สถาบันการศึกษาที่มีความประสงค์จะใช้งานระบบ iThesis โดยเตรียมการตามขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการติดตั้งและใช้งานระบบ ซึ่งจะใช้สถาปัตยกรรมแบบติดตั้งไว้ ณ สถาบันการศึกษา (On-Premise) โดยจะต้องมีการจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ แบ่งตามกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การจัดเตรียมข้อมูลหลัก (Institute Master Database)
ระบบ iThesis จะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของสถาบันการศึกษาซึ่งจะต้องจัดเตรียมข้อมูลหลักที่จำเป็นในการใช้งานระบบ iThesis ในรูปแบบฐานข้อมูล หรือ View หรือ Materialized View ตามโครงสร้างฐานข้อมูล (database schema) ที่ระบบ iThesis กำหนด โดยมีข้อมูลหลัก ดังนี้
- ข้อมูลรูปแบบการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา (GRADUATE_RESEARCH_TYPE)
- ข้อมูลรายชื่อคณะ/สำนักที่มีนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (FACULTY)
- ข้อมูลภาควิชาที่มีนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (DEPARTMENT)
- ข้อมูลรายชื่อปริญญาและระดับปริญญา (DEGREE)
- ข้อมูลสาขาวิชา (FIELD_OF_STUDY)
- ข้อมูลนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (STUDENT)
- ข้อมูลอาจารย์ ที่สามารถเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการสอบ รวมถึงคณบดี (ADVISOR)
- ข้อมูลเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาทั้งระดับคณะ ภาควิชาหรือหลักสูตร และข้อมูลเจ้าหน้าที่หอสมุดที่ใช้งานระบบ iThesis (STAFF)
- ข้อมูลสถานะกิจกรรมของนิสิตนักศึกษา (STUDENT_CONDITION)
<เฉพาะเมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชัน: การเพิ่มเงื่อนไขการสอบ/กิจกรรมต่าง ๆ ก่อนสร้างใบนำส่งวิทยานิพนธ์> - ข้อมูลจับคู่หลักสูตร (CURRICULUM_CODE_MAPPING)
<เฉพาะเมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชัน: การเพิ่มตัวแปรตำแหน่งบริหารในสถาบันการศึกษาสำหรับำ Template ที่เมนู Approve Setting> - ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา (STUDENT_ GRAD_STATUS)
<เฉพาะเมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชัน: การค้นหารายชื่อผู้สำเร็จการศึกษา และลบไฟล์วิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว> - ข้อมูลรายชื่อคณะกรรมการของนิสิตนักศึกษา (STUDENT_COMMITTEE)
<เฉพาะเมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชัน: การนำเข้ารายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการ> - ข้อมูลหัวข้อวิทยานิพนธ์ (STUDENT_TOPIC)
<เฉพาะเมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชัน: การนำเข้าหัวข้อวิทยานิพนธ์>
รายละเอียดโครงสร้างฐานข้อมูล (database schema) ที่ เว็บไซต์โครงการ
2. การจัดเตรียมระบบพิสูจน์ตัวบุคคล (Authentication system)
ระบบ iThesis รองรับการเชื่อมต่อกับระบบพิสูจน์ตัวบุคคลของสถาบันการศึกษาทั้ง platform ของ LDAP (Lightweight Directory Access Protocol) และ AD (Active Directory) เพื่อตรวจสอบและอนุญาตให้กลุ่มผู้ใช้งานระบบในสถาบันการศึกษา สามารถเข้าใช้งานระบบ iThesis ได้ซึ่งประกอบด้วยผู้ใช้บทบาทต่าง ๆ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เจ้าหน้าที่หัวหน้าผู้ดูแลบัณฑิตศึกษาระดับคณะ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลบัณฑิตศึกษาระดับสาขาวิชา เจ้าหน้าที่หอสมุด และผู้ดูแลระบบ (อาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับ iThesis 2017)
นอกจากนี้สถาบันการศึกษาสามารถเพิ่มจำนวน server ที่ใช้สำหรับการพิสูจน์ตัวบุคคลได้ตามต้องการ ซึ่งระบบจำเป็นต้องใช้ identifier ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบัญชีผู้ใช้และฐานข้อมูลผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น การใช้รหัสนิสิตนักศึกษาสำหรับผู้ใช้งานระบบในบทบาทนิสิตนักศึกษา การใช้รหัสบุคลากรสำหรับผู้ใช้งานในบทบาทเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
