แนวทางการใช้งานระบบไอทีสีส (iThesis) สำหรับเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาในสถาบัน ที่มีการโอนย้าย จากระบบ E-THESIS มายัง ระบบ iThesis

การใช้งานระบบไอทีสีสโดยทั่วไปสำหรับเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาที่ทางสถาบันมีการโอนย้ายจากระบบ E-THESIS มายังระบบ iThesis และเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาที่เริ่มใช้งานในระบบ iThesis มีขั้นตอนการใช้งาน ทั้งในส่วนของเว็บ (Web portal) ที่ไม่แตกต่างกันมาก แต่จะมีข้อแนะนำในการใช้งานสำหรับเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาในส่วนของการแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ที่อาจมีแตกต่างเนื่องมาจากการตั้งค่าของผู้ดูแลระบบดังนี้ 1. การมองเห็นเมนูของเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา โดยปกติแล้วเมนูที่เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาจะมองเห็นและสามารถดำเนินการได้ในระบบ iThesis ได้แก่ PROPOSAL สำหรับดูข้อมูลนิสิตนักศึกษาที่ดำเนินการผ่านขั้นตอนโครงร่างวิทยานิพนธ์ DRAFT VERSION สำหรับดูข้อมูลนิสิตนักศึกษาที่ดำเนินการผ่านขั้นตอนวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง COMPLETE VERSION สำหรับดูข้อมูลนิสิตนักศึกษาที่ดำเนินการผ่านขั้นตอนวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ PUBLICATION สำหรับดูข้อมูลนิสิตนักศึกษาที่ดำเนินระบุข้อมูลบทความตีพิมพ์ COMPLETED HARDCOPY สำหรับดูข้อมูลนิสิตนักศึกษาที่ได้ผ่านการโอนย้ายไฟล์วิทยานิพนธ์เข้าสู่คลังปัญญาของสถาบัน (IR) BARCODE สำหรับการดำเนินการรับเล่มวิทยานิพนธ์ (หากได้รับมอบสิทธิ์จากผู้ดูแลระบบ) ALL STATUS สำหรับตรวจสอบสถานะการดำเนินการวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษา ADVISOR/ADVISEE สำหรับตรวจสอบข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาทีมีนิสิตนักศึกษาในที่ปรึกษา MANAGE ADVISOR/EXAMINER สำหรับการจัดการข้อมูลอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการภายนอก ROLES & CAPABILITIES การจัดการเจ้าหน้าที่สาขาภายในสังกัดคณะของตน (หากได้รับมอบสิทธิ์จากผู้ดูแลระบบ) PRIVILEGES TABLE การมอบสิทธิ์การใช้งานจากนิสิตนักศึกษาให้กับเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือการใช้งาน […]

แนวทางการใช้งานระบบไอทีสีส (iThesis) สำหรับนิสิตนักศึกษาในสถาบันที่มีการโอนย้ายจากระบบ E-THESIS มายัง ระบบ iThesis

การใช้งานระบบ iThesis โดยทั่วไปสำหรับนิสิตนักศึกษาที่ทางสถาบันมีการโอนย้ายจากระบบ E-THESIS มายังระบบ iThesis และนิสิตนักศึกษาที่เริ่มใช้งานในระบบ iThesis มีขั้นตอนการใช้งานทั้งในส่วนของเว็บ(Web portal) และแอดอิน(Microsoft Word iThesis Add-in) ที่ไม่แตกต่างกันมาก แต่จะมีข้อแนะนำในการใช้งานสำหรับนิสิตนักศึกษาที่เคยดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ผ่านระบบ E-THESIS มาก่อน ดังนี้ 1. ปัญหาการใช้งานการเขียนวิทยานิพนธ์บน Microsoft Word iThesis Add-in เนื่องจากโครงสร้างของการสร้างเทมเพลตของทั้งสองระบบมีความแตกต่างกันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาคุณสมบัติและการใช้งานให้รองรับกับฟังก์ชันที่เพิ่มเติมในระบบ iThesis ทำให้นิสิตนักศึกษาที่ได้ดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์มาก่อนหน้าในระบบ E-THESIS มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์จากที่เคยดำเนินการแต่เดิมมาดำเนินการต่อได้ เช่น นิสิตนักศึกษาได้ผ่านขั้นตอนกระบวนการทำโครงร่างวิทยานิพนธ์มาแล้วในระบบ E-THESIS ต้องการดำเนินการต่อในกระบวนการวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง จึงใช้วิธีการดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ที่เคยบันทึกเข้าระบบ E-THESIS (Save to cloud) แล้วดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับร่างต่อ จากนั้นต้องการบันทึกไฟล์ที่ดำเนินการด้วยการคลิกที่ปุ่ม Save to cloud ระบบจะแสดงข้อความดังภาพด้านล่าง ดังนั้นหากนิสิตนักศึกษาต้องการดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ต่อในระบบ iThesis ผ่าน Microsoft Word […]

