การเพิ่มข้อมูลใน Zotero ด้วยตนเอง

หลังจากที่นิสิตนักศึกษาดำเนินการติดตั้งโปรแกรม Zotero ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการเพิ่มข้อมูลบรรณานุกรมเข้าสู่โปรแกรม Zotero สามารถดำเนินการได้หลายวิธีซึ่งจะขอแนะนำการนำเข้าข้อมูล 3 วิธีดังนี้ 1. การนำเข้าข้อมูลด้วยตนเอง (Manual Input) เปิดโปรแกรม Zotero คลิกที่ปุ่มเครื่องหมาย“+”  เพื่อเพิ่มรายการใหม่ ดังหมายเลข 1 เลือกประเภทของบทความที่ต้องการเพื่อทำการเพิ่มรายการบรรณานุกรมดังหมายเลข 2 กรอกข้อมูลตามที่ต้องการเพื่อเพิ่มรายการอ้างอิง โดยโปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลให้อัตโนมัติ   2. การนำเข้าข้อมูลแบบ Direct export จากฐานข้อมูลสารสนเทศจากห้องสมุดต่าง ๆ ติดตั้งโปรแกรม Zotero Connector for Chrome เปิด Chrome Browser ไปที่ฐานข้อมูลสารสนเทศ (ULIMB) จากแหล่งต่าง จะสังเกตได้ว่าบนแถบส่วนขยายปรากฏรูปเอกสาร ซึ่งเป็นโปรแกรมส่วนขยายของโปรแกรม Zotero ดังภาพ เมื่อคลิกแล้วนิสิตนักศึกษาสามารถเลือกที่จัดเก็บ หรือโฟลเดอร์บน Zotero ได้ เมื่อเปิดโปรแกรม Zotero บน desktop […]

การจัดการรายการอ้างอิงในโปรแกรม Zotero

นิสิตนักศึกษาสามารถดำเนินการแทรก ลบ หรือแก้ไขรายการอ้างอิงในโปรแกรม Zotero ได้ โดยดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้ 1. การแทรกรายการอ้างอิงด้วย Zotero หลังจากนิสิตนักศึกษาได้มีการเตรียมข้อมูลรายการอ้างอิงตามวิธีก่อนหน้านี้แล้ว สามารถใช้งานแทรกรายการอ้างอิงบนโปรแกรม  Microsoft Word  ได้ดังนี้ เปิด Microsoft Word และไปยังตำแหน่งที่ต้องการแทรกรายการอ้างอิง คลิกเมนู Zotero บนแถบ Ribbons ของ Microsoft Word ดังหมายเลข 1 และคลิกที่เมนู Add/Edit Citation ดังหมายเลข 2 จะปรากฏหน้าต่างสำหรับการตั้งค่ารูปแบบของดัชนีตัวอ้างอิง (citation) ให้เลือกรูปแบบที่ต้องการและคลิกปุ่ม OK ในหน้ากระดาษบน Microsoft Word จะปรากฏช่องสำหรับค้นหารายการอ้างอิง ให้ทำการค้นหาและคลิกไปยังรายการที่ต้องการ เมื่อคลิกในรายการที่ต้องการแล้วจะปรากฏรายการอ้างอิงบนหน้ากระดาษ   2. การลบรายการอ้างอิง คลิกขวาที่รายการอ้างอิงที่ต้องการจะปรากฏเมนูขึ้นมา ให้เลือก Move Item to […]

(Admin) การ เพิ่ม/ลบ/แก้ไข บทบาทที่เมนู Committee & Examiner

นิสิตนักศึกษาจะมีการใช้งานเมนู Committee & Examiner เพื่อเพิ่มรายชื่อ และกรอกข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม คณะกรรมการ ประธานกรรมการสอบ และบทบาทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ปรากฏอยู่บนเล่มวิทยานิพนธ์ ซึ่งการใช้งานในเมนูดังกล่าวจะปรากฏดังภาพด้านล่าง (กรอบสีแดง) หากผู้ดูแลระบบต้องการลบ หรือแก้ไขบทบาทที่เมนู committee & examiner เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้   กรณีที่ผู้ดูแลระบบยังไม่เคยเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ระบบไอทีสิส ให้ทำการจัดเตรียมโปรแกรมและตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อระบบ ดังต่อไปนี้ ติดตั้งโปรแกรม WinSCP (download) ตั้งค่าการเชื่อมต่อระบบโดยใช้กลไกของ SSH key-based authentication สามารถศึกษาวิธีติดตั้งได้ ที่นี่ กรณีที่ผู้ดูแลระบบได้ทำการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ระบบไอทีสิสอยู่แล้ว หรือเชื่อมต่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปิดไฟล์ทั้งสองไฟล์ที่ path /home/volume/app-webapp/config/univ_{อักษรย่อชื่อสถาบันภาษาอังกฤษ}/committee/ID_list.conf   อธิบายข้อมูลภายในไฟล์ ID_list.conf [a01] คือ หมวดหมู่ ที่ปรึกษา [a02] คือ หมวดหมู่ ที่ปรึกษาร่วม [c01] คือ หมวดหมู่ ประธาน [c02] คือ หมวดหมู่ ประธานกรรมการบัญฑิตศึกษาประจำหลักสูตร [c03] คือ […]

(Admin) การเข้าถึง data files / การอ้างอิงของเล่มวิทยานิพนธ์จากระบบ และการดาวน์โหลดไฟล์สำหรับผู้ดูแลระบบ

หากผู้ดูแลระบบต้องการไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ไปใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อข้อมูลไปยังแหล่งข้อมูลของสถาบันการศึกษา หรือนิสิตนักศึกษาที่ต้องการเข้าถึงไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์หลังจบการศึกษาแล้ว ในส่วนนี้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ การจัดเตรียมโปรแกรมและตั้งค่าเพื่อเชื่อมต่อระบบ (กรณีที่ผู้ดูแลระบบยังไม่เคยเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ระบบไอทีสิสมาก่อน) ติดตั้งโปรแกรม WinSCP (download) ตั้งค่าการเชื่อมต่อระบบโดยใช้กลไกของ SSH key-based authentication สามารถศึกษาวิธีติดตั้งได้ ที่นี่ ในกรณีที่ผู้ดูแลระบบได้ทำการเชื่อมต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ระบบไอทีสิสอยู่แล้ว หรือเชื่อมต่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ โดยปกติแล้วระบบจะเก็บข้อมูลไฟล์วิทยานิพนธ์ของผู้เรียนที่ได้ “Save to cloud” จาก Microsoft Word Add-in อยู่ที่ /home/volume/app-webapp/file (file ไม่เติม s) ให้เชื่อมต่อไปยัง path ดังกล่าว เมื่อเข้ามาแล้วจะพบรายชื่อ Folder แสดงผลเป็นเลข 2 หลัก ซึ่งจะถูกแทนด้วยรหัสนักศึกษา 2 หลักหน้า (ex. 54/) เลือก Folder ตามรหัสนักศึกษาอีกครั้ง โดยเลือกจากตัวเลข 2 หลักสุดท้ายของรหัสนักศึกษา (ex. 54/04) จะปรากฏรายการรหัสนักศึกษาที่ขึ้นต้น […]

(Admin) พจนานุกรมข้อมูลของระบบไอทีสิส

พจนานุกรรมข้อมูล หรือ Data Dictionary ของระบบไอทีสิสนี้ จะแสดงรายละเอียดตารางข้อมูลต่าง ๆ ในฐานข้อมูล (database) ของระบบ รวมไปถึงแผนภาพความสัมพันธ์กันในแต่ละส่วน ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจส่วนประกอบต่าง ๆ ของการจัดเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูล ได้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงสามารถทำการค้นหารายละเอียดที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว พจนานุกรมข้อมูลจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ และถูกจัดลงบนหมวดหมู่ ทำให้ผู้อ่านสามารถค้นหารายละเอียดที่ต้องการผ่านการค้นหาหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อตาราง (table) และ ชื่อเขตข้อมูล (field) เป็นต้น รายละเอียดของพจนานุกรมข้อมูลจะประกอบไปด้วย ชื่อตาราง (table) ชื่อข้อมูล (Column name) อธิบายชื่อข้อมูล (Column Description) ชื่อเขตข้อมูล (field) ชนิดของข้อมูล (datatype) ขนาดของข้อมูล (Length) รหัสอ้างอิงข้อมูล (Primary key) การกำหนดค่าว่าง (Nullable) และ การซ้ำของข้อมูล (Unique) […]

(Admin) แนวทางการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลระบบไอทีสิส

Article นี้จะพูดถึงแนวทางการค้นหาข้อมูลจากระบบไอทีสิส (iThesis) สำหรับผู้ดูแลระบบไอทีสิสประจำสถาบันการศึกษา ในกรณีที่ผู้ดูแลระบบไอทีสิสประจำสถาบันการศึกษาต้องการค้นหาข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ซึ่งบทความนี้จะเป็นตัวช่วยท่านในการเริ่มต้น รวมไปถึงเป็นตัวอย่างในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบไอทีสิส วิธีการดำเนินการ เข้าไปที่ https://[Domain ของทางสถาบัน]/pma หรือเข้าผ่านเมนู SYSTEM DATABASE จากนั้นให้ทำการเข้าสู่ระบบ เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตแถบบริเวณด้านซ้ายจะพบกับฐานข้อมูล ให้เลือกคลิ๊กที่ฐานข้อมูลของทางสถาบันการศึกษาของท่าน โดยส่วนมากจะใช้ชื่อว่า univ_[ตัวย่อชื่อสถาบันการศึกษาภาษาอังกฤษ] . หลังจากที่เลือกฐานข้อมูลแล้วให้สังเกตแถบเครื่องมือบริเวณด้านบน ให้เลือกใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า SQL ตามกรอบสีแดงด้านล่าง . . หลังจากที่เลือกใช้เครื่องมือแล้ว ให้ทำการใส่คำสั่ง query ลงในกรอบสีแดงที่ 1 ดังภาพตัวอย่าง เมื่อใส่คำสั่ง query เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กดที่ปุ่ม Go ที่อยู่ในกรอบสีแดงที่ 2 ดังภาพตัวอย่าง เพื่อทำการค้นหาข้อมูล . . . ตัวอย่างการใช้คำสั่ง . ใส่คำสั่ง query นี้ SELECT […]

วิธีการติดตั้ง Zotero

Zotero เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับทำการบริการ และจัดการบรรณานุกรม ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เปิดให้สามารถใช้งานได้ฟรี และสามารถที่จะรองรับการจัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรม รวมไปถึงเอกสารอ้างอิงได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งโปรแกรม Zotero นั้น เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่สามารถเลือกใช้งานบนเว็บบราวเซอร์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Google Chrome, Firefox หรือ Safari แต่ในบทความนี้ จะแนะนำการติดตั้งโปรแกรม Zotero แบบติดตั้งบนเครื่องนั่นเอง เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.zotero.org (คลิกที่นี่) คลิกที่ปุ่ม Download ตามรูปภาพด้านล่าง คลิกปุ่ม Download ที่ช่องด้านซ้ายมือ (ตามภาพด้านล่าง) จะปรากฏแถบสถานะดาวน์โหลดบริเวณเเถบล่างของหน้าจอ รอจนการดาวน์โหลดเสร็จสิ้น จากนั้นกดคลิก 1 ครั้ง เพื่อติดตั้ง จะปรากฏหน้าต่างแสดงสถานะ รอจนเสร็จสิ้น (100%) จะปรากฏหน้าต่าง User Account Control ให้กดปุ่ม Yes จะปรากฎหน้าต่าง User Account Control อีกครั้ง […]

(Admin) การใช้ตัวแปรกำหนดรูปแบบหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ

รูปแบบของหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะแสดงบน Template หลังจากที่นิสิตนักศึกษาทำการ Generate นั้น จะถูกกำหนดผ่านตัวแปรที่หน้า COVER PAGE FIRST TH และ COVER PAGE FIRST TH ซึ่งโดยปกติแล้วการกำหนดตัวแปรในส่วนของหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาไทยจะมีเพียงรูปแบบเดียว จึงมักไม่มีปัญหาอะไร แต่ในส่วนของตัวแปรหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ มีให้เลือกปรับใช้ 2 รูปแบบ ซึ่งจะแนะนำการใช้งานรูปแบบดังกล่าว และจะกล่าวถึงข้อดีข้อเสียในการเลือกใช้รูปแบบต่าง ๆ ใน Article นี้ด้วย รูปแบบตัวแปรหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษ จะประกอบไปด้วย หัวข้อวิทยานิพนธ์ปกติ (Title name EN) จะแสดงผลหัวข้อวิทยานิพนธ์ตามที่นิสิตนักศึกษากรอกผ่านเว็บพอร์ทัลผ่านเมนู ELECTRONIC FORM ในกล่อง Topic ซึ่งผู้ดูแลระบบสามารถใช้ตัวแปร {{title_name_en}} เพื่อกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ภาษาอังกฤษได้ตามปกติ ตัวอย่างการใช้งานดังรูปภาพด้านล่าง ข้อดี – แสดงผลตามจริง (ตามที่นิสิตนักศึกษากรอกผ่านเว็บพอร์ทัล) โดยที่นิสิตนักศึกษาสามารถเลือกใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ หรือพิมพ์เล็กได้ตามต้องการ สามารถนำไปปรับใช้ได้กับชื่อวิทยาศาสตร์ ข้อเสีย – เนื่องจากตัวอักษรในส่วนอื่น ๆ ของหน้า COVER PAGE FIRST EN […]

(Admin) แนวทางการปรับ template ให้มีรูปแบบ 4 คอลัมน์

ในกรณีที่ทางผู้ดูแลระบบ (Admin) ต้องการปรับรูปแบบในเทมเพลต ไม่ว่าจะเป็นหน้าใบรับรอง (Approval page) หรือหน้าบทคัดย่อ โดยท่านผู้ดูแลระบบสามารถนำวิธีการใน Article นี้ไปปรับใช้ โดยสามารถใช้เพิ่ม หรือลดจำนวนคอลัมน์ตามต้องการได้ รูปแบบเทมเพลตจะมีลักษณะดังรูปภาพด้านล่างนี้ เมื่อเปิด View Gridlines ผ่านโปรแกรม MS Word จะปรากฎเส้นประที่แสดง column และ row ตามความกว้าง และความยาวที่ถูกตั้งค่าไว้ผ่านเมนู Template Add-in ดังภาพด้านล่าง ตัวอย่างการใช้ code สำหรับสร้าง column โดยเมื่อทำการ Generate template (แนะนำให้ผู้ดูแลระบบใช้รหัสนักศึกษาทดสอบ) จะได้ตัวอย่างเทมเพลตดังภาพด้านล่าง (ในส่วนของกรอบสีแดง) การใช้ tag แทนการสร้างแถว และคอลัมน์ จากชุด code ข้างต้นจะสังเกตว่า จะมีการใช้ tag ในการสร้างแถว และคอลัมน์ ท่านผู้ดูแลระบบสามารถใช้ […]

การแก้ไขเทมเพลตกรณีต้องการแยกรูปแบบตามปีการศึกษา

ในกรณีที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการจัดทำเทมเพลตสำหรับแยกปีการศึกษานั้นสามารถทำได้โดยการตั้งเงื่อนไขสำหรับกำหนดรหัสนิสิตนักศึกษา โดยการสร้างเงื่อนไขให้รหัสนักศึกษาที่ต้องการกำหนดค่าให้ใช้เทมเพลตที่ต้องการ อยู่ใน if ส่วนรหัสนักศึกษานอกเหนือจากนั้นให้ใช้เทมเพลตที่อยู่ใน else โดยที่วิธีการแก้ไขเทมเพลตกรณีที่ต้องการแยกรูปแบบตามปีการศึกษานั้นอาจะส่งผลกระทบต่อการ maintenance ระบบได้ เนื่องจากจะมีการเพิ่มชุด code เข้ามา และ code ที่มีลักษณะแตกต่างกัน แนะนำให้ทางสถาบันการศึกษาวางแผนสำหรับรับมือกับปัญหาดังกล่าวก่อนแก้ไขเทมเพลต การเพิ่มเงื่อนไขเพื่อกำหนดรูปแบบตามปีการศึกษา สามารถใช้ชุด code ดังต่อไปนี้ {if substr({{student_id}},0,2) >= ‘61‘ /} ตามด้วยชุด code เทมเพลตที่ต้องการกำหนดค่า {else} ตามด้วยชุด code เทมเพลตนอกเหนือจากที่ต้องการกำหนดค่า {/if} ตัวอักษรสี น้ำเงิน แสดงเครื่องหมายกำหนดค่า ซึ่งสามารถทำการเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ต้องการ เช่น >= มากกว่าหรือเท่ากับ, <= น้อยกว่าหรือเท่ากับ, > มากกว่า, < น้อยกว่า และ == เท่ากับ ตัวอักษร สีฟ้า แสดงตัวเลขปีการศึกษาตามรหัสนิสิตนักศึกษาที่ต้องการกำหนด […]