วิธีการขอแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ (iThesis 2017)

Applies to: iThesis 2017  เป็นฟังก์ชันตัวเลือกซึ่งสามารถเปิด/ปิดได้ตามความเห็นสมควรของผู้ดูแลระบบ  Description: หากดำเนินการขอแก้ไขหัวขอวิทยานิพนธ์ เมื่อได้รับการอนุมัตินิสิต/นักศึกษาจะต้องดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนการทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) ซึ่งทางทีมงานมีความเห็นว่าการดำเนินงานในลักษณะนี้ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน ดังนั้นในฟังก์ชัน iThesis 2017 นี้จึงมีการปรับเปลี่ยนให้คงสถานะการทำวิทยานิพนธ์ให้อยู่ในขั้นตอนเดิมไม่ว่าจะขอแก้ไขหัวข้อเมื่อนิสิตอยู่ในขั้นตอนวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง (Draft) หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete) เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติการขอแก้ไขหัวข้อแล้ว นิสิต/นักศึกษาสามารถดำเนินงานต่อจากขั้นตอนเดิมได้เลยโดยไม่ต้องเริ่มทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่ Solution:              ในการแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์หลังจากที่ผ่านการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์แล้วจะต้องทำการยื่นคำร้องขออนุมัติการแก้ไขจากอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ผ่านระบบก่อน โดยวิธีการมีดังนี้ 1. เมื่อผ่านการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์แล้วระบบจะไม่ปรากฎปุ่ม Save หรือไม่สามารถแก้ไขหัวข้อได้ แต่จะปรากฏดังภาพด้านล่าง ให้คลิก click here จะปรากฏหน้าต่างเพื่อให้กรอกหัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ที่ต้องการแก้ไข ดังแสดงหน้าต่าง Request for edit topic ภาพหากขั้นตอนอยู่ในระหว่างที่รออาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง (Draft) จะไม่แสดงข้อความดังรูป) ภาพแสดง link ขอแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ ภาพแสดงหน้าต่าง Request […]

รายละเอียดการขอแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ (iThesis 2017)

Applies to: iThesis 2017  เป็นฟังก์ชันตัวเลือกซึ่งสามารถเปิด/ปิดได้ตามความเห็นสมควรของผู้ดูแลระบบ  Description: หลังได้รับการพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์จากอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาแล้ว ผู้ใช้งานที่ทำวิทยานิพนธ์ผ่านระบบฯ จะพบว่าที่เมนู Electronic Form ในส่วนของ เมนู Topic (หัวข้อวิทยานิพนธ์) และ เมนู Committee & Examiner (อาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการสอบ) จะไม่เปิดให้แก้ไข หากนิสิต/นักศึกษาประสงค์ที่จะขอแก้ไขหัวข้อต้องดำเนินการส่งคำร้องขอแก้ไขหัวข้อไปยังอาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการอนุมัติ และในฟังก์ชันนี้ของ iThesis 2016 หากดำเนินการขอแก้ไขหัวขอวิทยานิพนธ์ เมื่อได้รับการอนุมัตินิสิต/นักศึกษาจะต้องดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนการทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) ซึ่งทางทีมงานมีความเห็นว่าการดำเนินงานในลักษณะนี้ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน ดังนั้นในฟังก์ชัน iThesis 2017 นี้จึงมีการปรับเปลี่ยนให้คงสถานะการทำวิทยานิพนธ์ให้อยู่ในขั้นตอนเดิมไม่ว่าจะขอแก้ไขหัวข้อเมื่อนิสิตอยู่ในขั้นตอนวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง (Draft) หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete) เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติการขอแก้ไขหัวข้อแล้ว นิสิต/นักศึกษาสามารถดำเนินงานต่อจากขั้นตอนเดิมได้เลยโดยไม่ต้องเริ่มทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่ เงื่อนไขในการดำเนินการส่งคำร้องขอแก้ไขหัวข้อมีดังนี้ ต้องได้รับการพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์จากอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาแล้ว วิทยานิพนธ์ของนิสิต/นักศึกษาในระบบจะต้องไม่ Pending ค้างอยู่ที่ขั้นตอนใด ๆ หากยังมีกระบวนการใด ๆ ที่ยังคงค้างอยู่ภายในระบบ ระบบจะไม่อนุญาตให้ทำการขอแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ ผู้ใช้งานสามารถศึกษาวิธีการขอแก้ไขหัวข้อ iThesis […]

รายละเอียดการขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์

Applies to: iThesis 2017 เป็นฟังก์ชันตัวเลือกซึ่งสามารถเปิด/ปิดได้ตามความเห็นสมควรของผู้ดูแลระบบ  Description: หลังได้รับการพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์จากอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาแล้ว หากนิสิต/นักศึกษาประสงค์ที่จะขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ต้องดำเนินการส่งคำร้องขอไปยังอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อได้รับการอนุมัติสถานะการทำวิทยานิพนธ์จะกลับเข้าสู่ขั้นตอนการทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่อีกครั้ง เงื่อนไขในการดำเนินการส่งคำร้องขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์มีดังนี้ จะส่งคำร้องขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ได้ก็ต่อเมื่อผ่านการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาดำเนินการให้ผลการอนุมัติเป็นอนุมัติให้แก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ ระบบจะยกเลิกโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับก่อนหน้า และนิิสิต/นักศึกษาต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่ขั้นตอนโครงร่างวิทยานิพนธ์ใหม่ ผู้ใช้งานสามารถศึกษาวิธีการขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ iThesis 2017 ได้ที่นี่   

วิธีการขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ (iThesis 2017)

Applies to: iThesis 2017  เป็นฟังก์ชันตัวเลือกซึ่งสามารถเปิด/ปิดได้ตามความเห็นสมควรของผู้ดูแลระบบ  Description: ในกรณีที่นิสิตนักศึกษาต้องการแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบ จะต้องดำเนินการขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ผ่านระบบ และต้องได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา ระบบจึงจะอนุญาตให้แก้ไขข้อมูลได้ โดยการส่งคำร้องขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ Solution: 1. เข้าใช้งานที่เมนู Revision & Approval 2. คลิกเลือกเวอร์ชันของวิทยานิพนธ์เวอร์ชันใดเวอร์ชันหนึ่ง ระบบจะแสดงแบบฟอร์มการขอแก้ไขหัวข้อวิทยานิพนธ์ขึ้นทางด้านขวาของเมนู Revision & Approval ดังภาพด้านล่าง ภาพแบบฟอร์มการขอแก้ไขโครงร่างวิทยานิพนธ์ 3. คลิกที่ลิงก์ click here (หมายเลข 2) ภายใต้ข้อความ “Change proposal details (topic, advisor or examiners) please click here to make an agreement request to advisor” […]

ข้อแนะนำการประยุกต์ใช้งาน iThesis เข้ากับการดำเนินงานภายในสถาบันการศึกษา

Applies to: iThesis ทุกเวอร์ชัน Description: การนำระบบ iThesis เข้ามาใช้งานร่วมกับกระบวนการทำงานปัจจุบันของสถาบันการศึกษา ในด้านการทำวิจัยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ หรือเอกสารอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางสถาบันการศึกษา โดยเจ้าของโครงการในสถาบันการศึกษา ควรดำเนินการตามแนวทางต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้ มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานปัจจุบันของสถาบันการศึกษา ความสามารถของระบบ iThesis รวมถึงข้อจำกัด กรณีพิเศษที่เกิดขึ้นในขั้นตอนหรือกระบวนการ เพื่อให้สามารถประยุกต์ความสามารถของระบบ iThesis เข้ากับกระบวนการทำงาน และสามารถหาแนวทางการดำเนินงานด้วยระบบ (ร่วมกับทีมที่ปรึกษา) แม้จะมีข้อจำกัดของระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องได้ (Work around) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการนำระบบเข้ามาร่วมใช้งาน เช่น template วิทยานิพนธ์ ที่อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง หรือ ขั้นตอนการทำงานที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจจากผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้คณะทีมงานโครงการสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไปได้ จัดตั้งคณะทีมงานโครงการตามความเหมาะสมของสถาบันการศึกษา เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบดูแลกิจกรรมต่าง […]

การพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) ในระบบ iThesis

Applies to: iThesis ทุกเวอร์ชัน Description: ในระบบ iThesis จะมีเอกสารระดับแรกสุดคือ โครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) โดยเอกสารเวอร์ชั่นที่ได้รับการอนุมัติจากทั้งอาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา จะถือเป็นโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ การพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถให้ผลได้ 3 แบบ ได้แก่ 1) approve – อนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ 2) disapprove (Reject) – ไม่อนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ โดยปฏิเสธหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือไม่รับการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือเหตุผลอื่น ๆ ซึ่งสามารถเขียน comment เพิ่มเติมได้ 3) disapprove (Review) – ไม่อนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ โดยถือว่าอยู่ระหว่างร่วมกันรีวิวเอกสารกับนิสิตนักศึกษา อาจจะมีข้อคิดเห็น (comment) ให้นิสิตนักศึกษากลับไปแก้ไขเพิ่มเติม แล้วจึงส่งกลับมาให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาใหม่ การพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์ของเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา เจ้าหน้าที่บัณฑิตสามารถให้ผลได้ 2 แบบ ได้แก่ 1) approve – อนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้เป็นวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ […]

อาจารย์ได้รับคำขอให้พิจารณาอนุมัติเอกสารวิทยานิพนธ์ โดยไม่ได้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

