Article นี้จะพูดถึงวิธีการแก้ไขเทมเพลตสำหรับผู้ดูแลระบบไอทีสิสประจำสถาบันการศึกษา เมื่อนิสิตนักศึกษาได้ทำการ Generate template และพบว่ามีการเว้นวรรค (space) เกิดขึ้น ระหว่างชื่อ committee และวงเล็บปิด โดยมีลักษณะดังภาพด้านล่าง สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้ คือการที่นิสิตนักศึกษาไม่มีการใส่ postfix (คำลงท้ายชื่อ) ให้กับ committee ตำแหน่งดังกล่าว ทำให้ระบบอ่านค่าจากการเว้นวรรคที่ code ในส่วนของ {{ชื่อตำแหน่ง_name_postfix_th}} ทั้งนี้ ท่านผู้ดูแลระบบ (admin) สามารถดำเนินการแก้ไขเทมเพลตในส่วนดังกล่าวได้ โดยกำหนดค่าให้ตัวแปรดังกล่าวสามารถอ่านค่าได้หากนิสิตนักศึกษามีการระบุคำลงท้ายชื่อ และให้ตัวแปรไม่แสดงผลเมื่อนิสิตนักศึกษาไม่ได้ทำการระบุคำลงท้ายชื่อ โดยใช้คำสั่งชุด {if isset} {/if} ยกตัวอย่างเช่น ตัวแปรชุดเดิมเป็น ({{chairman_name_prefix_th}} {{chairman_name_th}} {{chairman_name_postfix_th}} ให้แก้ไขโดยเพิ่ม code ตัวอักษรสีน้ำเงินเข้าไป ({{ตำแหน่ง_name_prefix_th}} {{ตำแหน่ง_name_th}}{if isset({{ตำแหน่ง_name_postfix_th}})} {{ตำแหน่ง_name_postfix_th}}{/if}) ทั้งนี้ควรแก้ไขตัวแปรต่าง ๆ ให้มีลักษณะที่สอดคล้องกัน และควรตรวจสอบดังข้อต่อไปนี้ ตำแหน่งของ committee ใน […]
(Admin) แนวทางการแก้ไข เมื่อเจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลสรุปผลการพิจารณาการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) ไม่ถูกต้อง
หลังจากที่อาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor) ได้ทำการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยผู้รับผิดชอบคณะของนิสิตนักศึกษาจะต้องเป็นผู้อนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้นิสิตนักศึกษาอีกครั้ง โดยก่อนที่จะสามารถกดอนุมัติได้ เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยจะต้องทำการกรอกข้อมูลสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากที่ประชุมคณะกรรมการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ โดยต้องกรอกข้อมูลทั้งในส่วนของ ครั้งที่ และวันที่ ใน Approval proposal ด้วย ในกรณีที่ทางเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยกรอกข้อมูลดังกล่าวผิด หรือต้องการแก้ไขภายหลัง จะต้องทำการประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบไอทีสิส (Admin) เพื่อทำการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูล (Database) โดยไม่ต้องให้นิสิตนักศึกษายกเลิก และส่งคำขออนุมัติโครงร่างฯ ใหม่อีกครั้งนั่นเอง วิธีการดำเนินการ หลังจากที่ผู้ดูแลระบบเข้าไปยังเมนู SYSTEM DATABASE หรือ Domain/pma เพื่อเชื่อมต่อไปยังระบบฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ เข้าไปยัง Table Approval_proposal กดที่ปุ่ม search จากนั้นกรอก student id ของนิสิตนักศึกษา เลือก row ที่ column : thesis_profile_id เป็นเลขจำนวนมากที่สุด (แสดงว่าเป็นข้อมูลล่าสุด) เลือก […]
(Admin) วิธีการถอดรหัส (decode) ที่ได้จากไฟล์ Backup template
เมื่อผู้ดูแลระบบได้รับ code ที่มาจากไฟล์ Backup Template จำเป็นต้องทำการ decode ก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งวิธีการในการ decode มีดังนี้ ทำการดาวน์โหลดโปรแกรม Text editor ในที่นี้ทีมงานขออนุญาตยกตัวอย่างเป็นโปรแกรม Visual Studio Code (Download) และ โปรแกรม Json Parser Online (Click here) เปิดโปรแกรม Visual Studio Code > open file (ไฟล์ Backup template ที่บันทึกไว้) จะพบว่ามีส่วนของชื่อหน้า(ในกรอบสี่เหลี่ยม) และ code (ตั้งแต่ { จนถึง } ของบรรทัดนั้น ๆ ให้เลือกหน้าเทมเพลตที่ต้องการ) ทำการ copy code […]
(Admin) การติดตั้ง และเตรียม SSH Keys
Secure Shell หรือ SSH คือโพรโทคอลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ และทำงานต่างๆ บนเครื่องนั้น SSH ออกแบบมาใช้ทดแทน rlogin, TELNET และ rsh เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยเพราะ SSH ใช้วิธีเข้ารหัสข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครื่อง วิธีการดำเนินการมีดังนี้ ดาวน์โหลดโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้งาน ดังนี้ – putty ดาวน์โหลดได้ ที่นี่ – puttygen ดาวน์โหลดได้ ที่นี่ เปิดโปรแกรม Puttgen และทำการ Generate private key สำหรับการ authen ไปยังเครื่องเซิฟเวอร์ กดปุ่ม Generate กรอกข้อมูลดังต่อไปนี้ – Key comment กรอกอีเมลของท่าน – Key passphrase กรอกรหัสผ่านที่ใช้ในการเข้าถึง – Confirm passphrase ยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง กดปุ่ม […]
(Admin) การ Sync ข้อมูล หลังจากเพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูล
โดยปกติเมื่อทำการเพิ่มข้อมูลรายชื่อผู้ใช้ระบบ ไม่ว่าจะเป็น นิสิตนักศึกษา, อาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ ในระบบฐานข้อมูล(Database) เรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องทำการ Sync ข้อมูลที่ทำการเพิ่มไป ให้มีความสอดคล้องกัน ทั้งในส่วนของฐานข้อมูล CDS และฐานข้อมูล iThesis โดยการ Sync ข้อมูลดังกล่าวนั้น ทำผ่านเมนู IMPORT & SYNC DATA วิธีการดำเนินการ login ใน role ผู้ดูแลระบบ (admin) และเข้าสู่เมนู IMPORT & SYNC DATA เข้าสู่เมนูย่อย Database Stnchronization ข้อมูลที่ปรากฎจะประกอบไปด้วย Sync list – รายการที่จะทำการ sync CDS – จำนวนรายการใน list ของฝั่งฐานข้อมูล CDS […]
(Admin) แนวทางการตรวจสอบเมื่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ ไม่ได้รับอีเมลขออนุมัติวิทยานิพนธ์
โดยปกติแล้วกระบวนการส่งคำขออนุมัติวิทยานิพนธ์ ไม่ว่าจะเป็น โครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal), วิทยานิพนธ์ฉบับร่าง (Draft) และวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete) จะมีการส่งออกอีเมลไปยังผู้เกี่ยวข้องเสมอ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ (เฉพาะในส่วนของ Proposal) ในอีเมลนั้นจะประกอบไปด้วยลิงก์อนุมัติ (Approval link) เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ ใช้ในการพิจารณาวิทยานิพนธ์ในฉบับนั้น ๆ ซึ่งในบางครั้งอาจเกิดการตกหล่นในส่วนของอีเมล ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ หาอีเมลดังกล่าวไม่พบ หรือคาดว่าไม่ได้รับอีเมลฉบับดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถใช้งานในส่วนของลิงก์อนุมัติ (Approval link) ได้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลระบบทำการตรวจสอบว่ามีการส่งออกอีเมลออกจากระบบหรือไม่ ก่อนส่งเรื่องให้ผู้พัฒนาระบบตรวจสอบต่อไป โดยปกติแล้ว ช่องทางที่สามารถพบลิงก์อนุมัติ (Approval link) ประกอบไปด้วย 2 ช่องทางได่แก่ เมนูอาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ อีเมลที่มีการส่งออกในระบบไอทีสิส (Mail sender) [วิธีนี้สามารถใช้ตรวจสอบกับอีเมลขออนุมัติแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ และหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้] วิธีการตรวจสอบลิงก์อนุมัติจากเมนูอาจารย์ที่ปรึกษา login ใน role […]
แนวทางแก้ไขปัญหา Error :Entry size / stream mismatch (มีจากการเปิดใช้งาน Add-in อื่น ร่วมด้วย)
การ save to cloud เพื่อทำการบันทึกไฟล์เข้าสู่ระบบไอทีสิส เมื่อพบ Error : Entry size/stream size mismatch นอกจากเหนือจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ หรือเนื้อหาในเอกสารวิทยานิพนธ์ มีรูปแบบไม่ถูกต้องแล้ว(บทความ คลิกที่นี่) ยังเกิดขึ้นจากอีกสาเหตุหนึ่ง คือ Microsoft Word ในอุปกรณ์ (คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุค, ฯลฯ) ที่นิสิตนักศึกษาใช้ในการ save to cloud นั้น มีการติดตั้ง และเปิดใช้งาน Add-in ตัวอื่นร่วมด้วย (ระบบ iThesis add-in เป็นโปรแกรม Add-in ชนิดหนึ่งที่ติดตั้งเสริม เพื่อใช้งานใน Microsoft Word ซึ่งการเปิดใช้งานในส่วนของ Add-in ตัวอื่น โดยมากจะเป็น Add-in ที่เกี่ยวข้องกับการแปลงไฟล์ หรือการจัดทำไฟล์ในรูปแบบ PDF มักจะส่งผลกระทบต่อการใช้งาน […]
วิธีการติดตั้งโปรแกรม .NET Framework
.NET Framework เป็นโปรแกรมที่เป็นรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมที่ Microsoft ได้พัฒนาออกมา เพื่อให้สามารถใช้งานในสภาวะของฮาร์ดแวร์ หรือระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา เมื่อติดตั้งลงบนอุปกรณ์ที่ใช้งานทุกชนิด จะทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างมีระบบใดระบบหนึ่งสอดคล้องกัน กล่าวคือ สามารถปรับ Environment ของอุปกรณ์ที่ใช้งานให้เหมาะสมต่อการใช้งานระบบ iThesis Add-in ที่ต้องใช้งานร่วมกันกับโปรแกรม Microsoft Word วิธีการดำเนินการในการติดตั้งโปรแกรม .NET Framework มีดังนี้ ทำการปิดหน้าต่างการใช้งานโปรแกรม Microsoft Word ทั้งหมด ทำการ Download โปรแกรม .NET Frameword โดย คลิกที่นี่ โดยการ Download นั้นให้นิสิตนักศึกษาทำการเลือกเวอร์ชันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ของตนเอง โดยจะสังเกตุเห็นคำว่า recommended อยู่หลังเวอร์ชัน โดยที่ระบบจะแสดงข้อความดังกล่าวหลังเวอร์ชันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่นิสิตนักศึกษาใช้ โดยพิจารณาจากเวอร์ชันระบบปฏิบัติการ (Windows) และส่วนประกอบอื่น ๆ หลังจากที่ทำการ Download โปรแกรมดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ reset อุปกรณ์ที่ใช้งานใหม่อีกครั้ง หากทำการติดตั้งโปรแกรมไม่ได้ […]
(Admin) วิธีการเพิ่ม Account นักศึกษาทดสอบในระบบไอทีสิส
ในกรณีที่ทางผู้ดูแลระบบต้องการ Account นิสิตนักศึกษาเพื่อใช้งานในการทดสอบ ตรวจสอบปัญหา หรือใช้สำรหบัทำการอบรมนั้น ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเพิ่มด้วยตนเองได้ โดยวิธีการดังนี้ เข้าสู่ระบบฐานข้อมูล domain/pma จากนั้น login โดยใช้ User สำหรับเพิ่มข้อมูล เข้าสู่ Table ที่ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูล โดยชื่อ Database จะแตกต่างกันเล็กน้อย ตามแต่ละสถาบัน เลือก table : student เพื่อทำการเพิ่ม account ใน role student ทั้งนี้ หากต้องการเพิ่ม account ใน role อื่น ๆ สามารถเลือกได้จากชื่อ table คลิกที่เมนู Insert เพื่อเพิ่มข้อมูล ทำการกรอกข้อมูลนักศึกษาในแต่ละ column จากนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรอกข้อมูลครบถ้วน โดยเทียบจากข้อมูลนักศึกษาที่มีอยู่ก่อนแล้ว จากนั้นกดที่ปุ่ม Go เพื่อยืนยันการเพิ่มข้อมูลดังกล่าว เข้าสู่ระบบไอทีสิส […]
วิธีการแก้ไขเมื่อพบ Error : Web Exception…
เมื่อนิสิตนักศึกษาทำการ save to cloud ในระบบ iThesis Add-in แล้วพบ iThesis : Error message แสดงข้อความแจ้งเตือน Web Exception An exception occurred during a WebClient request. แสดงว่า Environment (สภาวะแวดล้อม) ของอุปกรณ์ที่นิสิตนักศึกษาใช้ในการ save to cloud นั้น ไม่เหมาะสม ทำให้ระบบ iThesis Add-in ไม่รองรับต่อการ save to cloud หลังจากที่พบ Error ในลักษณะดังกล่าว แนะนำให้นิสิตนักศึกษาทำการลงโปรแกรม .NET Framework ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เป็นรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมที่ Microsoft ได้พัฒนาออกมา เพื่อให้สามารถใช้งานในสภาวะของฮาร์ดแวร์ หรือระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันได้อย่างไม่มีปัญหา เมื่อติดตั้งลงบนอุปกรณ์ที่ใช้งานทุกชนิด […]