การเข้าถึง data files / revisions และการดาวน์โหลดไฟล์สำหรับผู้ดูแลระบบ

หากผู้ใช้งานต้องการไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อข้อมูลไปยังแหล่งข้อมูลของมหาวิทยาลัยสำหรับนักพัฒนา หรือ ผู้เรียนต้องการเข้าถึงไฟล์วิทยานิพนธ์ของตัวเอง แต่ไม่สามารถเข้าระบบได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว ดังนั้น ผู้ใช้งานเหล่านี้จำเป็นต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบไอทีสิสของมหาวิทยาลัย เพื่อขอไฟล์ ดังนั้นผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ จัดเตรียมโปรแกรมและตั้งค่าเชื่อมต่อกับระบบ ติดตั้งโปรแกรม WinSCP (download) ตั้งค่าการเชื่อมต่อระบบโดยใช้กลไกของ SSH key-based authentication สามารถศึกษาวิธีติดตั้งได้ ที่นี่ ในกรณีที่ท่านได้ทำการเชื่อมต่อไปยังเซิฟเวอร์ระบบไอทีสิสอยู่แล้ว หรือเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ โดยปกติแล้วระบบจะเก็บข้อมูลไฟล์วิทยานิพนธ์ของผู้เรียนที่ได้ “Save to cloud” จาก Microsoft Word Add-in อยู่ที่ /home/volume/app-webapp/file ให้เชื่อมต่อไปยัง path ดังกล่าว เมื่อเข้ามาแล้วจะพบรายชื่อ Folder แสดงผลเป็นเลข 2 หลัก ซึ่งจะถูกแทนด้วยรหัสนักศึกษา 2 หลักหน้า (ex. 54/) เลือก Folder ตามรหัสนักศึกษาอีกครั้ง โดยเลือกจากตัวเลข 2 หลักสุดท้ายของรหัสนักศึกษา (ex. […]

ขั้นตอนการระบุตัวตนของระบบไอทีสิสของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา (authentication checks)

ระบบ iThesis จะเชื่อมต่อและใช้ระบบพิสูจน์ตัวบุคคล (authentication) ของสถาบันการศึกษาและให้สิทธิ์ในระบบ (authorization) เพื่อเข้าใช้งาน โดยรองรับการเชื่อมต่อได้ 2 ระบบคือ LDAP (Lightweight Directory Access Protocol) AD (Active Directory) ภายหลังจากการเตรียมข้อมูล view ตามจำนวนที่ระบบมีความต้องการใช้งานและสามารถทำการ sync มายังระบบ iThesis ผ่านระบบ CDS แล้ว ระบบจะอนุญาตให้รายชื่อบุคคลที่มีความต้องการใช้งานตามฟังก์ชันและหน้าที่ในระบบก็ต่อเมื่อมีสิทธิ์เข้าถึง หรือ login ได้เท่านั้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนโดยย่อเพื่อใช้เป็นแนวทางการตรวจสอบ เมื่อผู้ดูแลระบบ (administrator) พบปัญหาการเข้าใช้งานของนิสิตนักศึกษา (student) หรืออาจารย์ที่ปรึกษา (advisor) ในสถาบันตนเอง กรณีการ login ของนิสิตนักศึกษามีขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลดังนี้  ต้องมีข้อมูลของนิสิตนักศึกษาที่จะ login อยู่ใน View STUDENT ของฝั่งสถาบันการศึกษา ต้องมีข้อมูลของนิสิตนักศึกษาใน LDAP […]

