Applies to: EndNote : EndNote x6 EndNote x7 EndNote x8 Description: การใช้งานโปรแกรม EndNote เมื่อติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ผู้ใช้งานจะต้องสร้างไลบรารี่ และเพิ่มข้อมูลลงในไลบรารี่นั้นเสียก่อนจึงจะสามารถนำข้อมูลนั้นๆ ไปใช้งานในเอกสารได้ โดยสามารถอธิบายได้ดังในส่วนของ Solution Solution: เปิดโปรแกรม EndNote สร้างไลบรารี่ โดยการคลิกที่เมนู File และเลือกที่คำสั่ง New… ตั้งชื่อของไลบรารี่ใหม่หรือจะใช้ชื่อที่ระบบสร้างขึ้นให้ก็ได้ ลงในช่อง File name พร้อมทั้งเลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์ ดังตัวอย่างเลือกเก็บไฟล์ไว้ที่ Desktop แล้วคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อยืนยันการบันทึก หลังการยืนยันการบันทึกในข้อที่ 3 ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบที่ Desktop ซึ่งจะพบกับไฟล์ My EndNote Library.enl 1 ไฟล์ และโฟลเดอร์ My EndNote Library.data อีก 1 โฟลเดอร์ […]
การดาวน์โหลดและการติดตั้งโปรแกรม EndNote
Applies to: EndNote : EndNote x6 EndNote x7 EndNote x8 Microsoft Word : 2010 2013 2016 Description: การเขียนวิทยานิพนธ์ โดยส่วนใหญ่จะมีการอ้างอิงข้อมูล, ข้อความจากหนังสือหรือบทความต่างๆ ซึ่งการเขียนวิทยานิพนธ์ผ่านระบบไอทีสิสจะต้องใช้งานโปรแกรม EndNote ในการสร้างเก็บข้อมูลรายการอ้างอิง (บรรณานุกรม / Reference / Bibliography) Solution: ผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรม EndNote X7 ดาวน์โหลดจาก http://endnote.com/ (สามารถดาวน์โหลดและเลือกติดตั้งเป็น trial version ได้) กรณีที่สถาบันการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่มีโปรแกรม EndNote พร้อม license ให้นิสิตนักศึกษาใช้งาน ก็สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้เช่นกัน เมื่อดาวโหลดโปรแกรม EndNote จาก http://endnote.com/ หรือจากทางสถาบันฯ แล้ว […]
การพิมพ์เล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์-Complete Thesis
Applies to: iThesis : 2017 Description: การพิมพ์เล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ หรือ Complete thesis จากระบบ ผู้ใช้งานจะต้องพิมพ์เอกสารดังกล่าวจากไฟล์ pdf ที่ดาวน์โหลดจากเมนู Revision & Approval ในส่วนที่เป็น Complete version ซึ่งจุดสังเกตของไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่มาจากระบบ คือ “ บาร์โค้ด (Barcode) ” โดยบาร์โค้ดบนเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จะต่างจากเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับอื่นๆ ดังนี้ บาร์โค้ดด้านซ้ายมือของเอกสารทุกแผ่น บาร์โค้ดมุมขวาล่างที่ปกแรกของเล่มวิทยานิพนธ์ สำหรับวิธีการดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete Thesis) สามารถทำได้ดังนี้ Solution: ล็อกอินเข้าใช้งานบนเว็บพอร์ทัล และไปยังเมนู Revision & Approval สังเกตที่เมนูย่อย Revision & Status ที่ส่วนของ Complete version ให้ผู้ใช้งานคลิกลงบนสัญลักษณ์เอกสารไฟล์ pdf เพื่อดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete Thesis) ที่เป็นเวอร์ชัน Final […]
Keyword
Applies to: iThesis Description: คำสำคัญ หรือ Keyword อยู่ในเมนู Electronic Form คือคำที่แสดงถึงเนื้อหาสำคัญของวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยนั้นๆ ซึ่งสามารถนำไปสืบค้นในระบบฐานข้อมูล โดยปกติวิทยานิพนธ์หนึ่งเล่มจะมีคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ โดยคำสำคัญของวิทยานิพนธ์สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยคำสำคัญจะปรากฏอยู่ในหน้าบทคัดย่อตามรูปแบบการเขียนวิทยานิพนธ์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งการกรอกข้อมูลคำสำคัญมีวิธีการดังนี้ Solution: เข้าใช้งานที่เมนูย่อย Abstract โดยฟอร์มการกรอก Keyword จะอยู่ใต้ฟอร์ม Abstract ดังภาพทางด้านล่าง วิธีการกรอกข้อมูลสามารถอธิบายได้เป็นข้อๆ ดังนี้ พิมพ์คำสำคัญลงในฟอร์ม (หมายเลข 1) ทีละคำ คลิกที่ปุ่ม ADD (หมายเลข 2) เพื่อบันทึกคำสำคัญที่กรอกลงในฟอร์ม **ไม่ต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค ” , ” หรือทับ ” / ” คั่นระหว่างคำ คลิกที่ปุ่มคำสั่ง “Save” เพื่อบันทึกการเพิ่มข้อมูลคำสำคัญ *กรณีที่ต้องการลบคำสำคัญ ให้คลิกที่กากบาทด้านหลังของคำที่ต้องการลบ ระบบจะมี pop-up แจ้งขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานยืนยันการลบข้อมูล
Publication (iThesis)
Applies to: iThesis Description: เมนู Publication อยู่ภายใต้เมนู Report Data เป็นเมนูที่เก็บข้อมูลผลงานการตีพิมพ์ โดยผู้ใช้งานจะต้องกรอกข้อมูลการตีพิมพ์ผลงาน แบ่งเป็น 3 เมนูย่อย ได้แก่ Real time Search – กรณีที่ผู้ใช้งานมีการตีพิมพ์ผ่านฐานข้อมูล ISI / SCOPUS / Crossref Publication Forms – กรณีที่ผู้ใช้งานมีการตีพิมพ์ผ่านฐานข้อมูล ISI / SCOPUS / Crossref และฐานข้อมูลอื่นๆ โดยไม่ปรากฏในการค้นหาแบบ Real time Search หรือกรณีการเพิ่มบทความทางวิชาการประเภท Conference หรือการจดสิทธิบัตร Your Publication – เมนูที่แสดงผลการกรอกข้อมูลจากในเมนู Real time search และ Publication form […]
ไฟล์ที่รอการพิจารณาจากที่ปรึกษาถูกยกเลิก (CANCELLED)
Applies to: iThesis : 2017 Description: หลังการส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์, วิทยานิพนธ์ฉบับร่าง หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์แล้ว ที่เมนู Revision & Approval จะปรากฎเป็นสถานะ Pending หรือรอการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งสถานะปกติระหว่างรอการพิจารณาจะปรากฎเป็นคำว่า Pending แต่ถ้าหากปรากฎเป็นคำว่า CANCELLED นั่นหมายถึงผู้ใช้งานทำการแก้ไขข้อมูลบางอย่างบนเมนู Electronic Form สำหรับวิธีการแก้ไขเมื่อมีการแสดงผลในลักษณะดังกล่าว สามารถทำได้ดังนี้ หมายเหตุ : กรณีที่ผู้ใช้งานแก้ไขข้อมูล ในระหว่างรอการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษา แต่อาจารย์ที่ปรึกษายังไม่ได้คลิกลิงก์จากในอีเมลที่ได้รับ สถานะในเมนู Revision & Approval จะยังปรากฏเป็นคำว่า ” Pending “ Solution: เปิดโปรแกรม Microsoft Word เพื่อใช้งาน Add-in ล็อกอินและดาวน์โหลดไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับล่าสุดจาก ithesis Panel คลิกปุ่ม “Generate Template” เพื่อเป็นการ re-generate template […]
การใช้อักษรพิเศษในเมนู Electronic Form
Applies to: iThesis : 2017 Description: เมนู Electronic Form เป็นเมนูจัดทำขึ้นเพื่อกรอกข้อมูลสำคัญๆ เช่น หัวข้อวิทยานิพนธ์, รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา/กรรมการสอบ, บทคัดย่อ, กิตติกรรมประกาศ หรือข้อมูลประวัติของผู้เขียนวิทยานิพนธ์ เพื่อนำข้อมูลที่กรอกไปนั้น สร้างเป็นแม่แบบของวิทยานิพนธ์ผ่าน Add-In ที่ติดตั้งบนโปรแกรม Microsoft Word ซึ่งข้อมูลที่ผู้ใช้งานจะต้องระบุข้อมูล ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ Topic (หัวข้อวิทยานิพนธ์) Committee & Examiner (รายชื่อคณะกรรมการสอบ/อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) Abstract (บทคัดย่อ) Acknowledgement (กิตติกรรมประกาศ/ประกาศคุณูปการ) Biography (ประวัติผู้วิจัย/ประวัติผู้เขียนวิทยานิพนธ์) ซึ่งข้อมูลทั้ง 5 ส่วนที่กรอกผ่านเมนูต่างๆ เหล่านี้ จะถูกนำมาสร้างเป็นแม่แบบวิทยานิพนธ์ผ่าน Add-in ที่เรียกวิธีการในการสร้างแม่แบบวิทยานิพนธ์ว่าการ Generate template โดยเทมเพลตของวิทยานิพนธ์ที่ได้จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่กับรูปแบบวิทยานิพนธ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย […]
การ Re-generate template หลังการแก้ไขข้อมูลบนเมนู Electronic Form
Applies to: Add-in ทุกเวอร์ชัน Description: ภายหลังการแก้ไขข้อมูลในเมนู Electronic form บนเว็บพอร์ทัลแล้ว ผู้ใช้งานจะต้อง Re-generate template เพื่ออัพเดทข้อมูลที่เพิ่มลงบนเว็บพอร์ทัลลงในเทมเพลตของวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ โดยเมื่อผู้ใช้งานล็อกอิน เข้าใช้งาน Add-in จะสังเกตเห็นว่าที่เครื่องมือ “Generate template” จะปรากฏสัญลักษณ์ดังภาพทางด้านล่าง เพื่อให้ทราบว่ามีข้อมูลบางอย่างในเมนู Electronic form เปลี่ยนไป จะต้อง Re-generate template ใหม่ ซึ่งเมื่อระบบปรากฏเครื่องหมายดังภาพ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถบันทึกไฟล์เข้าสู่ระบบได้ เนื่องจากข้อมูล ที่อยู่บนเว็บพอร์ทัลและในเอกสารไม่ตรงกัน หากผู้ใช้งานกดปุ่มคำสั่ง Save to cloud จะปรากฏข้อความแจ้งขึ้นดังภาพ ซึ่งหมายความว่ามีข้อมูลบางอย่างบนเว็บพอร์ทัลมีการแก้ไข ให้ผู้ใช้งาน Generate template และ Save to cloud บันทึกเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง
กรณีไม่สามารถเลือกเวอร์ชันส่งเป็นโครงร่างฯ หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ได้
Applies to: iThesis : 2017 Description: กรณีที่ผู้ใช้งานต้องการส่งวิทยานิพนธ์ในกระบวนการต่างๆ เช่น โครงร่างวิทยานิพนธ์ (Proposal) วิทยานิพนธ์ฉบับร่าง (Draft thesis) วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (Complete thesis) แต่เมื่อเข้าใช้งานที่เมนู Revision & Approval กลับพบว่าไม่สามารถเลือกไฟล์เวอร์ชันใดส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาได้ ดังที่แสดงในภาพ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น นั่นหมายถึงผู้ใช้งานได้แก้ไขข้อมูลบางอย่างในเมนู Electronic Form ที่อาจเป็นข้อมูลในเมนู Topic (หัวข้อวิทยานิพนธ์), Committee & Examiner (รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา/กรรมการสอบ), Abstract (บทคัดย่อ), Acknowledgement (กิตติกรรมประกาศ)หรือ Biography (ประวัติผู้เขียน) เมนูใดเมนูหนึ่ง ซึ่งทุกครั้งหลังการแก้ไขข้อมูลในแต่ละเมนูในข้างต้น เมื่อผู้ใช้งานคลิกที่ปุ่ม Save เพื่อบันทึกข้อมูล จะมีกล่องข้อความแจ้งขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานยืนยันการบันทึกข้อมูล ดังภาพทางด้านล่าง ดังนั้น ผู้ใช้งานจะต้อง Re-generate template เพื่ออัพเดตข้อมูลใหม่ที่กรอกลงในเว็บพอร์ทัล ลงในเทมเพลตใหม่อีกครั้งผ่าน Add-In ซึ่งเมื่อล็อกอินเข้าใช้งานที่ Add-In แล้ว จะสังเกตเห็นว่าที่ปุ่มคำสั่ง […]
Approval Status
Applies to: iThesis Description: Approval Status ใช้สำหรับแสดงสถานะการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ที่ปรากฏบนเมนู Electronic Form ซึ่งสถานะดังกล่าวเป็นการแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบว่าโครงร่างวิทยานิพนธ์, วิทยานิพนธ์ฉบับร่าง หรือวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่ผู้ใช้งานส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่ฯ (ในบางขั้นตอนมีเจ้าหน้าที่จะต้องทำการอนุมัติด้วย) ว่าได้รับการพิจารณาอนุมัติแล้วหรือไม่ และผลการอนุมัติเป็นอย่างไร โดยรายละเอียดการแสดงสถานะสามารถอธิบายได้ดังนี้ แรกเข้าใช้งานบนเว็บพอร์ทัล ที่สถานะดังกล่าวจะแสดงสถานะเป็น None ทั้งในส่วนของ Advisor (อาจารย์ที่ปรึกษา) และ Officer (เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย/เจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา/เจ้าหน้าที่คณะ) กล่าวคือ ยังไม่มีการขออนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ไปยังอาจารย์ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ฯ ภายหลังผู้ใช้งานเลือกเวอร์ชันส่งเป็นโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติที่สถานะของ Advisor (อาจารย์ที่ปรึกษา) จะเปลียนเป็น Pending แสดงพื้นหลังเป็นสีเหลือง/ส้มอ่อน ดังภาพ หลังอาจารย์ที่ปรึกษา ทำการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ กรณีอนุมัติให้ “ผ่าน“– อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้ “ผ่าน” จะมีอีเมลแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีอำนาจ/หน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย ในการบันทึกข้อมูลผลการอนุมัติของกรรมการสอบโครงร่างเข้าสู่ระบบฯ กรณีอนุมัติให้ “ไม่ผ่าน“– หากอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติให้ “ไม่ผ่าน” ให้ผู้ใช้งานแก้ไขตามคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะตามที่อาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งในเมนู Revision & Approval **หากมีการแก้ไขข้อมูลในเว็บพอร์ทัล ผู้ใช้งานต้อง Re-generate […]