ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการติดตั้งและใช้งานระบบในระยะที่ 2

ระบบ iThesis ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) จัดตั้งโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นระบบที่ช่วยในการกำหนดกรอบการเขียน และบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งได้เสร็จสิ้นโครงการในระยะที่ 1 คือพัฒนาระบบ พร้อมติดตั้งระบบร่วมกับมหาวิทยาลัยนำร่องทั้ง 5 แห่งเรียบร้อยแล้ว

ขณะนี้โครงการเข้าสู่ระยะที่ 2 ที่ สกอ. เปิดให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมใช้งานระบบ iThesis ได้ สำหรับสถาบันการศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการติดตั้งและใช้งานระบบ iThesis มีแนวทางและขั้นตอนในการร่วมโครงการ ดังนี้

ระยะที่ 1 ก่อนเริ่มติดตั้งระบบ

  1. สถาบันการศึกษาจัดตั้งคณะทำงานโครงการไอทีสิส ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    • ผู้จัดการโครงการ ที่มีบทบาทหรือสามารถตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆ ของโครงการได้
    • ผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ (ผู้ประสานงานโครงการ) สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษา และทีมที่ปรึกษาในการติดตั้งระบบจาก สกอ. ในการดำเนินโครงการได้
    • ผู้ดูแลระบบ (สามารถเป็นคนเดียวกับผู้ประสานงานโครงการได้) สามารถดูแลบำรุงรักษาระบบด้านการใช้งานได้ เมื่อมีติดตั้งและเริ่มการใช้งานระบบ พร้อมทั้งจัดทีมฝึกอบรมการใช้งานระบบภายในสถาบันการศึกษา
    • หน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้เคยช่วยจัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งเครื่องแม่ข่าย การเชื่อมต่อเครือข่าย ข้อมูลหลักสำหรับใช้งานระบบ เป็นต้น
    • บัณฑิตวิทยาลัย จะเป็นหน่วยงานที่นำระบบไปใช้ในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานระบบกับกระบวนการเดิมที่มีอยู่ตามความเหมาะสม
    • สำนักหอสมุด จะเป็นหน่วยงานที่ร่วมใช้งานระบบ โดยการรับข้อมูลเล่มวิทยานิพนธ์เคลังปัญญา พร้อมทั้งส่งไปยัง TDC-AS

หมายเหตุ: คณะทำงานโครงการขึ้นกับการจัดตั้งตามความเหมาะสมของโครงสร้างหน่วยงานหรือบุคคลากรในสถาบันการศึกษา

  1. สถาบันการศึกษาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ ithesis.uni.net.th เช่น
    • ความสามารถของระบบ iThesis ทั้ง Web portal และ Add-in
      (VDO นำเสนอและสาธิตการใช้งาน iThesis 2016)
    • รูปแบบวิทยานิพนธ์มาตรฐานของระบบ (Thesis template) ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 9 แบบ
    • แผนการดำเนินโครงการ
    • ข้อจำกัดของระบบ
  2. สถาบันการศึกษาประเมินความเป็นไปได้ในการนำระบบไปใช้งาน เช่น
    • การนำระบบไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ของสถาบันการศึกษา
    • การเลือก/ปรับรูปแบบวิทยานิพนธ์ (Thesis template) ของสถาบันการศึกษา ตามมาตรฐานของระบบ
    • การจัดตั้งคณะทำงานโครงการ ของสถาบันการศึกษา
    • การเตรียมความพร้อมทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับการติดตั้งระบบ
  3. สถาบันการศึกษาพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมทรัพยากรณ์ต่าง ๆ ตามรายการในเอกสาร การเตรียมการเชิงเทคนิคสำหรับติดตั้งระบบไอทีสิส.pdf จากนั้นส่งข้อมูลที่กรอกในไฟล์ pdf ไปที่ developer@ithesis.uni.net.th หรือผู้ประสานงานโครงการของทาง สกอ. (ทีมที่ปรึกษาฯ)
  4. ทีมที่ปรึกษาฯ ตรวจสอบความพร้อมของทรัพยากรต่าง ๆ ที่สถาบันการศึกษาจัดเตรียม พร้อมสรุปรายการทรัพยากรที่ยังไม่พร้อมสำหรับการติดตั้งระบบ จัดส่งให้สถาบันการศึกษาทราบ เพื่อจัดเตรียมทรัพยากรให้ครบถ้วน (ประมาณ 5 วันทำการ)
    • การจัดเตรียมข้อมูลหลัก
    • การจัดเตรียมระบบพิสูจน์ตัวบุคคล
    • การจัดเตรียมเครื่องแม่ข่าย
    • การจัดเตรียมทรัพยากรอื่น ๆ
  5. ทีมที่ปรึกษาฯ นำเสนอแผนการดำเนินงาน และร่วมกับสถาบันการศึกษาในการปรับปรุงแผน