เข้าถึง log การใช้งานของ iThesis Web Application

ในหลายครั้งเมื่อมี enduser ต้องการขอความช่วยเหลือในกรณีที่ระบบแสดงข้อความปัญหา (error message) หรือ ข้อความบ่งชี้ว่าระบบน่าจะผิดปกติ สำหรับผู้ดูแลระบบแล้ว สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ ระบบไม่สามารถให้บริการใช่หรือไหม? ระบบมีข้อผิดพลาดเป็นวงกว้างหรือเปล่า? หลายสิ่งหลายอย่างอาจ ไม่เอื้อให้ admin ทำการสำรวจสอบถาม enduser ที่ใช้งานทีละคน ทีละคน แต่เนื่องจากระบบ iThesis มีการจับเก็บ log การทำงานไว้ ซึ่ง admin สามารถเข้าถึงได้ ณ ตำแหน่งที่กำหนดไว้ (ในกรณีที่ server ยังคงเปิดให้สามารถเข้าถึงได้ไม่เกิดปัญหา system down) โดยปกติจะกำหนดให้มีการจัดเก็บข้อมูลประเภทไฟล์ไว้ที่ /home/volume/ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ /home/volume/app-webapp จัดเก็บข้อมูลของค่า configuration / data files / revisions และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมด /home/volume/ithesis-api จัดเก็บข้อมูลการทำงานของ […]

การใช้งานเมนูย่อย Template Management ในบทบาทผู้ดูแลระบบ (Admin)

  เมนู Template Management เมนู Template Management เป็นเมนูที่ใช้สำหรับแก้ไขเทมเพลต หรือรูปแบบหน้าเอกสารโครงร่างวิทยานิพนธ์และวิทยานิพนธ์ตามที่ต้องการ โดยการแก้ไขนี้จะเป็นรูปแบบเทมเพลตที่ผู้ดูแลระบบเลือกจากเมนูย่อย Type Setting ซึ่งการใช้งานเมนู Template Management นี้ ผู้ดูแลระบบต้องอาศัยความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียนภาษา HTML และ XML ด้วย   ส่วนประกอบเมนูย่อย Template Management Template list คือส่วนที่ผู้ดูแลระบบต้องทำการเลือกก่อน ว่าจะแก้ไขวิทยานิพนธ์ขั้นตอนใด ประกอบไปด้วย Proposal –  โครงร่างวิทยานิพนธ์ Thesis –  วิทยานิพนธ์ (ตั้งแต่วิทยานิพนธ์ฉบับร่างเป็นต้นไป หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์) Pages list จะแสดงเทมเพลตในหน้าเอกสารวิทยานิพนธ์ต่าง ๆ ของเล่มวิทยานิพนธ์ที่ระบบรับรอง กล่องข้อความที่ใช้ในการแก้ไข Tag และระบุคำสั่งในการแสดงผลของข้อมูล Template list Proposal เทมเพลตเอกสารโครงร่างวิทยานิพนธ์ระบบจะรองรับให้สถาบันการศึกษาสามารถกำหนดได้สูงสุด  […]

แนวทางการใช้งาน REST Server ของ DSpace เพื่อดึงข้อมูล Metadata และไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

ส่วนประกอบชั้นข้อมูลในระบบ DSpace ของระบบ iThesis Community คือ รายชื่อมหาวิทยาลัย Collection คือ รายชื่อคณะ Item คือ รายชื่อหัวข้อการทำวิจัย File & Metadata คือ ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ทำวิจัยเช่น ชื่อผู้ทำวิจัย ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ชื่อปริญญาเป็นต้น รวมถึงไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ การใช้งาน REST Service URI และรูปแบบการใช้งาน REST Service URL : http://{domain-or-ip}/ir-servicesตัวอย่างการแสดงข้อมูล : การแสดงข้อมูลรายการ Community หรือรายชื่อมหาวิทยาลัย URL : http://{domain-or-ip}/ir-services/communities Example : http://dspace-domain.com/ir-services/communities  ตัวอย่างการแสดงข้อมูล : การแสดงข้อมูลรายการ Collection หรือรายชื่อคณะในแต่ละ Community URL : http://{domain-or-ip}/ir-services/communities/{community-id}/collections Example : http://dspace-domain.com/ir-services/communities/6/collectionsตัวอย่างการแสดงข้อมูล […]

การตรวจสอบเบื้องต้นของผู้ดูแลระบบ (Admin) เมื่อ login เข้าสู่ระบบไม่ได้จะทำอย่างไร?

การเข้าสู่ระบบไอทีสิสไม่ได้ เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ admin ระบบ ที่จะต้องตรวจตราและตรวจสอบความเป็นไปได้ของปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เนื่องจากระบบไอทีสิสมีองค์ประกอบหลายส่วน อาจใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันตามความคล่องตัวของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยสรุปอาการเมื่อ login เข้าใช้งานระบบไม่ได้ อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ระบบ authentication system ของมหาวิทยาลัยประสบปัญหาใช้การไม่ได้ ฐานข้อมูลผู้ใช้งานไม่ถูก sync เข้าสู่ระบบไอทีสิส ข้อมูลอ้างอิงระหว่างฐานข้อมูลผู้ใช้งานในระบบไอทีสิส กับ ระบบ authentication ไม่สอดคล้องกัน (หลายมหาวิทยาลัยใช้รหัสนิสิตนักศึกษาทั้งการ login และ identifier ระหว่างระบบ) ฐานข้อมูลกลางของมหาวิทยาลัยที่ใช้สำหรับระบบไอทีสิสมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดข้อมูลขยะและอาจเกิดข้อมูลซ้ำซ้อนภายในระบบ มีการคืนสิทธิ (revoke) ทำให้ไม่สามารถใช้งานระบบได้อีกต่อไป ระบบไม่สามารถเขียน log การทำงานได้ (เกิดขึ้นน้อยมาก) disk ที่ใช้งานสำหรับการเขียน log พบปัญหา (เกิดขึ้นน้อยมาก) ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบอาการเบื้องต้นได้จากบริบทการเชื่อมโยงระหว่างระบบไอทีสิสกับระบบที่ใช้งานในมหาวิทยาลัย และสามารถเข้าถึง server ได้โดยใช้ ssh-key authentication และตรวจสอบ […]

เมื่อระบบคืนค่า account_mapping_not_found และวิธีแก้ไขปัญหา

การคือค่า account_mapping_not_found เกิดจากผู้ใช้งานนั้นเคยเข้าสู่ระบบมาก่อนแล้ว ทำให้มีรายชื่ออยู่ภายในระบบใน role ใด role หนึ่ง จากนั้นมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้ดังกล่าวในระบบพิสูจน์ตัวบุคคลของทางมหาวิทยาลัย เช่น ผู้ใช้ดังกล่าวเป็น staff อยู่ในระบบไอทีสิส โดยมีข้อมูลในระบบพิสูจน์ตัวบุคคลของทางมหาวิทยาลัยเป็น OU=STAFF ถูกเปลี่ยนเป็น OU=TEACHER ทำให้ระบบไอทีสิสส่งผู้ใช้ดังกล่าวไป authen กับข้อมูลใน role อื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ และเกิด error account_mapping_not_found ขึ้น  

การแทรกหน้าแนวนอนบนเล่มวิทยานิพนธ์

           จากข้อจำกัดของระบบในส่วนของการทำหน้ากระดาษแนวนอนที่มีอยู่ใน iThesis 2017 ในเวอร์ชันที่ต่ำกว่า 1.4.9 ซึ่งแต่เดิมต้องใช้วิธีการหมุนตารางเพื่อให้สามารถวางเนื้อหา (Content) ให้อยู่ในรูปแบบแนวนอนได้ ในเวอร์ชัน 1.4.9 เป็นต้นไปถูกพัฒนาให้รองรับการแทรกหน้ากระดาษที่เป็นแนวนอนดังภาพด้านล่าง ก่อนที่จะเข้าสู่วิธีการแทรกหน้ากระดาษแนวนอน ขอแนะนำ Trick ในการใช้งาน MS Word เมื่อต้องการจัดหน้าเอกสารให้ง่ายมากขึ้นด้วย Paragraph mark วิธีการแทรกหน้ากระดาษแนวนอน กรณีที่ต้องการแทรกหน้ากระดาษแนวนอนระหว่างหน้ากระดาษแนวตั้งสามารถดำเนินการได้ตามวิธีดังต่อไปนี้ 1.นำ Cursor มาวางไว้ที่ตำแหน่งท้ายสุดของหน้าก่อนที่ต้องการให้ให้หน้าแนวนอน   2. คลิกที่เมนู Layout > Break > Next page ตามหมายเลข 1, 2, 3, ดังรูป   2. เมื่อเราคลิก Paragraph mark ที่ได้แนะนำไปตอนต้นจะสังเกตได้ว่าจะมีเครื่องหมาย […]