Applies to: iThesis ทุกเวอร์ชัน Description: ระบบ iThesis จะอนุญาตให้นิสิตนักศึกษาสามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีข้อมูลในระบบได้ โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ทั้งจำนวนโควต้าที่อาจารย์รับ คุณสมบัติของอาจารย์ สังกัดของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจจะเกิดกรณีที่นิสิตนักศึกษามีการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาด้วยตนเอง โดยยังไม่ผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนตามข้อกำหนดของสถาบันการศึกษา เช่น การยื่นคำร้องขอแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา การเข้าไปขออนุญาตอาจารย์เป็นที่ปรึกษาโดยตรง เป็นต้น (กระบวนการต่าง ๆ อาจแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของสถาบันการศึกษา) ซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ที่อาจารย์ได้รับคำขอให้พิจารณาอนุมัติเอกสารวิทยานิพนธ์ โดยยังไม่ได้รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาเกิดขึ้น อาจารย์สามารถระบุผลการอนุมัติในแบบฟอร์ม พร้อมทั้งสาเหตุในการ disapprove คำร้องที่ได้รับได้ เช่น disapprove ประเภท Reject พร้อม comment ว่า ครูรับเป็นที่ปรึกษาครบจำนวนแล้ว ขอให้ไปติดต่ออาจารย์ท่านอื่นก่อนให้เรียบร้อย แล้วจึงเลือกอาจารย์ในระบบนะคะ ขอให้อาจารย์ช่วยลงผล disapprove เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถแก้ไขข้อมูลและสามารถส่งไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาท่านใหม่ได้

การเริ่มต้นใช้งานของนิสิตนักศึกษา (Guide for using iThesis)

นำไปใช้กับ: Add-In ทุกฉบับ คำอธิบาย : ระบบการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยทั่วไปจะมีขั้นตอนในการทำและส่งวิทยานิพนธ์ ทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ โครงร่างโครงร่างวิทยานิพนธ์ ร่างวิทยานิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้บางสถาบันการศึกษาอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกัน โดยการเขียนวิทยานิพนธ์ในระบบ iThesis จำเป็นต้องเขียนเนื้อหาบนไฟล์ Microsoft Word (.docx) ที่มีการสร้างเทมเพลตจากโปรแกรม iThesis Add-in ขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งสามารถบันทึกเอกสารวิทยานิพนธ์เข้าสู่ระบบ (Save to Cloud) เพื่อขอพิจารณาอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยในการเริ่มต้นใช้งานระบบ iThesis จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ติดตั้ง iThesis Add-inซึงจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมเพิ่มเติมในโปรแกรม Microsoft Word เข้าสู่ระบบเข้าสู่ระบบ iThesis Web Portal ตาม URL หัวเรื่อง: การสถาบันที่ศึกษาเป็นกำหนดเช่น  https://ithesis.su.ac.th https://ithesis.grad.ku.ac.th เป็นต้น เปิดใช้ iThesis Add-in […]

กลไกการติดตั้ง iThesis Application

หลังจากที่สถาบันการศึกษาได้จัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ตามข้อกำหนดของโครงการเรียบร้อยแล้ว การติดตั้ง iThesis Application ผู้ให้บริการการติดตั้งจะใช้วิธีการเชื่อมต่อระยะไกล (remote) เข้าไปติดตั้งระบบให้ ผ่านทาง ssh (port 22) โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้าไปที่สถาบันการศึกษา ซึ่งทางผู้พัฒนาระบบได้ใช้เทคโนโลยีของ docker มาใช้ในการติดตั้งระบบ โดย docker นั้นจะเป็นการรวบรวมเอา service ต่าง ๆ ที่จำเป็นเข้าไว้ด้วยกัน แล้วสร้างขึ้นเป็น container เพื่อนำไปวางไว้บนเครื่อง server ของสถาบันการศึกษา สำหรับการสร้าง container ขึ้นมา จำเป็นที่จะต้องติดต่อกับ link ต่างประเทศ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บ service ต่าง ๆ อย่างเป็นมาตรฐานสากล สามารถทำการดาวน์โหลด service ต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นในการใช้งานระบบ iThesis ทำให้การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้งานนั้นเป็นประโยชน์กับสถาบันการศึกษา โดยทำให้เวลาในการติดตั้งระบบลดลง และสามารถมั่นใจได้ว่าทุก ๆ […]

Re-generate template แล้วเนื้อหาหาย

Applies to: Add-In ทุกเวอร์ชัน Description: การ Generate Template จากเอกสารวิทยานิพนธ์เวอร์ชั่นเดิมที่ใช้งานอยู่ (Re-Generate) สามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาต่าง ๆ จาก Web Portal ที่เมนูย่อยต่าง ๆ ในเมนู ELECTRONIC FORM โดยการใช้งานปกติสามารถเขียนเนื้อหาวิทยานิพนธ์จากไฟล์เอกสารเดิม และคลิกปุ่ม Generate ได้ ซึ่งระบบจะมีการนำข้อมูลจาก Web Portal มาอัพเดทให้ที่หน้า template ต่าง ๆ ที่มีการแก้ไขข้อมูล แต่อาจจะเกิดกรณีที่ Re-Generate แล้วพบปัญหาว่าเนื้อหาวิทยานิพนธ์หายไป ทำให้ได้เพียง Template วิทยานิพนธ์ พร้อมหน้าเปล่าสำหรับเขียนเนื้อหาใหม่เท่านั้น Cause: เกิดจาก Section Break (Next Page) ซึ่งเป็นส่วนที่ระบบใช้เป็นตัวแบ่งส่วนหน้า template ต่าง ๆ ถูกลบไป […]