แนวทางการแก้ไขปัญหา กรณีข้อความหัวข้อปรากฏไม่ครบ(ข้อความในหัวข้อหายไป)

ในการใช้ Microsoft Word เขียน และจัดรูปแบบการตัดคำเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่ในวิทยานิพนธ์ บางครั้งผู้ใช้ จำเป็นต้องใช้ Non-Breaking Space เพื่อแก้ไขปัญหาในการแยกคำ โดยการใช้ปุ่ม Shift+Ctrl+Space พร้อมกัน แทนการกดปุ่ม Space bar ตามปกติ ทำให้เกิดเป็นอักขระพิเศษขึ้น ซึ่งผู้ใช้เองจะสามารถเห็นอักขระพิเศษนี้เป็นเพียงแค่ช่องว่างปกติ ซึ่งหน้าที่ของ Non-Breaking Space นี้ หลายคนอาจสงสัยว่าทำหน้าที่แตกต่างจากการใช้ Space bar ปกติอย่างไร ซึ่งส่วนที่แตกต่างกันนั้นคือ Non-Breaking Space นี้จะทำหน้าที่ประสานตัวอักษรหน้า และหลังของช่องว่างนี้ ให้กลายเป็นคำเดียวกัน ทำให้การตัดคำจะยกทั้งคำหน้า และคำหลังขึ้นบรรทัดใหม่ แทนการตัดคำจากช่องว่างนี้เอง ซึ่งในการใช้ Non-Breaking Space นี้เอง บางครั้งหากผู้ใช้ทำการติดอักขระพิเศษนี้โดยไม่ตั้งใจ หรืออาจจะติดมาจากการ Copy ข้อความต่างๆมาใส่ในฟอร์มของหัวข้อ โดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ กล่าวคือผู้ใช้จะสามารถเห็นอักขระนี้เป็นเพียงแค่ช่องว่างธรรมดา ซึ่งหาก Non-Breaking Space ที่ไม่ใช่การเว้นวรรคแบบปกตินี้มาอยู่ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ […]

วิธีการ Re-Install Microsoft Office (Repair)

          บางครั้งการเกิด Error จากการใช้งานระบบ อาทิ Error หลังการ Save to cloud พบ การแจ้งเตือนไม่พบไฟล์ .pdf   เมื่อผู้ใช้ทำการตรวจสอบ Version ระบบปฏิบัติการของ Microsoft Word ที่ตนเองใช้ แล้วพบว่าเป็นเวอร์ชันที่รองรับต่อการใช้งานแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นลำดับต่อไปคือการ Re-Install หรือ Repair Microsoft Office ใหม่นั่นเอง ซึ่งวิธีการ Re-Install ระบบปฏิบัติการในแบบง่ายๆที่ผู้ใช้สามารถทำได้เองนั้น สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1.เข้าไปที่ Control Panel หรือทำการเสิร์ชหาจาก  Start    2.เข้าไปที่ Programs ดังภาพ 3. เข้าไปที่ Programs and Features 4. เลือกโปรแกรม Microsoft Office ที่ต้องการ […]

การเข้าถึง data files เพื่อการดาวน์โหลดไฟล์ publication ของผู้เรียน สำหรับผู้ดูแลระบบ

การเก็บรวบรวมไฟล์ publication ของผู้เรียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ ในการนำข้อมูลไปจัดเก็บในคลังข้อมูลของมหาวิทยาลัย สามารถทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ จัดเตรียมโปรแกรมและตั้งค่าเชื่อมต่อกับระบบ ติดตั้งโปรแกรม WinSCP ตั้งค่าการเชื่อมต่อระบบโดยใช้กลไกของ SSH key-based authentication โดยปกติแล้วระบบจะเก็บข้อมูลไฟล์ต่าง ๆ ของผู้เรียนที่ได้ “Save to cloud” จาก Microsoft Word Add-in หรือข้อมูลที่ผู้เรียนอัพโหลด รวมถึงเอกสาร publication ด้วย จะเก็บข้อมูลอยู่ที่ตำแหน่ง /home/volume/app-webapp/file หากเข้ามาแล้วจะเห็นรายชื่อ Folder เป็นเลข 2 หลัก ตัวเลขเหล่านี้จะแทนด้วยรหัสผู้เรียน 2 หลักหน้า (ex. 54/) เลือก Folder ที่ต้องการจะเห็นรายชื่อ Folder เป็น 2 หลักอีกครั้งซึ่งครั้งนี้จะเป็นตัวเลข 2 หลักท้ายของรหัสผู้เรียน (ex. 54/04) เลือก Folder […]

ข้อแนะนำในการใส่ข้อมูลคำนำหน้าชื่ออาจารย์ (ยศ หรือตำแหน่งทางวิชาการ)

ในเมนูย่อย Committee & Examiner เป็นเมนูที่ใช้สำหรับกรอกข้อมูลต่างๆของอาจารย์ รวมไปทั้งการกรอกคำนำหน้าชื่อ ยศ หรือตำแหน่งทางวิชาการ ที่ต้องปรากฎในเล่มวิทยานิพนธ์ โดยกรอกลงในช่อง Prefix (ภาษาไทย เช่น รศ. ดร. หรือภาษาอังกฤษ เช่น Assoc. Prof. เป็นต้น) หรือ Postfix (ภาษาอังกฤษ เช่น Ph.D.) เนื่องจากระบบได้มีการกำหนด หรือจำกัดช่องในการกรอกข้อมูลของคำนำหน้าชื่อของอาจารย์ ซึ่งนิสิตนักศึกษาสามารถใส่คำนำหน้าชื่อนอกเหนือจากที่ระบบกำหนดไว้ได้ แต่ละช่องจะมีความแตกต่างกันดังนี้ ช่องแรก เมื่อกรอกคำนำหน้าชื่อในช่องแรก จะมีการคั่นกับข้อมูลในช่องถัดไปด้วยเว้นวรรค ช่องที่สอง เมื่อกรอกคำนำหน้าชื่อในช่องที่สอง จะไม่มีการคั่นกับข้อมูลในช่องถัดไป(ชื่อ-สกุล)ด้วยเว้นวรรค ทำให้คำนำหน้าชื่อในช่องนี้ และชื่อ-สกุล จะติดกันนั่นเอง หากคำนำหน้าชื่อของอาจารย์ที่นิสิตนักศึกษาต้องการกรอก มีมากกว่าจำนวนช่องที่ระบบกำหนด นิสิตนักศึกษาสามารถเพิ่มเติมคำนำหน้าชื่อ หรือตำแหน่งทางวิชาการนั้น ในช่องที่ระบบกำหนดไว้ได้เลย โดยพิจารณาจากการเว้นวรรคที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นนิสิตนักศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงคำนำหน้าชื่อ ยศ หรือตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ตามที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม  

การตรวจสอบปัญหากรณีไม่สามารถเพิ่มข้อมูลอาจารย์ และกรรมการสอบภายนอกได้ (Error : Someone already has this information)

           Manage Advisor/Examiner  เป็นเมนูสำหรับจัดการข้อมูลรายชื่ออาจารย์ และกรรมการสอบภายนอก โดยข้อมูลรายชื่อที่แสดงอยู่ในระบบนั้น จะเป็นข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หากมหาวิทยาลัยมีอาจารย์ และกรรมการสอบจากภายนอก ที่ยังไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบ นิสิตนักศึกษาจะไม่สามารถเพิ่มข้อมูลอาจารย์ และกรรมการสอบภายนอกได้ ดังนั้นจึงต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ใน การเพิ่มข้อมูลของอาจารย์ และกรรมการสอบ เข้าสู่ระบบ ซึ่งในการเพิ่มข้อมูลของอาจารย์ และกรรมการสอบภายนอกนั้น ในบางกรณีอาจจะพบปัญหา Error ดังภาพ จากภาพจะเห็นการแจ้งเตือน Error : Someone already has this information แสดงให้เห็นว่า ที่ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลลงไปในระบบได้นั้น เนื่องจากระบบตรวจพบว่ามีข้อมูลซ้ำกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูล วิธีการแก้ไข คือ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบทำการตรวจสอบข้อมูลต่อไปนี้ ชื่อ-สกุล ภาษาไทย ชื่อ-สกุล ภาษาอังกฤษ เลขประจำตัวประชาชน / Passport Email Address ว่าข้อมูลดังที่กล่าวไปข้างต้น เป็นข้อมูลที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูลหรือไม่ ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้น ดังภาพด้านล่าง […]

การตัดคำที่ไม่ต้องการให้แสดงในหัวข้อสารบัญ

          สารบัญเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในวิทยานิพนธ์ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ หรือผู้อ่านวิทยานิพนธ์ สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้สะดวก และง่ายขึ้น โดยการทำสารบัญนี้ ซึ่งมีทั้งสารบัญหลัก และ สารบัญภาพ จะมีการอ้างอิงจากการทำ Caption หรือคำอธิบายข้อมูลที่ถูกกำหนดขึ้นในวิทยานิพนธ์ ซึ่่งอาจจะมีบางส่วนของ Caption หรือข้อมูลนั้นๆ ที่ผู้ใช้ไม่ต้องการให้แสดงในหัวข้อสารบัญด้วย          ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง จะเห็นว่าบริเวณที่มีการไฮไลท์สีเหลือง คือ Caption (คำอธิบายข้อมูลของภาพเพิ่มเติม) ที่ผู้ใช้ไม่อยากให้ปรากฏในหัวข้อสารบัญภาพ ซึ่งมีวิธีแก้ไขดังนี้ . นำ cursor ไปไว้หน้าส่วนที่ไม่ต้องการให้แสดงบนหัวข้อในสารบัญ แล้วทำการกด enter เพื่อให้เว้นบรรทัดลงมาดังภาพ . . ทำการ Clear style ของส่วนที่ไม่ต้องการให้แสดงบนหัวข้อในสารบัญ (คลิกที่ Clear All หรือใส่เป็น Style รูปแบบอื่น ๆ ตามต้องการได้) . […]

กลไกการระบุตัวตนของแต่ละบทบาทในระบบ iThesis

การ login ในระบบไอทีสิสนั้นแบ่งออกเป็น 4 สิทธิ์ผู้ใช้งาน คือ ผู้ดูแลระบบ เจ้าหน้าที่ อาจารย์ และ นิสิต/นักศึกษา ซึ่งในแต่ละ role ขั้นตอนการ login จะแตกต่างกันออกไป เช่น role นักศึกษา จำเป็นต้องการอัพเดทข้อมูลจากมหาวิทยาลัยอยู่เสมอ จึงมีการ auto sync ข้อมูลขณะ login ทำให้ต้องมีการตวจสอบการ authen ของระบบ AD/LDAP พร้อมกับเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัยเพื่ออัพเดทข้อมูล หากเกิดปัญหา login เข้าสู่ระบบไม่ได้ จึงมีวิธีการตรวจสอบและแก้ไขที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ role รูปแบบการ Authen ของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ จำเป็นต้อง fix ข้อมูล username ของผู้ดูแลระบบก่อนที่เครื่อง CDS Server หากทำการ authen กับ AD/LDAP แล้ว username ที่ fix […]

ไม่ปรากฏ Add-in บนแถบ Ribbon (Trust center)

Applies to: Microsoft Word: 2010 2013 2016 Add-in ทุกเวอร์ชัน Description:  หลังการติดตั้ง Add-in เช่น iThesis Add-in หรือ EndNote Add-in หรือ Add-in อื่นๆ ลงบนโปรแกรม Microsoft Word แล้ว  แต่ที่ Ribbon กลับไม่ปรากฎ Add-in ใดๆ โดยสาเหตุอาจเกิดจากส่วนของ Trust center บนโปรแกรม Microsoft Wordถูกตั้งค่าให้ปิดการทำงานทุกอย่างที่เป็น Add-in ไว้ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสถานะการตั้งค่าของ Trust Center ได้ ด้วยวิธีการดังที่จะอธิบายในส่วนของ Solution Solution: เปิดโปรแกรม Microsoft Word คลิกที่เมนู File คลิกที่ Options (ตามภาพด้านล่าง)   เมื่อปรากฎหน้าต่าง Word Options (ตามภาพด้านล่าง) เลือกที่เมนู Trust Center จากนั้นเลือกที่ Trust Center Settings หน้าต่าง Trust Center  (ตามภาพทางด้านล่าง) คลิกที่เมนู Add-ins (หมายเลข1) หากมีการทำเครื่องหมายใน Check […]

การตรวจสอบเมื่อ Save to cloud และ Add-in ไม่พบไฟล์ .pdf (Could not find file ‘C:\Users…)

ปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ใช้ได้ทำการ Save-to-cloud และ Add-in แต่ทำการหาไฟล์ PDF ไม่พบ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุในหลาย ๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการใช้งาน เครือข่ายของระบบ หรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ โดยเฉพาะการ update ของระบบปฏิบัติการในชุด Microsoft Office และองค์ประกอบอื่น ๆ ในระบบ iThesis Add-in โดยมีแนวทางในการแก้ไขแตกต่างกันไป     ในที่นี้ ให้พิจารณาวิธีในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นให้เหมาะกับผู้ใช้ ดังนี้ ทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเล่มวิทยานิพนธ์ เช่น ทำการตรวจสอบการใช้ Section Break ให้ครบถ้วนทั้งในแต่ละบท และในแต่ละ page เช่น  section break ในหน้าบรรณานุกรม และหน้าเปล่าหน้าสุดท้ายหลังประวัติ (สำหรับใส่ biography) หากมีไม่ครบ โปรแกรมจะทำการ save to loud ไม่ได้ เป็นต้น  ตรวจสอบความครบถ้วนขององค์ประกอบในเล่มวิทยานิพนธ์ ว่าขาดสิ่งใดไปหรือไม่  ทำการตรวจสอบ / เปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อาทิ […]

การลบข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูก sync มาจากข้อมูลของมหาวิทยาลัยผ่านการใช้งานเมนู Import & Sync data

เนื่องจากการการนำข้อมูลของมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบไอทีสิสนั้นมีเพียงวิธีเดียว คือ sync ข้อมูลผ่านเมนู IMPORT & SYNC DATA ของ admin แต่การ sync นี้ เป็นเพียงการเพิ่มและอัปเดตข้อมูลเท่านั้น หาก admin ต้องการที่จะลบข้อมูลที่ถูก sync มา อาจเกิดจากต้องการลบข้อมูลภาควิชาเพราะภาควิชาได้ถูกยกเลิกไป เป็นต้น สามารถดำเนินการตามวิธีดังต่อไปนี้ เข้าสู่ระบบด้วยสิทธิ์ admin ไปที่เมนู SYSTEM DATABASE จะมีช่องทางการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลแสดงขึ้น กดที่ปุ่ม “PMA” เพื่อไปยัง database management จากนั้นนำ username และ password ไปทำการ login หมายเหตุ : username และ password ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อฐานข้อมูลเป็น account ที่ใช้งานได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากต้องการเชื่อมต่ออีกครั้ง ต้องทำการคลิกที่เมนู SYSTEM DATABASE จะเป็นการ generate account ใหม่ เข้าไปที่ตาราง […]