เมนู Template Management
เมนู Template Management เป็นเมนูที่ใช้สำหรับแก้ไขเทมเพลต หรือรูปแบบหน้าเอกสารโครงร่างวิทยานิพนธ์และวิทยานิพนธ์ตามที่ต้องการ โดยการแก้ไขนี้จะเป็นรูปแบบเทมเพลตที่ผู้ดูแลระบบเลือกจากเมนูย่อย Type Setting ซึ่งการใช้งานเมนู Template Management นี้ ผู้ดูแลระบบต้องอาศัยความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียนภาษา HTML และ XML ด้วย
ส่วนประกอบเมนูย่อย Template Management
- Template list คือส่วนที่ผู้ดูแลระบบต้องทำการเลือกก่อน ว่าจะแก้ไขวิทยานิพนธ์ขั้นตอนใด ประกอบไปด้วย
- Proposal – โครงร่างวิทยานิพนธ์
- Thesis – วิทยานิพนธ์ (ตั้งแต่วิทยานิพนธ์ฉบับร่างเป็นต้นไป หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์)
- Pages list จะแสดงเทมเพลตในหน้าเอกสารวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ ของเล่มวิทยานิพนธ์ที่ระบบรับรอง
- กล่องข้อความที่ใช้ในการแก้ไข Tag และระบุคำสั่งในการแสดงผลของข้อมูล
Template list
Proposal
เทมเพลตเอกสารโครงร่างวิทยานิพนธ์ระบบจะรองรับให้สถาบันการศึกษาสามารถกำหนดได้สูงสุด 4 หน้ากระดาษ โดยจะมีเทมเพลตมาตรฐานให้เพียง 1 รูปแบบ ใช้งานร่วมกันทั้งเล่มวิทยานิพนธ์ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หากต้องการแยกรูปแบบต้องใส่เงื่อนไขขึ้นมาตรวจสอบ
*การเปิดใช้งานการสร้างเทมเพลตโครงร่างวิทยานิพนธ์ขึ้นกับสถาบันการศึกษา ว่าต้องการให้มีโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือไม่ ซึ่งสามารถแจ้งผู้ให้บริการติดตั้งระบบก่อนติดตั้ง และใช้งานระบบไอทีสิส
Thesis
เทมเพลตเอกสารวิทยานิพนธ์ ตั้งแต่วิทยานิพนธ์ฉบับร่าง(Draft)ขึ้นไป หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์(Complete) จะใช้เทมเพลตเดียวกัน
ซึ่งเทมเพลตเอกสารวิทยานิพนธ์ที่ระบบรองรับให้สามารถแก้ไขได้มีทั้งหมด 10 หน้า ได้แก่
- Cover pages first th – หน้าปกแรกของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย
- Cover pages first en – หน้าปกแรกของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ
- Cover page th – หน้าปกภาษาไทย
- Cover page en – หน้าปกภาษาอังกฤษ
- Approval page th – หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย
- Approval page th2 – หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย 2
- Approval page en – หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ
- Approval page en2 – หน้าอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาอังกฤษ 2
- Abstract page th – หน้าบทคัดย่อภาษาไทย
- Abstract page en – หน้าบทคัดย่อภาษาอังกฤษ
โดยที่หน้าสารบัญ หน้ากิตติกรรมประกาศ หน้าบรรณานุกรม และหน้าประวัติผู้เขียน จะไม่สามารถแก้ไขเทมเพลตได้
วิธีดำเนินการ
- สามารถคลิกที่ Variable description เพื่อดูข้อมูลตัวแปรที่สามารถใช้งานในเทมเพลตได้
- เลือกเทมเพลตที่ต้องการแก้ไข (โครงร่างวิทยานิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์)
- เลือกหน้าเอกสารวิทยานิพนธ์ที่ต้องการแก้ไข
- แก้ไขในส่วนของโค้ด เพื่อแก้ไขเทมเพลตในรูปแบบที่ต้องการ
- เมื่อปรับปรุง/แก้เทมเพลตเรียบร้อยให้คลิกที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูล
- สามารถกำหนดว่าหน้าใดที่ต้องการ (YES) / ไม่ต้องการ (NO) ให้ระบบ Add-in Gennerate ได้
Tiny URL for this post: