(Admin) ขั้นตอนการตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นเมื่อพบ error : file too large…

เมื่อนิสิตนักศึกษาทำการ save to cloud ในระบบ iThesis Add-in แล้วพบ iThesis : Error message แสดงข้อความแจ้งเตือน File too large. File must be less than …. หากผู้ดูแลระบบตรวจสอบพบว่าขนาดไฟล์ของนิสิตนักศึกษา เกินที่ระบบกำหนดไว้จริง สามารถให้นิสิตนักศึกษาทำการแก้ไขโดย ลดขนาดไฟล์, ลดขนาดรูปภาพ และตรวจสอบขนาดของ Reference หรือ EndNote ที่นิสิตนักศึกษาได้ทำการแนบว่ามีขนาดเกินกำหนดหรือไม่เมื่อรวมกับในส่วนของเนื้อหาวิทยานิพนธ์ (Total) แต่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ(Admin) ได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่าขนาดไฟล์ที่นิสิตนักศึกษาได้ทำการ save to cloud นั้น มีขนาดไม่เกินที่ระบบได้กำหนดไว้ แสดงว่าพื้นที่จัดเก็บไฟล์บน Server docker container นั้น เหลือทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการใช้งาน  ให้เร่งดำเนินการตรวจสอบแก้ไขดังต่อไปนี้ วิธีการตรวจสอบมีดังนี้ เข้าสู่ iThesis server เข้า docker container ในส่วนของ app-webapp โดยใช้คำสั่ง docker […]

วิธีการดำเนินการ เมื่อเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบไอทีสิส

นิสิตนักศึกษาที่มีการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบ เช่น Word online หรือในโปรแกรมอื่น ๆ นั้น โดยปกติแล้วการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบจะไม่ได้มีผลกระทบกับระบบแต่อย่างใด แต่เมื่อนิสิตนักศึกษามีการบันทึกไฟล์ .docx จาก Word online หรือโปรแกรมอื่น ๆ เหล่านั้น(ที่นิสิตนักศึกษาใช้ในการเขียนวิทยานิพนธ์) แล้วทำการเปิดโปรแกรม Microsoft Word จากนั้นทำการ Re-Generate template หรือ Save to cloud เลย ซึ่งวิธีนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบไอทีสิส เพราะตัวไฟล์วิทยานิพนธ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดจากการ Generate ของระบบเอง ทำให้นิสิตนักศึกษาไม่สามารถนำไฟล์ที่มีการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบมา Re-Generate template หรือ Save to cloud ได้ ในกรณีที่นิสิตนักศึกษามีการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบนั้น ให้ดำเนินการดังนี้ Copy เนื้อหาวิทยานิพนธ์ที่ได้ทำการเขียน เปิด Microsoft Word หน้าต่างใหม่ขึ้น และทำการ Login เพื่อเข้าสู่ระบบ ทำการ Generate template […]

แนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เมื่อพบกรอบรอบเนื้อหาหน้าสารบัญที่ไฟล์ .pdf

ในกรณีที่ผู้ใช้งานระบบพบเจอกรอบขึ้นล้อมรอบหน้าสารบัญในวิทยานิพนธ์ เมื่อทดสอบทำการ save to pdf (การบันทึก ไฟล์ใน Microsoft Word เป็นไฟล์ .pdf) นอกระบบไอทีสิส จะพบว่าเกิดกรอบขึ้นที่หน้าวิทยานิพนธ์เช่นกัน โดยกรอบจะมีลักษณะ กรอบขนาดใหญ่ ล้อมรอบเนื้อหา ระยะห่างไม่มากนักจากขอบกระดาษ ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่ได้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการ Generate pdf file ของระบบ (สามารถทดสอบได้โดยการ save to pdf นอกระบบยังคงพบกรอบอยู่) ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นจากการที่โปรแกรม Microsoft Word ได้ถูกทำการตั้งค่า หรืออัปเดตโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทำให้เมื่อทำการ save to pdf หรือ save to cloud ลงระบบ ไฟล์วิทยานิพนธ์ pdf พบ frame ขึ้นรอบเนื้อหา โดยวิธีการแก้ไขปัญหานี้ จะใช้วิธีการ reset options […]

(Admin) แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีที่ไฟล์นักศึกษาไม่สามารถใช้งานได้ (Replace file)

แนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ได้มาจากการที่นิสิตนักศึกษา ทำการ save to cloud จาก iThesis Add-in เข้าสู่ระบบ โดยระบบจะทำการ Generate ไฟล์เป็น 2 ประเภท คือ .docx และ .pdf  หรือได้มาจากการที่นิสิตนักศึกษาได้ทำ การอัปโหลดไฟล์ LaTex เข้าสู่ระบบจากเมนู REVISION & APPROVAL โดยระบบได้ทำการ Generate ไฟล์เป็น .pdf  ให้ ซึ่งในกรณีที่ไฟล์วิทยานิพนธ์ของเกิดความเสียหายจากการที่ระบบทำการ Generate ไฟล์ ออกมาได้ไม่สมบูรณ์นั้น เช่น ข้อมูลบางส่วนในวิทยานิพนธ์หายไป เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบสามารถทำการเข้าไปแก้ไขไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว เป็นไฟล์ฉบับใหม่ โดยการ Replace แทนไฟล์เดิมที่มีปัญหา โดยไฟล์ที่จัดเตรียมมาใช้แทนนั้นควรเป็นไฟล์ที่ทำการ Convert นอกระบบ วิธีการ Replace file  จัดเตรียมโปรแกรม และตั้งค่าการเชื่อมต่อระบบ – ติดตั้งโปรแกรม […]

แนวทางการตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เมื่อพบ Error : Index and length…

ในกรณีที่นิสิตนักศึกษาทำการ save to cloud ผ่านระบบ iThesis Add-in นั้น แล้วพบการแจ้งเตือน Error : Index and length must refer to a location within the string Parameter name: length ซึ่ง Error ในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาการตั้งค่า หรือการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบ จึงทำให้ระบบไม่สามารถรองรับข้อกำหนดบางอย่างที่เกิดขึ้นได้ วิธีการตรวจสอบเบื้องต้น มีการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบหรือไม่ ตรวจสอบ Section break ตรวจสอบ Directory path ของไฟล์ EndNote(.enl) หรือ ไฟล์ References (กรณีที่มีการแนบ)   การเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบส่งผลต่อการเกิด Error อย่างไร นิสิตนักศึกษาที่มีการเขียนวิทยานิพนธ์นอกระบบ เช่น Word online […]

(Admin) ขั้นตอนการตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นเมื่อพบ Error : Mailer error…

ในกรณีเมื่อนิสิตนักศึกษาทำการส่งคำขออนุมัติวิทยานิพนธ์ (save as …. version) จากเมนู Revision & Approval บนเว็บพอร์ทัลแล้วพบปัญหา Error ทำให้ไม่สามารถทำการส่งคำขออนุมัติวิทยานิพนธ์ดังกล่าวได้ เมื่อนิสิตนักศึกษาได้ทำการแจ้งปัญหาดังกล่าวทางมายังเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ(Admin) ซึ่งมีหน้าที่ทำการตรวจสอบสาเหตุของปัญหาเบื้องต้น ก่อนที่จะส่งรายละเอียดให้ทีมงานผู้พัฒนาระบบไอทีสิสทำการตรวจสอบเชิงลึก โดย Erorr ที่นิสิตนักศึกษาพบ จะมีการแจ้งเตือน Mailer error, please “save…” again. ซึ่งจะมีลักษณะดังภาพด้านล่างนี้ เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นเมื่อพบ Error : Mailer error… แนวทางการแก้ไขปัญหากรณีที่มีการส่งอีเมลออกจากระบบเกิน Limit   วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นเมื่อพบ Error : Mailer error… เข้าสู่ระบบไอทีสิสใน role ของ ผู้ดูแลระบบบ (Admin) เข้าสู่เมนู APPLICATION SETTINGS เข้าสู่เมนูย่อย Email & […]

(Admin) การแก้ไข Template หน้าบทคัดย่อ

การปรับแต่ง Template ในหน้าบทคัดย่อ(Abstract page) นี้ โดยปกติแล้วรูปแบบจะค่อนข้างแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการศึกษา เช่น บางสถาบันการศึกษาได้กำหนดเนื้อหาบทคัดย่อให้ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ หรือบางสถาบันการศึกษาสามารถให้นิสิตนักศึกษามีบทคัดย่อมากกว่า 1 หน้ากระดาษได้ หรือข้อกำหนดรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจแตกต่างกัน โดยใน Article นี้จะขออธิบายการปรับแต่งโดยรวม โดยเน้นไปที่องค์ประกอบหลักของหน้าบทคัดย่อนี้ และข้อมูลที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับความข้อกำหนดของแต่ละสถาบันการศึกษาได้ โดยที่ผู้อ่านสามารถเข้าไปดูตัวอย่างโครงสร้าง Template หน้าบทคัดย่อเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน ส่วนประกอบของ Template ในหน้าบทคัดย่อ การแก้ไข Template กรณีต้องการกำหนดความสูงของกล่องข้อความในส่วนของเนื้อหา และตำแหน่งในส่วนลายมือชื่อ  การแก้ไข Template กรณีไม่ต้องการกำหนดความสูงของกล่องข้อความในส่วนของเนื้อหา และตำแหน่งในส่วนของลายมือชื่อ ส่วนประกอบของ Template ในหน้าบทคัดย่อ Template ในหน้าบทคัดย่อนั้นถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนด้วยกัน(อาจแตกต่างกันไปในแต่ละรูปแบบ template) ถูกแบ่งออกจากกันด้วย Gridlines ที่ทำหน้าที่คล้ายกับกล่องข้อความ แบ่งแยกส่วนต่าง ๆ ของ […]

(Admin) ขั้นตอนการตรวจสอบเบื้องต้น กรณีรายชื่อนศ. ไม่ปรากฏในส่วนของ Status หน้า Homepage

ในกรณีที่มีนิสิตนักศึกษาแจ้งว่าไม่พบรายชื่อตนเองปรากฎอยู่ในข้อมูล Status หน้า Homepage นั้น ผู้ดูแลระบบไอทีสิสประจำมหาวิทยาลัยสามารถทำการตรวจสอบเบื้องต้นถึงสาเหตุที่ทำให้รายชื่อไม่ปรากฎในส่วนดังกล่าวได้ โดยใช้ฐานข้อมูล(Database) เพื่อใช้ในการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบเบื้องต้นมีดังนี้ เข้าไปยังฐานข้อมูล (Database) โดยเข้าผ่าน https://[iThesis domain]/pma ทำการ login เพื่อเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล เข้าไปยังฐานข้อมูลในส่วนที่เก็บข้อมูลระบบไอทีสิสมหาวิทยาลัย Database : univ_[ชื่อย่อมหาวิทยาลัย] หรือ ithesis[ชื่อย่อมหาวิทยาลัย] จากนั้นกดเครื่องหมาย + (บวก) ด้านหน้า กดเข้าไปที่ Tables > APPROVAL_SUMMARY เลือกที่หัวข้อ Search ซึ่งจะปรากฎอยู่ที่แถบด้านบน จากนั้นเลือก ที่ Column : student_id เพื่อกรอกรหัสนิสิตนักศึกษาลงในช่อง Value และกดที่ปุ่ม OK บริเวณด้านล่างขวาของหน้า เพื่อเปิดข้อมูลของนิสิตนักศึกษาที่ทำการค้นหา รูปแบบผลการตรวจสอบ พบตารางข้อมูลของนิสิตนักศึกษาแสดงดังภาพด้านล่าง แสดงว่าระบบอาจมีปัญหาด้านการแสดงผลของข้อมูล ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้พัฒนา และดูแลระบบไอทีสิส […]

ขั้นตอนการแก้ไข font (รูปแบบ และขนาดตัวอักษร) หน้าสารบัญ

ในการจัดทำสารบัญของนิสิตนักศึกษาบางท่าน บางครั้งอาจพบปัญหารูปแบบ และขนาดตัวอักษรในส่วนของสารบัญไม่เป็นไปตามที่ตั้งค่าไว้ เพื่อให้แน่ใจว่านิสิตนักศึกษาสามารถใช้งาน font ที่เลือก และต้องการได้ จากการตรวจสอบการตั้งค่า การตั้งค่าแบบอักษรนี้เราจะใช้การตั้งค่าจาก Style  โดยปกติแล้ว Microsoft Word จะทำการกำหนด Style มาให้เบื้องต้นอยู่แล้ว โดยจะใช้เป็น Normal Style หรือรูปแบบตัวอักษรตามปกติที่มีการใช้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง Style ในส่วนของสารบัญนั้น จะมีรูปแบบ Style ที่แตกต่างออกไป โดยเราจะใช้ TOC Style ที่เป็น Style ของสารบัญโดยเฉพาะนั่นเอง วิธีเข้าไปทำการแก้ไข Style ในส่วนของสารบัญที่นิสิตนักศึกษาสามารถเข้าไปแก้ไขได้เองมีดังนี้ เข้าไปยังในส่วนของ Styles ของ Microsoft Word โดยสามารถศึกษาการเปิดกล่องเครื่องมือ Style ได้ ที่นี่ เลือก styles ที่ต้องการแก้ไข โดยใช้เป็น TOC1 และ TOC2 […]

การใช้งานเมนู System Database ในบทบาทผู้ดูแลระบบ (Admin)

เมนู System database เมนู System database เป็นเมนูสุดท้ายของเมนูในบทบาทผู้ดูแลระบบ(Admin) ที่ใช้สำหรับสร้างชื่อผู้ใช้งาน (Usename) และรหัสผ่าน (Password) และเป็นเมนูสำหรับการแสดง Username/Password  สำหรับเข้าใช้งานระบบ phpMyAdmin พร้อมทั้งลิงก์เพื่อเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในฐานข้อมูลของระบบไอทีสิสตามสถาบันต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบเป็นผู้ดูแล โดยเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลเพื่อทำการเพิ่ม ลบ หรือตรวจสอบข้อมูลภายในฐานข้อมูลของตนเองได้  วิธีการใช้งานเมนู System database คลิกที่เมนู System Database จะปรากฎกล่องข้อความแสดงข้อมูล Usename และ password คลิกที่ปุ่มคำสั่ง PMA เมื่อทำการคลิกที่ PMA ระบบจะทำการลิงก์ไปยังหน้าระบบของ phpMyAdmin  และปรากฎหน้าต่างสำหรับทำการ login นำ username / password ที่ปรากฏในเมนู System database ไปใช้ในการล็อกอินเพื่อเข้าใช้งานฐานข้อมูล ระบบจะทำการเชื่อมต่อไปยังระบบฐานข้อมูล (Database) ประจำสถาบัน