ถาม-ตอบระบบ iThesis

คำถามที่พบบ่อยในการใช้งานระบบ iThesis 

 

Q : โปรแกรม Reference Manager ที่รองรับในปัจจุบัน มีโปรแกรมอะไรบ้าง?

A : ระบบไอทีสิสรองรับการใช้งานร่วมกับโปรแกรม EndNote และ Zotero เท่านั้น ในส่วนของโปรแกรม Mendeley นั้น ปัจจุบันยกเลิกการ support แล้ว

 

Q : มีคู่มือการใช้งานระบบภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตนักศึกษาต่างชาติหรือไม่

A : ปัจจุบันยังไม่มีการจัดทำคู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษฉบับเต็ม แต่นิสิตนักศึกษาต่างชาติสามารถเข้าไปศึกษาขั้นตอนการใช้งานระบบ iThesis ในรูปแบบ Workflow (ฉบับย่อ) ได้ (ที่นี่)

.
Q : iThesis สามารถใช้งานกับ web browser ใดได้บ้าง?

A :  iThesis สามารถรองรับการใช้งานได้กับทุกโปรแกรมค้นดูเว็บไซต์ (web browser) แต่ web browser ที่แนะนำคือ Google Chrome เนื่องจาก web browser อื่นอาจส่งผลในด้านการแสดงผลของไฟล์ .pdf  จึงแนะนำว่าหากเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ให้ใช้วิธีการดาวน์โหลดไฟล์ .pdf ที่ต้องการ แล้วทำการเปิดในเครื่องจากไฟล์ที่ทำการดาวน์โหลดแทน

 

Q : ตัวหนังสือ หรือตัวอักษรภาษาไทยเพี้ยน บนไฟล์ .pdf เกิดจากอะไร?

A :  การเปิดไฟล์พีดีเอฟ (.pdf) ผ่าน web browser มักส่งผลให้มีการแสดงผลตัวอักษรที่ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในภาษาไทย แนะนำให้เปิดในเครื่องจากไฟล์ที่ทำการดาวน์โหลดแทน (ลักษณะปัญหาคล้ายกับข้อด้านบน)

 

Q : การ generate template และ re-generate template แตกต่างกันอย่างไร?

A : เมื่อนิสิตนักศึกษากดปุ่ม generate template เมื่อเข้าใช้งาน iThesis add-in จะปรากฎเพียงหน้าที่ระบบกำหนดมาให้เท่านั้น (template) และไม่มีเนื้อหาใดปรากฎ จะแนะนำเพื่อใช้สำหรับการเริ่มต้นเขียนวิทยานิพนธ์ใหม่

ในกรณีที่นิสิตนักศึกษามีเนื้อหาเดิมอยู่แล้ว และมีการอัปเดตข้อมูลบนเว็บพอร์ทัล หรือได้รับการอนุมัติ proposal และเปลี่ยนขั้นตอนเป็น draft ซึ่งกระบวนการที่กล่าวไปข้างต้นนั้นจะทำให้ข้อมูลบน template เปลี่ยนแปลงไป นิสิตนักศึกษาสามารถกดเปิดไฟล์เวอร์ชันที่ต้องการเพื่อเรียกเนื้อหา (Revisions) จากนั้นให้กดที่ปุ่ม generate template ระบบจะทำการอัปเดตข้อมูลบน template ให้โดยที่เนื้อหายังคงอยู่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเราจะเรียกว่า re-generate template

 

Q : ทำไมชื่อวิทยาศาสตร์ในหน้าสารบัญไม่สามารถทำให้เป็นตัวเอียงได้?

A : ผู้ใช้สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรในสารบัญไม่ว่าจะเป็นสารบัญหลัก สารบัญภาพ หรือสารบัญตาราง ตามต้องการได้ โดยการตั้งค่า style ของ caption ที่มีอยู่แล้วใน MS Word ตามวิธีการใช้ MS Word ปกติ (Read more)

 

Q :  ทำการอัปโหลดไฟล์ภาพขนาดใหญ่ หรือมีความละเอียดสูงไม่ได้ ต้องทำอย่างไร?

A : ปัจจุบันไฟล์ที่จะสามารถทำการอัปโหลดขึ้นระบบได้ จำเป็นจะต้องมีขนาดไม่เกิน 128MB / 1 revision จึงทำให้ไม่สามารถอัปโหลดไฟล์ภาพที่มีขนาดใหญ่ หรือความละเอียดสูงขึ้นระบบได้ ดังนั้นผู้ใช้จำเป็นจะต้องทำการลดขนาดไฟล์ลงมา สำหรับรูปที่พบปัญหาดังกล่าว และต้องการส่งให้อาจารย์นั้น ในระบบจะมีส่วนที่ให้แนบไฟล์ได้เพิ่มเติม เมื่อส่งเล่มให้อาจารย์ตรวจสอบ ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถอัปโหลดได้ไฟล์ละไม่เกิน 20MB 
ทั้งนี้โดยปกติระบบจะกำหนดให้ขนาดพื้นที่ทั้งหมดให้นิสิตนักศึกษา 1 คนสามารถใช้งานได้ 5MB ดังนั้นไฟล์ที่นิสิตนักศึกษาทำการส่งขึ้นในระบบรวมทั้งหมดจะต้องไม่เกิน 5GB ซึ่งหากไม่เพียงพอ ผู้ดูแลระบบของมหาวิทยาลัยสามารถกำหนดขนาดพื้นที่ที่จะสามารถให้นิสิตนักศึกษาได้ใช้งานอย่างเหมาะสม และจัดเตรียมพื้นที่ disk ให้เพียงพอต่อการใช้งาน และสำรองข้อมูลดังกล่าวได้

 

Q : มีการรองรับ font ในภาษาอื่นหรือไม่ เช่น ภาษาเขมร ภาษาสันสกฤต หรืออักษรกรีก?

A :  iThesis Template ปัจจุบัน สามารถรองรับได้เพียงภาษาไทย และภาษาอังกฤษเท่านั้น จึงทำให้ส่วนของหน้าปก และส่วนที่มีการ Generate สามารถใช้ได้แค่ 2 ภาษาดังกล่าว แต่ในส่วนของเนื้อหาวิทยานิพนธ์นั้น ผู้ใช้(นิสิต/นักศึกษา) สามารถใช้ font (ภาษา หรืออักษรอื่นๆ) ตามที่ตนเองต้องการได้ตามสะดวก 

 

Q : สามารถเขียนสมการทางคณิตศาสตร์ ไว้ใน Abstract ได้หรือไม่

A : ในส่วนนี้ยังเป็นข้อจำกัดของระบบในการใส่เครื่องหมาย หรือสมการคณิตศาสตร์ แต่หากมีความจำเป็นต้องมีการระบุอักขระพิเศษที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้เป็นอักขระที่เป็นข้อความปกติทั่วไปที่ไม่มีการจัดรูปแบบใดๆ (Plain Text) เช่น  x̄, p̂ หรือ ∑ ซึ่งสามารถค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต และCopy มาใส่ได้ตามปกติ โดยแหล่งรายการสัญลักษณ์ทางคณิตสาสตร์ที่แนะนำ สามารถเลือกได้ ที่นี่ 

 

Q : สามารถเขียนสมการทางคณิตศาสตร์ไว้ในส่วนของเนื้อหาวิทยานิพนธ์ได้หรือไม่

A : สามารถทำได้ตามปกติ โดยใช้การทำ Mathtype ทั่วไป โดยเว็บไซต์ที่แนะนำในการ Create สมการ หรือสูตรทางคณิตศาสตร์ คือ ที่นี่

 

Q : การใช้อักขระพิเศษใน Abstract เช่น x̅ , p̂ ทำไมแสดงผลผิดปกติ?

 A : การแสดงผลเกิดจากการตั้งค่ารูปแบบตัวอักษร (font) หากทำการตั้งค่า font (จากเมนู template settings) เป็น Times New Roman  จะสามารถอ่านอักขระพิเศษได้ และมีการแสดงผลได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

 

Q : การใช้ EndNote เพื่อทำบรรณานุกรม ทำไมอ้างอิงไม่ขึ้นในหน้าที่กำหนด แต่ไปอยู่หน้าสุดท้าย?

A : เป็นขั้นตอนปกติของระบบ เมื่อผู้ใช้ทำการสร้างไลบรารี่เพื่อเก็บข้อมูล และเพิ่มข้อมูลลงในไลบรารี่ดังกล่าว รวมทั้งการอ้างอิงข้อมูลลงบนเอกสารวิทยานิพนธ์แล้ว ข้อมูลการอ้างอิงของวิทยานิพนธ์จะถูกวางอยู่ในหน้าท้ายสุดของ Template ค่ะ ส่วนข้อมูลดังกล่าวนั้นจะปรากฏขึ้นในหน้ารายการอ้างอิง หรือบรรณานุกรมได้ก็ต่อเมื่อมีการบันทึก file วิทยานิพนธ์ผ่าน Add-in หรือหลังจากการ save to cloud นั่นเอง

 

Q : ชื่อวิทยานิพนธ์ยาวเกินไป หลัง Generate พบว่าคำไม่ต่อเนื่องกัน หรือคำถูกตัดไม่สวยงาม

A : ผู้ใช้สามารถใช้ Shift+Enter ในหน้า Electronic form เพื่อใช้ในการตัดคำได้ตามต้องการได้เลยค่ะ โดยผู้ใช้ต้องทำการออกแบบความสมดุลของรูปแบบชื่อวิทยานิพนธ์เอง ทำให้ชื่อวิทยานิพนธ์ที่ออกมามีความสวยงามตามต้องการ

 

Q : การเว้นบรรทัด และการขึ้น paragraph ใหม่ ในหน้า Abstract 

A : ผู้ใช้สามารถใช้ Shift+Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ โดยให้ข้อความถูกจัดอยู่ใน paragraph เดียวกัน
และใช้ Enter เมื่อต้องการขึ้น paragraph ใหม่ (มีย่อหน้า)

Tiny URL for this post:
 

Related Articles