ระยะที่ 2 ติดตั้งระบบ

  1. สถาบันการศึกษาดำเนินการด้านการจัดซื้อ/จัดจ้างบริการติดตั้งระบบ
  2. ทีมที่ปรึกษาฯ ติดตั้งระบบ (ประมาณ 5 วันทำการ)
    • ติดตั้ง CDS Data gateway
    • ติดตั้ง iThesis Application
    • ติดตั้ง IR (DSpace)
  3. ทีมที่ปรึกษาฯทดสอบการใช้งานระบบพร้อมประสานงานกับสถาบันการศึกษาในการตรวจสอบความพร้อมใช้งานระบบ
  4. สถาบันการศึกษาจัดการบริหารการเปลี่ยนแปลง เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ภายในสถาบันการศึกษา (Change management) เช่น
    • การประชาสัมพันธ์กำหนดการใช้งานระบบให้ผู้เกี่ยวข้องภายในสถาบันการศึกษา เช่น นิสิตนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา เจ้าหน้าที่หอสมุด เป็นต้น
    • การเปลี่ยนแปลงประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำระบบเข้ามาใช้งาน
  5. ผู้ดูแลของสถาบันการศึกษาระบบตรวจสอบความพร้อมของข้อมูลหลัก การพิสูจน์ตัวบุคคล พร้อมตั้งค่าระบบเบื้องต้น อ้างอิงขั้นตอนที่ การเริ่มต้นใช้งานของผู้ดูแลระบบ (Guide for getting started)
  6. สถาบันการศึกษาทดสอบการใช้งานระบบ
  7. ทีมที่ปรึกษาฯ อบรมการใช้งานให้ทางสถาบันการศึกษา (ใช้เวลา 2 วันทำการ)
    • อบรมบทบาทเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษาและหอสมุด
    • อบรมบทบาทผู้ดูแลระบบ
    • อบรมบทบาทนิสิตนักศึกษา
    • อบรมบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา
  8. สถาบันการศึกษาตรวจรับงาน (หลังจัดฝึกอบรม) ชำระค่าบริการติดตั้งระบบกับผู้ให้บริการ และเริ่มระยะเวลาบำรุงรักษาระบบ (MA)

ระยะที่ 3 ใช้งานระบบ

  1. ผู้ดูแลระบบปรับปรุงข้อมูลหลัก ตั้งค่าระบบเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานจริง (ถ้ามี)
  2. สถาบันการศึกษาเริ่มการใช้งานระบบ (Go live)
  3. ผู้ดูแลระบบประสานงานกับทีมสนับสนุนการใช้งานระบบของที่ปรึกษาฯ ในการแก้ไขปัญหาการใช้งาน รวมถึงข้อบกพร่องของระบบที่ตรวจพบ ผ่านทางอีเมล support@ithesis.uni.net.th

นโยบายด้านสนับสนุนการใช้งานระบบจากทาง สกอ.

สำหรับผู้ใช้งานภายในสถาบันการศึกษา หากพบปัญหาการใช้งาน จะติดต่อไปยังผู้ดูแลระบบของสถาบันการศึกษา
ทีมงาน iThesis ของสถาบันการศึกษาจะมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ และให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น (First Tier)

กรณีมีปัญหาทางเทคนิคของระบบ ข้อบกพร่องของระบบ ข้อควรปรับปรุง ความต้องการของระบบเพิ่มเติม ฯลฯ
ทางทีมงาน iThesis ของสถาบันการศึกษาก็จะเป็นผู้ประสานงานการแก้ไข/ปรับปรุงระบบกับทีมผู้พัฒนาระบบ/ทีมบำรุงรักษาระบบต่อไป ซึ่งจะทำให้ทีมงาน iThesis ของสถาบันการศึกษามีความรู้ รับทราบข้อจำกัด และปัญหาของระบบ สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งานในสถาบันการศึกษาของตนเองได

Tiny URL for this post:
 

Related Articles