หมายเหตุ: สถาบันการศึกษาสามารถเลือกใช้เครื่องมือพิสูจน์ตัวบุคคลได้เพียง 1 ประเภทเท่านั้น ระบบ iThesis ไม่รองรับแบบผสมมากกว่า 1 ประเภท (LDAP + AD) การลงทะเบียนของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องจะใช้ประเภทเดียวกันทั้งหมด
3. การจัดเตรียมเครื่องแม่ข่ายสำหรับติดตั้งและเชื่อมต่อกับระบบ iThesis (on-premise model)
การใช้งานระบบ iThesis จะมีเครื่องแม่ข่าย (เซิร์ฟเวอร์) ทั้งหมด 4 ตัว (ขั้นต่ำในการเริ่มต้นใช้งาน iThesis คือ 3 รายการแรก) ซึ่งทางสถาบันการศึกษาจะต้องจัดเตรียมตามคุณลักษณะของเซิร์ฟเวอร์ขั้นต่ำ รายละเอียดดังนี้
- เซิร์ฟเวอร์สำหรับ CDS Data Gateway ซึ่งเป็นเซิร์ฟเวอร์ตัวกลางเพื่อใช้รับและส่งข้อมูลระหว่างทรัพยากรของสถาบันการศึกษากับระบบ iThesis และระหว่างสถาบันการศึกษากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
(2.4 GHz (4 cores) / 4 GB / 100 GB / CentOS 7.X) - เซิร์ฟเวอร์สำหรับ Intellectual Repository สำหรับติดตั้งโปรแกรม DSpace
(2.4 GHz (4 cores) / 8 GB / 500 GB / CentOS 7.X) - เซิร์ฟเวอร์สำหรับติดตั้งระบบ iThesis Web Application
(2.4 GHz (8 cores) / 16 GB / 250 GB / CentOS 7.X) - ตำแหน่งของเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อบริการ NFS เพื่อจัดเก็บไฟล์ของระบบ
(ขึ้นอยู่กับ disk quota ที่สถาบันการศึกษาให้กับนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแต่ละคน โดยค่าตั้งต้นของระบบคือ 5 GB ต่อนักศึกษา 1 คน)
หมายเหตุ:
- Link เพื่อดาวน์โหลดระบบปฏิบัติการ CentOS 7.0 http://isoredirect.centos.org/centos/7/isos/x86_64/CentOS-7-x86_64-Minimal-1611.iso
- กรณีไม่ให้ทีมติดตั้งระบบใช้งานบัญชี root ต้องขอให้สร้าง user ตามที่ร้องขอโดยมีสิทธิ์ root และผู้ดูแลระบบสามารถปิดการ login บัญชี root เข้าสู่ server ได้ (disable root login)
- ขอให้เปิดการใช้งาน firewall
- เปิด port SSH (22), HTTP (80), SSL (443) ทั้ง inbound และ outbound
- เมื่อเริ่มดำเนินการติดตั้งระบบ ทีมงานจะเปลี่ยนการตั้งค่า login ด้วย username/password ในบริการ SSH เป็นการเข้าถึง server ด้วย SSH Key-Based Authentication
หากสถาบันการศึกษาประสงค์จะให้ทีมงานติดตั้งระบบปฏิบัติการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น ผ่าน Team Viewer ขอให้แจ้งความประสงค์มาที่ dev-ithesis@uni.net.th
4. การจัดเตรียมทรัพยากรอื่นๆ
- ชื่อ domain สำหรับระบบ iThesis
- การขอใช้บริการ Digital Certificate (SSL) สำหรับ domain ในข้อ 1
- การติดตั้งนโยบายการใช้งานเครือข่ายของสถาบันการศึกษา (HTTP, HTTPS, SSH) โดยอนุญาตให้เครื่อง CDS (data gateway server) ของสถาบันการศึกษาบนโครงข่าย UniNet ในข้อ 3 (1) เชื่อมต่อกับ
- ระบบ TDC Repository server ตำแหน่งไอพี 202.28.197.56
- ระบบ DIS (Data Interchange Server) ของสกอ. แบบระบุตำแหน่งไอพี 202.28.197.57
- เว็บโครงการ ithesis.uni.net.th ตำแหน่งไอพี 202.28.197.53
- ระบบการสำรองข้อมูลของสถาบันการศึกษา
- บัญชีอีเมล (mail sender) สำหรับส่งข้อมูลแจ้งเตือนต่าง ๆ จากระบบ iThesis ไปยังผู้ใช้งาน (SMTP) เช่น noreply-ithesis@domain.ac.th
- บัญชีอีเมล สำหรับผู้ใช้งานภายในสถาบันการศึกษาแจ้งติดต่อ/สอบถามปัญหากับผู้ดูแลระบบของสถาบันฯ เช่น ithesis@domain.ac.th
- เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ
- ผู้ประสานงานหลักของโครงการ
- การใช้งาน VPN (ถ้ามี)
- รูปแบบ Template จากระบบ (เลือกจาก เว็บไซต์โครงการในหัวข้อ ตัวอย่าง Template จากระบบ)
- File Logo ของสถาบันการศึกษา (.png) เพื่อใช้ในการแสดงผลที่หน้าเว็บพอร์ทัลของระบบ
- File ลายน้ำ (Watermark) ในรูปแบบ .pdf เพื่อใช้ในการประกอบเข้ากับไฟล์วิทยานิพนธ์ ก่อนส่งเข้าหอสมุด
- บัญชีผู้ใช้งานระบบ (บัญชีเดียวกับระบบพิสูจน์ตัวบุคคล) สำหรับการทดสอบของทีมติดตั้งระบบ
หมายเหตุ : * บัญชีผู้ใช้งานจะต้องมีข้อมูลในข้อมูลหลักที่จัดเตรียมในข้อ 1 (การจัดเตรียมข้อมูลหลัก)
การดำเนินโครงการติดตั้งระบบ iThesis ทางสถาบันการศึกษาจำเป็นจะต้องเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ข้างต้นให้พร้อมก่อนที่จะติดต่อผู้ประสานงานโครงการจัดจ้างติดตั้งระบบ จากนั้นทีมพัฒนาระบบจะใช้เวลาติดตั้งประมาณ 5 วันทำการ
Tiny URL for this post: