ข้อกำหนดต่าง ๆ ของ Template

ในระบบ iThesis จะมีข้อกำหนดหรือข้อจำกัดบางอย่างในการปรับแต่งและใช้งาน Template เนื่องจากเป็นการใช้งานระบบในการสร้างและควบคุมรูปแบบหรือโครงสร้างของเอกสาร ซึ่งบางส่วนอาจจะไม่สามารถปรับแต่งได้อิสระเหมือนกับการทำด้วยมือ (Manual) โดยจะมีข้อกำหนดต่าง ๆ ดังนี้ ความสูงรวมของเนื้อหาแต่ละส่วนจะต้องน้อยกว่าความสูงของหน้ากระดาษ เพื่อป้องกันเนื้อหาเกินหน้ากระดาษ สถาบันการศึกษาควรจะมีรหัสนิสิตนักศึกษาในระบบ เพื่อใช้ในการทดสอบผลลัพธ์จากการแก้ไขเทมเพลต ด้วยการ Generate Template ที่ iThesis Add-in บน Microsoft Word หน้าบทคัดย่อภาษาไทย (Abstract page th) จะถูกสร้างสำหรับวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยเท่านั้น ตัวแปรอาจารย์ที่ปรึกษา ตัวแปรกรรมการภายนอก ตัวแปรคีย์เวิร์ด จะถูกกำหนดตำแหน่งในการแสดงผล ไม่สามารถปรับตำแหน่งได้ ตัวแปรในหน้าอนุมัติ (approval) ที่เป็น committee ถ้าไม่มีค่าจะแสดงเป็น No data found แต่ตัวแปรในกลุ่ม co_advisor จะแสดงเป็นค่าว่าง หน้าอนุมัติสามารถใช้ Tag จำพวก table, sign-table ได้ สำหรับหน้าปกจะสามารถใช้ […]

การใช้งาน IF condition

การใช้งาน if condition ในแต่ละหน้าวิทยานิพนธ์นี้ ใช้เพื่อกำหนดเงื่อนไขบางอย่างที่นิสิต/นักศึกษาในสถาบันการศึกษาเดียวกัน แต่มีเงื่อนไขในการแสดงรูปแบบวิทยานิพนธ์ที่ต่างกัน โดยวิธีการเขียนเงื่อนไข if condition จะมีรูปแบบในการเขียนและมีจุดประสงค์ในการใช้เงื่อนไขที่แตกต่างกันไป โดยในแต่ละหน้าวิทยานิพนธ์จะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ซึ่งจะมีรูปแบบในการเขียน if condition ดังนี้ {if _______________ {elseif ______________ } ______________ {elseif ______________ } ______________ {else} ______________ {/if} มีตัวอย่างการใช้งานเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้ 1. เงื่อนไข Article A/AN จากภาพ เป็น Article ของคำที่ใช้เรียกวิทยานิพนธ์เป็น An ซึ่งถ้าเป็นคำว่าการค้นคว้าอิสระจะใช้คำว่า Independent Study ซึ่งต้องใช้ Article An แต่ถ้าเป็นคำอื่นที่นอกเหนือจากคำว่าการค้นคว้าอิสระจะใช้ Article A ซึ่งการแก้ไขปรับเปลี่ยนเพิ่มเงื่อนไขจะทำได้โดยการแก้ไข Source […]

ตัวอย่างการปรับ Template ปกนอก-ปกใน

ในหน้าปกนอกและหน้าปกในจะมีการแบ่งส่วนการทำงานออกเป็น Textbox ซึ่งในแต่ละ Textbox จะมีข้อความเป็นชุดๆ โดยตัวอย่างเทมเพลตที่นำมาใช้ คือ เทมเพลตมาตรฐานในรูปแบบที่ 2 จาก Source Code ข้างต้น จะเห็นได้ว่า Textbox (1) จะเป็นส่วนชื่อหัวข้อเรื่องวิทยานพนธ์ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในตัวแปร {{title_name_th}} และ {{title_name_en}} ตามลำดับ และในบางสถาบันการศึกษาอาจมีตราสัญลักษณ์สถาบันการศึกษาที่ส่วนบนสุดกลางหน้ากระดาษ โดยใช้ตัวแปร {{url_img_logo}}ซึ่งอยู่ภายใต้แท็ก paragraph และใน Textbox ยังสามารถกำหนดคุณลักษณะ (Attribute) ได้ เช่น กำหนดขนาดฟ้อนท์ ลักษณะฟ้อนท์ (ตัวหนา/ตัวเอียง/ขีดเส้นใต้) ความสูงของ Textbox เป็นต้น จาก Textbox (2) จะเป็น Source Code ที่แสดงชื่อของผู้ทำวิทยานิพนธ์ โดยจะใช้ตัวแปร {{student_name_th}} อยู่ภายใต้แท็ก paragraph ซึ่งถ้าในบางสถาบันการศึกษามีคำนำหน้าชื่อ (นาย/นางสาว) […]

ขั้นตอนการปรับแต่ง Template

กำหนดรหัสนิสิตนักศึกษา (Student id) ที่จะใช้ในการทดสอบ Generate Template ที่เมนูย่อย Type Settings จากนั้นคลิกปุ่ม Save id เลือกเทมเพลตที่ต้องการแก้ไข (Template type) ที่เมนูย่อย Type Settings จากนั้นคลิกปุ่ม Save template คลิกเมนูย่อย Template Management แก้ไขเทมเพลตตามความต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม Save ทดสอบการ Generate template ที่ Microsoft Word ด้วย Username ของนิสิตนักศึกษาที่กำหนดไว้ในข้อ 1 หากทดสอบแล้วเรียบร้อยต้องการนำไปงานจริง คลิก Apply template ที่เมนูย่อย Type Settings เพื่อใช้งานเทมเพลตที่ได้แก้ไขแล้ว โดยการปรับแต่ง Template มีเมนูการใช้งานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เมนู […]

ตัวอย่างโครงสร้าง Template ตอนที่ 4 (หน้าบทคัดย่อ)

1. Abstract Page (TH): หน้าบทคัดย่อภาษาไทย ในหน้าบทคัดย่อภาษาไทยนี้ จะเป็นส่วนที่ต้องมีการจัดรูปแบบในส่วนหัวเรื่องของบทคัดย่อซึ่งจะมีความแตกต่างในแต่ละสถาบันการศึกษาเช่นเดียวกันกับหน้าอนุมัติ แต่จะไม่ได้มีความหลากหลายของรูปแบบมากนัก จาก Source Code ข้างต้นจะมีการใช้งานเหมือนกับหน้าอนุมัติ แต่จะมีตัวแปรที่เป็นเนื้อหาบทคัดย่อที่เป็นภาษาไทยเพิ่มเข้ามา นั่นคือ {{abstract_content_th}} และถ้าสถาบันการศึกษาใดมีการใส่คำสำคัญในบทคัดย่อก็จะใช้ตัวแปร {{keyword_th}} เพื่อแสดงข้อมูลคำสำคัญออกมา จากภาพที่ 30 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 31 2 Abstract Page (EN): หน้าบทคัดย่อภาษาอังกฤษ ในหน้าบทคัดย่อภาษาไทยนี้ จะเป็นส่วนที่ต้องมีการจัดรูปแบบในส่วนหัวเรื่องของบทคัดย่อซึ่งจะมีความแตกต่างในแต่ละสถาบันการศึกษาเช่นเดียวกันกับหน้าอนุมัติ แต่จะไม่ได้มีความหลากหลายของรูปแบบมากนัก จาก Source Code ข้างต้นจะมีการใช้งานเหมือนกับหน้าอนุมัติ แต่จะมีตัวแปรที่เป็นเนื้อหาบทคัดย่อที่เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามา นั่นคือ {{abstract_content_en}} และถ้าสถาบันการศึกษาใดมีการใส่คำสำคัญในบทคัดย่อก็จะใช้ตัวแปร {{keyword_en}} เพื่อแสดงข้อมูลคำสำคัญออกมา จากภาพที่ 32 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 33

ตัวอย่างโครงสร้าง Template ตอนที่ 3 (หน้าอนุมัติ)

1. Approval Page (TH): หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย ในหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยจะมีความแตกต่างกันมากที่สุดในแต่ละสถาบันการศึกษา เนื่องจากแต่ละสถาบันการศึกษามีผู้อนุมัติในการทำวิทยานิพนธ์ไม่เหมือนกัน จึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษา HTML ด้วยในการจัดรูปแบบหน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยนี้ จากตัวอย่าง Source Code หน้าอนุมัติของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการรูปแบบหน้าอนุมัตินี้จะไม่ได้มีแค่ตัวแปรที่ต้องทราบ แต่ยังมีข้อมูลอื่น ๆ อีกที่ต้องทราบและใช้งานเป็น เพราะจะต้องนำมาใช้งานในการจัดรูปแบบ ซึ่งข้อมูลที่ต้องทราบมีดังนี้ 1) Tag : เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง จาก Source Code ข้างต้นมี Tag ดังนี้ – <table> คือ ตาราง – <tr> คือ แถวในตาราง – <td> คือ คอลัมน์ในตาราง 2) Attribute : ข้อมูลที่อยู่ภายในกรอบของแท็ก HTML เป็นตัวบอกคุณลักษณะของ Tag นั้น จะมีอยู่สองส่วนคือ name และ value […]

ตัวอย่างโครงสร้าง Template ตอนที่ 2 (หน้าปกใน)

1. Cover Page (TH): หน้าปกในภาษาไทย ในหน้าปกในของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยจะมีการแยกส่วนทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนบนสุด ในหน้ากระดาษจะประกอบด้วย ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษา เป็นภาษาไทย จากภาพที่ 14 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 15 โดยจะมีแค่ตัวแปรชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนิพนธ์ที่เป็นภาษาไทย นั่นคือ {{title_name_th}} ซึ่งหน้าปกในของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทยนี้ จะเหมือนกันในทุกเทมเพลตทั้ง 5 รูปแบบมาตรฐานของระบบไอทีสิส 2) ส่วนกลาง ในหน้ากระดาษจะประกอบไปด้วย ชื่อและนามสกุลของนิสิตนักศึกษา เป็นภาษาไทย จากภาพที่ 16 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 17 โดยส่วนกลางในหน้าปกนอกวิทยานิพนธ์นี้ จะเป็นส่วนที่แสดงชื่อและนามสกุลของนิสิตนักศึกษาเป็นภาษาไทย โดยตัวแปรที่ใช้คือ {{student_name_th}} ซึ่งในบางสถาบันการศึกษาจะมีคำนำหน้าชื่อ (นาย/นางสาว) จะสามารถใช้ตัวแปร {{student_name_pre_th}} เพิ่มเข้ามาในหน้าตัวแปรชื่อ 3) ส่วนท้ายสุด ในหน้ากระดาษจะประกอบด้วยข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละสถาบันการศึกษา จากภาพที่ 18 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 19 โดยส่วนท้ายสุดในหน้าปกนอกวิทยานิพนธ์นี้ จะเป็นส่วนแสดงข้อความที่แต่ละสถาบันการศึกษาจะแสดงข้อความไม่เหมือนกัน […]

การเตรียมการเชิงเทคนิคสำหรับติดตั้งระบบ iThesis 2017

สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะใช้งานระบบ iThesis โดยเตรียมการตามขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการติดตั้งและใช้งานระบบ ซึ่งจะใช้สถาปัตยกรรมแบบติดตั้งไว้ ณ สถาบันการศึกษา (On-Premise) โดยจะต้องมีการจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ แบ่งตามกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. การจัดเตรียมข้อมูลหลัก (Institute Master Database) ระบบ iThesis จะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของสถาบันการศึกษาซึ่งจะต้องจัดเตรียมข้อมูลหลักที่จำเป็นในการใช้งานระบบ iThesis ในรูปแบบฐานข้อมูล หรือ View หรือ Materialized View ตามโครงสร้างฐานข้อมูล (database schema) ที่ระบบ iThesis กำหนด โดยมีข้อมูลหลัก ดังนี้ ข้อมูลรูปแบบการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา (GRADUATE_RESEARCH_TYPE) ข้อมูลรายชื่อคณะ/สำนักที่มีนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (FACULTY) ข้อมูลภาควิชาที่มีนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (DEPARTMENT) ข้อมูลรายชื่อปริญญาและระดับปริญญา (DEGREE) ข้อมูลสาขาวิชา (FIELD_OF_STUDY) ข้อมูลนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (STUDENT) ข้อมูลอาจารย์ ที่สามารถเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการสอบ รวมถึงคณบดี […]

ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการติดตั้งและใช้งานระบบในระยะที่ 2

ระบบ iThesis ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) จัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นระบบที่ช่วยในการกำหนดกรอบการเขียน และบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งได้เสร็จสิ้นโครงการในระยะที่ 1 คือพัฒนาระบบ พร้อมติดตั้งระบบร่วมกับมหาวิทยาลัยนำร่องทั้ง 5 แห่งเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้โครงการเข้าสู่ระยะที่ 2 ที่ สกอ. เปิดให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมใช้งานระบบ iThesis ได้ สำหรับสถาบันการศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการติดตั้งและใช้งานระบบ iThesis มีแนวทางและขั้นตอนในการร่วมโครงการ ดังนี้ ระยะที่ 1 ก่อนเริ่มติดตั้งระบบ สถาบันการศึกษาจัดตั้งคณะทำงานโครงการไอทีสิส ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ผู้จัดการโครงการ ที่มีบทบาทหรือสามารถตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการได้ ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ (ผู้ประสานงานโครงการ) สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษา และทีมที่ปรึกษาในการติดตั้งระบบจาก สกอ. ในการดำเนินโครงการได้ ผู้ดูแลระบบ (สามารถเป็นคนเดียวกับผู้ประสานงานโครงการได้) สามารถดูแลบำรุงรักษาระบบด้านการใช้งานได้ เมื่อมีติดตั้งและเริ่มการใช้งานระบบ พร้อมทั้งจัดทีมฝึกอบรมการใช้งานระบบภายในสถาบันการศึกษา หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เคยช่วยจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งเครื่องแม่ข่าย การเชื่อมต่อเครือข่าย ข้อมูลหลักสำหรับใช้งานระบบ เป็นต้น […]

[VDO] iThesis 2017 – การใช้งานบทบาทนิสิตนักศึกษา

Applies to: iThesis 2017 Description: วีดิโอแนะนำการใช้งานระบบไอทีสิส 2017 ในบทบาทนิสิตนักศึกษา โดยความสามารถของระบบ (Feature) ขึ้นกับการเปิดใช้งานของแต่ละสถาบันการศึกษา