คำถามที่พบบ่อยในการใช้งานระบบ iThesis Q : โปรแกรม Reference Manager ที่รองรับในปัจจุบัน มีโปรแกรมอะไรบ้าง? A : ระบบไอทีสิสรองรับการใช้งานร่วมกับโปรแกรม EndNote และ Zotero เท่านั้น ในส่วนของโปรแกรม Mendeley นั้น ปัจจุบันยกเลิกการ support แล้ว Q : มีคู่มือการใช้งานระบบภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตนักศึกษาต่างชาติหรือไม่ A : ปัจจุบันยังไม่มีการจัดทำคู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษฉบับเต็ม แต่นิสิตนักศึกษาต่างชาติสามารถเข้าไปศึกษาขั้นตอนการใช้งานระบบ iThesis ในรูปแบบ Workflow (ฉบับย่อ) ได้ (ที่นี่) . Q : iThesis สามารถใช้งานกับ web browser ใดได้บ้าง? A : iThesis สามารถรองรับการใช้งานได้กับทุกโปรแกรมค้นดูเว็บไซต์ (web […]
Road to finish your Thesis/Dissertation
การแก้ไขเมื่อหน้าสารบัญ Dotted line (เส้นประ) ระหว่างหัวข้อเรื่อง และเลขหน้าไม่ปรากฏ
Microsoft Word นั้นมีฟังก์ชันที่เป็นตัวช่วยในการทำสารบัญ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างสารบัญให้ผู้ใช้(นิสิต/นักศึกษา)อัตโนมัติ โดยใช้วิธีการอ้างอิงจากหัวข้อเรื่องที่ผู้ใช้ทำการกำหนดขึ้นนั่นเอง ทำให้หัวข้อเรื่องที่ผู้ใช้ทำการกำหนดขึ้น ปรากฏในสารบัญหลัก (Read more) ซึ่งระหว่างหัวข้อเรื่อง (Heading) และเลขหน้า (Page number) ของเล่มวิทยานิพนธ์นี้จะเชื่อมกันด้วยจุดไข่ปลา (dot) เชื่อมต่อกันเป็นเส้นประ (Dotted line) ทำให้บางครั้งผู้ใช้งานจะพบปัญหาเส้นประดังกล่าวไม่ปรากฏขึ้นในหน้าสารบัญ (Table of contents) ทำให้เลขหน้าเลื่อนมาทางซ้ายติดกับหัวข้อเรื่อง ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง สาเหตุ และการแก้ไข ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ผู้ใช้กำหนดไว้ มีจำนวนตัวอักษรน้อยเกินไป ซึ่งข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหา หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ขึ้น คือ ทำการเพิ่มจำนวนตัวอักษร/จำนวนคำของหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะทำสารบัญที่มีปัญหาดังกล่าว ไม่น้อยกว่า10-15 ตัวอักษร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการผสมพยัญชนะ และสระ โดย Microsoft Word จะใช้วิธีการคำนวณความยาวของหัวข้อวิทยานิพนธ์เพื่อสร้าง dot ตามจำนวนที่กำหนดไว้นั่นเอง
แนวทางแก้ไขปัญหา Error :Entry size / stream mismatch
การ Save to cloud เพื่อทำการบันทึกไฟล์โครงร่างวิทยานิพนธ์,วิทยานิพนธ์ฉบับร่าง และวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์เข้าสู่ web portal บางครั้งอาจพบแจ้งเตือนข้อผิดพลาด (Error) ในลักษณะ Error : Entry size/stream size mismatch โดยเป็นการแจ้งเตือนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ หรือเนื้อหาในเอกสาร มีรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง เช่น เนื้อหาเกินจาก Grid ที่ระบบกำหนด โดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ แนวทางการตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อเลือกวิธีการแก้ไขที่ถูกต้อง ทำการ Generate template หน้าเปล่าขึ้นมา (login iThesis add-in จากนั้นกดที่ปุ่ม Generate template จะทำให้ได้หน้า template เปล่าขึ้นมา ไม่มีเนื้อหา) ทำการ Inspect หรือ save to cloud หากดำเนินการตามข้างต้นแล้วไม่พบ error ดำเนินการแก้ไขตามบทความนี้ […]
แนวทางการแก้ไขปัญหาสารบัญในไฟล์ .pdf มีบรรทัด Dotted line (เส้นประ) เกินมา
ก่อนที่ผู้ใช้จะทำการ Save to cloud เมื่อทำการตรวจสอบแล้วพบว่าระบบสารบัญใน Microsoft Word เรียบร้อยดี แต่เมื่อกลับมาตรวจสอบที่ไฟล์ .pdf พบว่าสารบัญนั้นเกิดความผิดปกติไปจากที่เคยตรวจสอบไว้ โดยมีบรรทัดที่มีลักษณะเป็นจุดไข่ปลา(…….) เพิ่มขึ้นมา ซึ่งสาเหตุของปัญหานี้เกิดขึ้นที่ไฟล์ Microsoft Word ที่ผู้ใช้งานทำวิทยานิพนธ์ ทำให้แสดงผลออกมาทางไฟล์ .pdf ซึ่งมีลักษณะดังภาพด้านล่างนี้ วิธีในการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาง่ายๆ ที่นิสิตนักศึกษาสามารถทำได้เองมีขั้นตอนดังนี้ 1. เปิด File วิทยานิพนธ์ใน MS Word ที่ต้องการแก้ไข 2. เข้าไปที่ View 3. ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ Navigation Pane 4.จากภาพด้านล่างจะปรากฏแถบ Navigation ที่ด้านซ้ายมือ ให้สังเกตช่องว่างเมื่อนำ Cursor ลากผ่าน (หากใน word ที่เปิดไม่ปรากฏช่องว่างให้ download ไฟล์วิทยานิพนธ์ที่เพิ่ง save to […]
แนวทางการดำเนินการของเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯในการรับ-ยกเลิกเล่มวิทยานิพนธ์
การรับเล่มวิทยานพนธ์ฉบับสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่จะทำกาารตรวจสอบความถูกต้อง และความเรียบร้อยของเล่มวิทยานิพนธ์ รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลที่ปรากฎบนใบนำส่งยวิทยานิพนธ์ ส่วนการยกเลิกเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์นั้น จะสามารถทำได้ในกรณีที่วิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวยังไม่ถูกส่งไปยังคลังปัญญาของสถาบัน หากเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวถูกนำเข้าสู่คลังปัญญาของสถาบันแล้ว จะไม่สามารถทำการยกเลิกวิทยานิพนธ์ได้ การรับเล่มวิทยานิพนธ์ การยกเลิกเล่มวิทยานิพนธ์ การรับเล่มวิทยานิพนธ์ หลังจากตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการเก็บข้อมูลการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ โดยสามารถเลือกใช้วิธีการได้2 วิธี ดังต่อไปนี้ การกรอกข้อมูลตัวเลขจากหน้าปกของเล่มวิทยานิพนธ์ สามารถทำได้โดย พิมพ์ชุดเลข Barcode (ตัวเลขที่ปรากฎในส่วนของมุมขวาล่างบนปกของวิทยานิพนธ์) (หมายเลข 1) คลิก Submit (หมายเลข 2) . . การ Scan barcode จากหน้าปกของเล่มวิทยานิพนธ์ หรือใบนำส่งวิทยานิพนธ์ . การยกเลิกเล่มวิทยานิพนธ์ สำหรับวิธีในการยกเลิกเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์นี้สามารถทำได้ดังนี้ เจ้าหน้าที่ทำการ Scan barcode หรือพิมพ์ตัวเลขที่อยู่บนหน้าปกของวิทยานิพนธ์ลงในฟอร์มการกรอกข้อมูลเลข barcode เช่นเดียวกันกับวิธีการรับเล่มวิทยานิพนธ์ดังที่กล่าวไปข้างต้นในหัวข้อการรับเล่มวิทยานิพนธ์ คลิกที่เครื่องหมายกากบาทตามลูกศรดังภาพด้านล่าง . . ระบบจะปรากฏกล่องข้อความขึ้นมา เพื่อทำการยืนยันการยกเลิกวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว ดังภาพ […]
การตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเมื่อพบ Error ในการ Sacn barcode ( Error : Barcode (xxx) not found / Error : updating record )
เมนูบาร์โค้ด (Barcode) เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาทำการเก็บข้อมูลการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ผ่านการ Scan barcode จากหน้าปกเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete Version) ที่นิสิตนักศึกษาพิมพ์ก่อนออกจากเมนู Revision & Approval หรือจากใบนำส่งวิทยานพนธ์ที่พิมพ์ออกจากเมนู Submition document ซึ่งในการ Scan barcode ของเจ้าหน้าที่บัณฑิตบางครั้งอาจมีการแสดงการเเจ้งเตือน Error ขึ้น โดยจะเป็นการเเจ้งเตือนในลักษณะ Error : Barcode (xxx) not found และ Error : updating record ดังนี้ . Error : Barcode (xxx) not found ซึ่งจะมีลักษณะการแจ้งเตือนดังภาพด้านล่าง . . การแจ้งเตือน Error ในลักษณะนี้เกิดขึ้นจากหมายเลข Barcode ที่เจ้าหน้าที่ได้รับไม่ได้เป็นเล่มเดียวกันกับวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete version) ซึ่งเลขดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงหากนิสิตนักศึกษามีการยกเลิกวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ […]
วิธีการตรวจสอบ System Status เบื้องต้น
System Status เป็นเมนูสำหรับใช้แสดงสถานะ และข้อมูลของการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ (Server connection) และข้อมูลการใช้งานดิสก์ ซึ่งจะมีการจัดเก็บสถานะทุกๆ 1 นาที ทำให้ผู้ที่ต้องการตรวจสอบสามารถเข้ามาตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อได้ Host and current status จะแบ่งได้ดังนี้ CDS IR AD OAI TDC DIS โดยOAI เป็นส่วนประกอบ หรือหน่วยย่อยที่สนับสนุนการทำงานของ IR ส่วน TDC และ DIS เป็นเครื่องของระบบกลาง (สกอ.) ซึ่ง Host and current status จะแสดงสถานะดังนี้ แสดงสถานะปกติ แสดงสถานะขัดข้อง อาทิ การบริการ หรือการใช้งานของเครื่องผิดปกติ แต่สามารถตรวจสอบปลายทางได้ แสดงสถานะผิดปกติ อาทิ […]
แนวทางการแก้ไขเมื่อ Generate template ไม่ได้ (Error message)
ในกรณีที่ผู้ใช้(นิสิต/นักศึกษา) พบ error ขึ้นในขณะทำการ Generate template นั้น ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ ใช้ดำเนินการ Generate template มี componants ไม่เหมาะสม ทำให้ระบบไม่รองรับต่อการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการ Generate template ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ปัญหามักอยู่ที่การหาสาเหตุดังกล่าว ที่ทำให้ระบบไม่รองรับต่อการ Generate template จึงแนะนำให้ผู้ใช้ทำการตรวจสอบ และแก้ไขเบื้องต้นตาม Article นี้ เลือกประเภท Error ที่พบ Failed to generate template please try to re-login to re-generate template again โดยปรากฎข้อความในกล่อง Erorr : The measurement must be between […]
แนวทางการแก้ไขปัญหากรณี Save to cloud/Upload file ไม่ได้ มีการแจ้งเตือน Invalid selection, please select EndNote Library file .(enl).
ปัญหาจากการแจ้งเตือน Invalid selection, please select EndNote Library file (.enl) ขณะทำการ Save to cloud หรือ Upload file เกิดขึ้นเนื่องจากมีการบันทึกชื่อไฟล์โดยมีการใส่อักขระพิเศษลงไปในชื่อ ยกตัวอย่างเช่น . (dot) , (comma) เป็นต้น ทำให้ระบบไม่สามารถอ่านได้ ทำให้เกิดแจ้งเตือน Invalid selection, please select EndNote Library file (.enl) ขึ้น ยกตัวอย่างดังภาพ . ข้อแนะนำ จากการแก้ไขปัญหาในกรณีที่นิสิตนักศึกษาทำการ Save to cloud หรือทำการ Upload file ไม่ได้ ให้นิสิตนักศึกษาทำการแก้ไขชื่อ Folder ที่นิสิตจัดเก็บโดยเอาอักขระพิเศษออก . . […]