แนวทางการใช้งานระบบไอทีสีส (iThesis) สำหรับนิสิตนักศึกษาในสถาบันที่มีการโอนย้ายจากระบบ E-THESIS มายัง ระบบ iThesis

การใช้งานระบบ iThesis โดยทั่วไปสำหรับนิสิตนักศึกษาที่ทางสถาบันมีการโอนย้ายจากระบบ E-THESIS มายังระบบ iThesis และนิสิตนักศึกษาที่เริ่มใช้งานในระบบ iThesis มีขั้นตอนการใช้งานทั้งในส่วนของเว็บ(Web portal) และแอดอิน(Microsoft Word iThesis Add-in) ที่ไม่แตกต่างกันมาก แต่จะมีข้อแนะนำในการใช้งานสำหรับนิสิตนักศึกษาที่เคยดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ผ่านระบบ E-THESIS มาก่อน ดังนี้

1. ปัญหาการใช้งานการเขียนวิทยานิพนธ์บน Microsoft Word iThesis Add-in

เนื่องจากโครงสร้างของการสร้างเทมเพลตของทั้งสองระบบมีความแตกต่างกันสืบเนื่องมาจากการพัฒนาคุณสมบัติและการใช้งานให้รองรับกับฟังก์ชันที่เพิ่มเติมในระบบ iThesis ทำให้นิสิตนักศึกษาที่ได้ดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์มาก่อนหน้าในระบบ E-THESIS มีข้อจำกัด คือ ไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์จากที่เคยดำเนินการแต่เดิมมาดำเนินการต่อได้ เช่น นิสิตนักศึกษาได้ผ่านขั้นตอนกระบวนการทำโครงร่างวิทยานิพนธ์มาแล้วในระบบ E-THESIS ต้องการดำเนินการต่อในกระบวนการวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง จึงใช้วิธีการดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ที่เคยบันทึกเข้าระบบ E-THESIS (Save to cloud) แล้วดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับร่างต่อ จากนั้นต้องการบันทึกไฟล์ที่ดำเนินการด้วยการคลิกที่ปุ่ม Save to cloud ระบบจะแสดงข้อความดังภาพด้านล่าง

1

2

ดังนั้นหากนิสิตนักศึกษาต้องการดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ต่อในระบบ iThesis ผ่าน Microsoft Word iThesis Add-in ขอแนะนำขั้นตอนการดำเนินการ โดยมีขั้นตอนดังนี้

(1) นิสิตนักศึกษาทำการดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับล่าสุด (หรือเป็นฉบับที่คาดว่าเนื้อหาสมบูรณ์ที่จะนำมาดำเนินการต่อ) ไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากการเข้าหน้าเว็บ (Web portal) ในเมนู REVISION & APPROVAL

3

(2) เปิดไฟล์วิทยานิพนธ์ที่ดาวน์โหลดไว้ในข้อที่ (1) ผ่านโปรแกรม Microsoft Word ที่ติดตั้ง iThesis Add-in เรียบร้อยแล้ว

(3) เปิดโปรแกรม Microsoft Word ขึ้นใหม่ และคลิกที่ริบบอน (Ribbon) iThesis ให้เข้าสู่ระบบผ่าน
Microsoft Word iThesis Add-in ในแถบ iThesis Panel

4

(4)  คลิกที่ปุ่ม Generate เพื่อดำเนินการสร้างเทมเพลตใหม่

5

(5) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเล่มวิทยานิพนธ์ หากมีข้อมูลในส่วนใดไม่ถูกต้อง เช่น ชื่ออาจารที่ปรึกษา ชื่อคณะกรรมการ ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ ฯลฯ ให้ไปตรวจสอบข้อมูลที่หน้าเว็บในเมนู ELECTRONIC FORM แก้ไขให้ถูกต้องแล้วจึงมา Re-Generate เทมเพลตเพื่อให้มีข้อมูลที่เป็นข้อมูลถูกต้องล่าสุด

(6) นิสิตนักศึกษาทำการคัดลอก (Copy) เนื้อหาจากไฟล์วิทยานิพนธ์เดิมที่เปิดไว้ในข้อที่ 1) และวาง (Paste) ไปยังตำแหน่งการเขียนเนื้อหาวิทยานิพนธ์ (หน้าถัดจากหน้าสารบัญ) ของหน้าต่าง MS Word ที่ Generate Template ไว้ในข้อที่ 4)

6

(7) ในกรณีที่มีการใช้ Reference Manager ได้แก่ Endnote หรือ Mendeley ให้ทำการ Update Bibliography เพื่อสร้างรายการอ้างอิงในหน้าสุดท้ายของเล่มวิทยานิพนธ์ด้วย

กรณีที่ใช้ Reference Manager ชื่อ Endnote ให้ไปที่ริบบอน Endnote และคลิกปุ่ม Update  Citations and Bibliography ดังภาพด้านล่าง

7

กรณีที่ใช้ Mendeley ให้คลิกที่ริบบอน Reference นำเคอเซอร์ไปวางไว้ในตำแหน่งหน้าสุดท้ายของเล่มวิทยานิพนธ์ และทำการคลิกปุ่ม Insert Bibliography เพื่อแทรกรายการอ้างอิงดังภาพด้านล่าง

8

(8) นิสิตนักศึกษาสามารถดำเนินการเขียนวิทยานิพนธ์ต่อได้ หากต้องการบันทึกไฟล์เข้าสู่ระบบสามารถคลิกที่ปุ่ม Save to cloud เพื่อบันทึกไฟล์ดังกล่าว และสามารถบันทึกไฟล์เข้าสู่ระบบ

9

 

 

10

2. การศึกษาการใช้งานระบบทั่วไป

ในส่วนของการใช้งานระบบทั่วไป นิสิตนักศึกษาที่มีข้อสงสัยในการใช้งานในส่วนต่าง ๆ มาสามารถศึกษาการใช้งานได้ที่ https://ithesis.uni.net.th/kb/  คลังความรู้ของระบบไม่ได้มีเพียงแต่บทความเกี่ยวกับการใช้งานระบบเท่านั้นแต่ยังมีบทความที่เกี่ยวกับการใช้งานเบื้องต้นของโปรแกรมที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบ iThesis ได้เช่น โปรแกรม Reference Manager เช่น Endnote, Mendeley เป็นต้น

11

Tiny URL for this post:
 

Related Articles