป็นคำว่าการค้นคว้าอิสระจะใช้คำว่า Independent Study ซึ่งต้องใช้ Article An แต่ถ้าเป็นคำอื่นที่นอกเหนือจากคำว่าการค้นคว้าอิสระจะใช้ Article A ซึ่งการแก้ไขปรับเปลี่ยนเพิ่มเงื่อนไขจะทำได้โดยการแก้ไข Source Code ข้างล่างนี้

if02

จากภาพเป็น Source Code ในการตรวจสอบคำที่ใช้เรียกวิทยานิพนธ์ โดยที่ html_entity_decode ({{word_thesis_en}}) คือ การทำให้ตัวแปร {{word_thesis_en}} คืนค่าเป็นข้อความออกมา แล้วนำมาตรวจสอบว่าตรงกับคำที่กำหนดหรือไม่ ดังภาพ Source Code ข้างต้น ซึ่งคำที่กำหนดมาคือคำว่า “Independent Study” ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะใช้ Article An แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จจะใช้ Article A แทน

2. เงื่อนไขการไม่สังกัดภาควิชา (หน้าปกนอก-ใน)

if03

จากภาพที่ 40 จะเห็นได้ว่าไม่มีการแสดงส่วนของภาควิชา เนื่องจากคณะที่นิสิตนักศึกษา ศึกษาอยู่ไม่มีการสังกัดภาควิชา ทำให้การแสดงข้อความภาพข้างต้น ไม่มีข้อมูลของภาควิชา ซึ่งการแก้ไขปรับเปลี่ยนเพิ่มเงื่อนไขจะทำได้โดยการแก้ไข Source Code ดังภาพที่ 41

if04

จากภาพที่ 41 จะเห็นได้ว่ามีการเขียน if-conditon ในส่วนของตัวแปร {{degree_name_th}} (หลักสูตร) และตัวแปร {{major_name_th}} (สาขาวิชา) โดยที่ถ้ามีการสังกัดภาควิชาจะอยู่ใน if-condition แรกซึ่งจะมีตัวแปร {{department_name_th}} (ภาควิชา) หมายความว่านิสิต/นักศึกษาคนนั้นมีการสังกัดภาควิชา และจะทำการแสดงข้อความที่มีภาควิชาด้วย แต่ถ้าไม่มีการสังกัดภาควิชาจะอยู่ใน if-condition ที่สองทำให้ไม่มีการแสดงข้อความที่มีภาควิชา

3. เงื่อนไขการไม่สังกัดภาควิชา (หน้าอนุมัติ)

if05

จากภาพภาพที่ 42 เป็นตัวอย่างการแสดงหัวข้อในหน้าอนุมัติที่ไม่มีการสังกัดภาควิชา และถ้าต้องการกำหนดการแสดงหัวข้อในหน้าอนุมัติ กรณีที่มีการสังกัดภาควิชา จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไข if condition เพิ่มเติม ซึ่งการแก้ไขปรับเปลี่ยนเพิ่มเงื่อนไขจะทำได้โดยการแก้ไข Source Code ดังภาพที่ 43

if06

จาก Source Code ข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีการกำหนดเงื่อนไข if condition ขึ้นมา โดยที่ถ้ามีการสังกัดภาควิชาจะมีการแสดงหัวข้อภาควิชา เพิ่มเข้ามาอีกหัวข้อหนึ่ง

4. เงื่อนไขอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (หน้าอนุมัติ)

if07

จากภาพที่ 44 เป็นหน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ตัวอย่างใช้คำว่า “อาจารย์ที่ปรึกษา”) 1 คน ซึ่งในทุกวิทยานิพนธ์จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และมักจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมด้วย ซึ่งในบางกรณีไม่ได้มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมเพียงคนเดียว จึงต้องมีการใช้ if-condtion เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งการแก้ไขปรับเปลี่ยนเพิ่มเงื่อนไขจะทำได้โดยการแก้ไข Source Code ดังภาพที่ 45

if08

จาก Source Code จะเห็นได้ว่าเป็นการใช้ if condition เพื่อทำการตรวจสอบอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม โดยที่ตรวจสอบทีละคน และจากภาพเป็น Source Code ตัวอย่างเงื่อนไขอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมเพียง 2 ท่าน ถ้าต้องการเพิ่มจำนวน if condition ก็สามารถแก้ไขได้ในส่วนดังกล่าว

Tiny URL for this post:
 

Related Articles