Applies to:
iThesis ทุกเวอร์ชัน |
Description:
การนำระบบ iThesis เข้ามาใช้งานร่วมกับกระบวนการทำงานปัจจุบันของสถาบันการศึกษา ในด้านการทำวิจัยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระ หรือเอกสารอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางสถาบันการศึกษา โดยเจ้าของโครงการในสถาบันการศึกษา ควรดำเนินการตามแนวทางต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานปัจจุบันของสถาบันการศึกษา ความสามารถของระบบ iThesis รวมถึงข้อจำกัด กรณีพิเศษที่เกิดขึ้นในขั้นตอนหรือกระบวนการ เพื่อให้สามารถประยุกต์ความสามารถของระบบ iThesis เข้ากับกระบวนการทำงาน และสามารถหาแนวทางการดำเนินงานด้วยระบบ (ร่วมกับทีมที่ปรึกษา) แม้จะมีข้อจำกัดของระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องได้ (Work around)
- พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการทำงานที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากการนำระบบเข้ามาร่วมใช้งาน เช่น template วิทยานิพนธ์ ที่อาจจะมีความเปลี่ยนแปลง หรือ ขั้นตอนการทำงานที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจจากผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้คณะทีมงานโครงการสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อไปได้
- จัดตั้งคณะทีมงานโครงการตามความเหมาะสมของสถาบันการศึกษา เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการติดตั้งและใช้งานระบบ โดยมีผู้ประสานงาน (Project coordinator) 1 ท่าน (1 contact point) ภายในสถาบันการศึกษาเป็นศูนย์กลางในการติดต่อหน่วยงานภายใน และประสานงานกับผู้ประสานงานโครงการของทีมที่ปรึกษา เพื่อให้สามารถติดตามสถานะการทำงานโครงการได้ตลอดระยะเวลาของโครงการ รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://tinyurl.com/y7s7nwp5
- เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาถือเป็นแกนหลักที่สำคัญในระบบ iThesis เนื่องจากเป็นระบบที่นำมาใช้ในกระบวนการทำงานที่สำคัญด้านบัณฑิตศึกษา ดังนั้นเจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการทำวิจัยของนิสิตนักศึกษา จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบ iThesis ทั้งการใช้งานในบทบาทนิสิตนักศึกษา การใช้งานในบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา การใช้งานในบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมและคณะกรรมการสอบต่าง ๆ และการใช้งานในบทบาทของตัวเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาเอง ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่บัณฑิตฯ สามารถให้คำแนะนำกับผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องได้ และเมื่อพบปัญหาหรือข้อจำกัดจากการใช้งานระบบ ก็สามารถให้ Feedback ไปยังผู้ดูแลระบบ และทีมพัฒนาระบบ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการจัดการปัญหาหรือข้อจำกัดได้ โดยวิธีการที่จะทำให้เข้าใจการใช้งานระบบได้ดีที่สุด คือ การทดลองใช้งานระบบด้วยตนเอง
- ผู้ดูแลระบบเป็นเบื้องหลังที่สำคัญ เนื่องจากเป็นผู้จัดเตรียมส่วนต่าง ๆ ในระบบให้สามารถใช้งานได้ โดยอาจจะไม่จำเป็นต้องจัดเตรียมทุกอย่างด้วยตนเอง แต่สามารถติดต่อประสานงานไปยังผู้เกี่ยวข้องในสถาบันการศึกษา เพื่อให้ช่วยดำเนินการให้ได้ เช่น การเตรียมข้อมูลหลักของสถาบันการศึกษา เป็นต้น ดังนั้นผู้ดูแลระบบควรจะมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานของระบบเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถตั้งค่าต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าการจากใช้งานระบบได้
- Train the Trainer เป็นการฝึกอบรมเพื่อสร้างผู้ชำนาญการในการใช้งานระบบ iThesis เป็นการสร้างจำนวนบุคลากรผู้มีองค์ความรู้เพิ่มเติมภายในสถาบันการศึกษา โดยการฝึกอบรมควรมีช่วงเวลาเพียงพอเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติ ให้ได้ทดสอบใช้งานระบบ
- เริ่มต้นใช้งาน จะเป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้โครงการติดตั้งและใช้งานระบบ iThesis ประสบความสำเร็จ เมื่อพบปัญหาต่าง ๆ จากการใช้งาน ควรส่ง Feedback ไปยังผู้ดูแลระบบของสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมหาแนวทางกับทีมพัฒนาระบบในการตรวจสอบและแก้ไข ให้ระบบมีความสมบูรณ์ในการใช้งานมากขึ้น
- นำเสนอข้อคิดเห็น จากการใช้งานระบบ เพื่อให้ทางโครงการพัฒนาระบบของ สกอ. มีข้อมูลความต้องการของผู้ใช้งาน (Requirement) ไปพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของระบบให้ผู้ใช้งานในระบบเวอร์ชั่นถัด ๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันในระบบ iThesis มีระดับเอกสารวิทยานิพนธ์ ได้แก่ Proposal > Draft thesis > Complete thesis
ซึ่งหลายสถาบันการศึกษาได้เสนอแนะให้ระบบมีเอกสารเพิ่มอีก 1 ระดับ คือ Draft Proposal สำหรับใช้งานเป็นเวอร์ชั่นเอกสารที่ใช้สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ ลักษณะคล้ายกับที่ใช้ Draft thesis ในการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ เป็นต้น ซึ่ง Requirement ข้างต้นก็จะถูกบรรจุอยู่ในแผนการพัฒนาระบบของโครงการต่อไป
Tiny URL for this post: