Roles & Capabilities (Staff)

Applies to: iThesis 2016 iThesis 2017 Description: เมนู Roles & Capabilities เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ใช้งานเพื่อตรวจสอบรายชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลนิสิตนักศึกษาแต่ละสาขา โดยเมนูดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 เมนูย่อย ดังนี้ Graduate Staff Manage Staff เมนู Graduate staff เป็นเมนูที่แสดงจำนวนเจ้าหน้าที่ ผู้ทำหน้าที่หรือมีอำนาจในการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ให้กับนิสิตนักศึกษาแต่ละคณะ   เมนู Manage Staff โดยเจ้าหน้าที่คณะผู้ที่มีอำนาจในการจัดการเจ้าหน้าที่สาขาภายในสังกัดคณะของตน จะสามารถจัดการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่สาขาท่านอื่นๆ ในการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ หรืออนุมัติการแก้ไขวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ การเข้าใช้งานในครั้งแรก ที่ส่วนของ Status จะมีสถานะเป็น none (หมายเลข 1) ให้เจ้าหน้าที่คลิกเพื่อให้สถานะดังกล่าวเปลี่ยนเป็น Active คลิกที่ช่องสุดท้ายที่มีสัญลักษณ์รูปเฟือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เพื่อการตั้งค่า (หมายเลข 2) ระบบจะปรากฏส่วนการตั้งค่า ประกอบด้วย Major (หมายเลข 3) เพื่อเลือกสาขาที่ต้องให้การเจ้าหน้าที่คนดังกล่าวดูแลผ่านระบบฯ และคลิกที่ปุ่มคำสั่ง Add เพื่อบันทึกข้อมูลที่เลือก Major List (หมายเลข 4) เป็นส่วนการแสดงผลของของสาขาที่เจ้าหน้าที่เลือก Enable […]

Advisor/Advisee

Applies to: iThesis 2016 iThesis 2017 Description: เมนู Advisor/Advisee เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบภาระงานของอาจารย์แต่ละท่านได้ โดยข้อมูลที่จะปรากฏขึ้นบนเมนูนี้ เป็นข้อมูลของอาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก(Advisor) และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (Co-Advisor)เท่านั้น โดยสามารถอธิบายวิธีการใช้งานได้ดังนี้ เข้าใช้งานที่เมนู Advisor/Advisee ระบุข้อมูลที่ต้องการทราบดังนี้ เลือกภาคการศึกษาที่ Semester พิมพ์ชื่อของอาจารย์ท่านที่ต้องการทราบภาระงานลงในฟอร์ม  Name-Surname(English) คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Display ระบบจะแสดงผลภาระงานอาจารย์ โดยมีข้อมูลดังนี้ Advisor Name – ชื่ออาจารย์ Type – ประเภทการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก หรือที่ปรึกษาร่วม Student– รายชื่ออาจารย์ Proposal – วัน-เวลาที่อนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ Complete Thesis – วันที่อนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

Barcode

Applies to: iThesis 2016 iThesis 2017 Description: เมนู Barcode เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ (Graduate staff) ใช้งานเพื่อเก็บประวัติการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ / สารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ หรือใบนำส่งวิทยานิพนธ์ ที่บัณฑิตวิทยาลัย/หน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละสถาบัน โดยหลังจากที่นิสิตนักศึกษาผ่านกระบวนการ การเขียนวิทยานิพนธ์ผ่านระบบแล้ว นิสิตนักศึกษาจะต้องพิมพ์ (print) วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์/สารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมใบนำส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (submission document) มาส่งยังบัณฑิตวิทยาลัย  ซึ่งเล่มวิทยานิพนธ์ที่พิมพ์ออกจากระบบ และใบนำส่งฯ จะมีบาร์โค้ด ซึ่งก่อนการแสกนบาร์โค้ดเจ้าหน้าที่จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของเล่มวิทยานิพนธ์อีกครั้ง และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในใบนำส่งวิทยานิพนธ์ แล้วจึงทำการแสกนบาร์โค้ด หมายเหตุ เจ้าหน้าที่ที่ได้รับสิทธิ์เท่านั้นจึงจะปรากฏเมนู การรับเล่มวิทยานิพนธ์ เจ้าหน้าที่จะใช้งานที่เมนู Barcode เพื่อรับเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมใบนำส่งฯ  โดยหลังจากที่เจ้าหน้าที่สแกนบาร์โค้ด จะเป็นการเตรียมข้อมูลส่งเข้าคลังปัญญาของสถาบัน เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเล่มวิทยานิพนธ์ และข้อมูลในใบนำส่งฯ สามารถ Barcode โดยสามารถใช้งานได้ 2 วิธี การใช้เครื่องแสกนบาร์โค้ด การพิมพ์ตัวเลขจากหน้าปกเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และคลิกที่ปุ่มคำสั่ง Preview เพื่อตรวจสอบข้อมูล ระบบจะแสดงข้อมูลเพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องก่อน จากนั้นคลิกปุ่มคำสั่ง submit เพื่อยืนยันการรับเล่มฉบับสมบูรณ์ เมื่อดำเนินการสำเร็จ จะปรากฏ Approved Complete ดังภาพ […]

การอนุมัติของเจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่ผู้ที่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติเท่านั้น จึงจะได้รับอีเมลที่ส่งออกจากระบบ โดยเจ้าหน้าที่จะได้รับอีเมลแจ้งจากระบบเพื่อการอนุมัติ 2 ฉบับ คือ การขออนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะ การขออนุมัติการแก้ไขวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และเจ้าหน้าที่จะได้รับอีเมลแจ้งผลการอนุมัติ 1 ฉบับ ผลการพิจารณาโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะ โดยวิธีการในการอนุมัติมีดังนี้ ตรวจสอบกล่องข้อความอีเมล และคลิกที่อีเมลดังกล่าว คลิกที่ คลิกที่นี่ เพื่อไปยังฟอร์มการอนุมัติของเจ้าหน้าที่ หรือคลิกลิงค์ที่ปรากฏทางด้านล่าง ระบบจะปรากฏฟอร์มการอนุมัติขึ้น โดยฟอร์มการอนุมัติของเจ้าหน้าที่ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ ส่วนของข้อมูลนิสิตนักศึกษา Basic Information – ข้อมูลทั่วไปของนิสิตนักศึกษา Thesis topic – ชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ Thesis committee – รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา และกรรมการสอบ ส่วนการอนุมัติ โดยเจ้าหน้าที่ต้องกรอกข้อมูลครั้งที่ในการพิจารณาจากคณะกรรมการการอนุมัติฯ และวันที่ พร้อมทั้งระบุผลการอนุมัติเป็น ผ่าน (Approve) หรือ ไม่ผ่าน (Disapprove)

Approval proposal

หลังการทำโครงร่างวิทยานิพนธ์ (proposal) บนระบบไอทีสิส ที่ประกอบด้วยกระบวนการกรอกหัวข้อวิทยานิพนธ์ (Topic) รายชื่อกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ (Committee) การ generate template  การเขียนเนื้อหาของโครงร่างวิทยานิพนธ์ และการบันทึกไฟล์โครงร่างวิทยานิพนธ์เข้าสู่ระบบคลาวด์ (Save to cloud) ผู้ใช้งานจะเลือกเวอร์ชันที่สมบูรณ์ที่สุดส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณา ซึ่งวิธีการในการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถอธิบายเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ ตรวจสอบกล่องข้อความอีเมล(Inbox) และคลิกเลือกอีเมลที่ได้รับ คลิกที่ คลิกที่นี่ บนเนื้อหาในอีเมล เพื่อลิงค์ไปยังฟอร์มการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ ระบบจะแสดงฟอร์มการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังภาพ คือ Student data (ส่วนการแสดงข้อมูลของนิสิตนักศึกษา) ที่ประกอบด้วย Basic information (ข้อมูลพื้นฐานของนิสิตนักศึกษา) Thesis topic (หัวข้อวิทยานิพนธ์) Thesis committee (รายชื่อกรรมการสอบวิทยานิพนธ์) Approval form (ส่วนการพิจารณา) Thesis Files ไฟล์เอกสารวิทยานิพนธ์ในรูปแบบ .docx และ .pdf Plagiarism Detection ผลการตรวจการลักลอกวิทยานิพนธ์จากอักขราวิสุทธิ์ […]

Committee & Examiner

Applies to: iThesis Description: เมนู Committee & Examiner อยู่ภายใต้เมนู Electronic Form  เป็นเมนูที่ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก คณบดี อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ประธานกรรมการสอบ หรือรายชื่อกรรมการที่ต้องปรากฏในเล่มวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีวิธีการกรอกข้อมูลดังนี้ การเพิ่มข้อมูล เข้าใช้งานที่เมนู Electronic Form คลิกที่เมนู Committee & Examiner เลือกตำแหน่งกรรมการที่ต้องการกรอกข้อมูลที่ “To specify an examiner committee, please select type of committee, search & select, and enter the details in the form:“ เมื่อปรากฏฟอร์มการกรอกข้อมูลกรรมการ ให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลด้วยวิธีการดังที่จะอธิบายต่อไปนี้ (ดังตัวอย่างเลือกตำแหน่งที่ต้องการเพิ่มข้อมูลเป็น  Advisor) ระบุชื่ออาจารย์ที่ต้องการกรอกข้อมูล พิมพ์อักษรภาษาอังกฤษที่หมายเลข […]

Thai digital collection

เมนู THAI DIGITAL COLLECTION เป็นเมนูที่แสดงผลการเชื่อมต่อไปยัง TDC หรือ THAI DIGITAL COLLECTION ประกอบด้วย 3 เมนูย่อย คือ TDC-AS  Collections File transfer History log   เมนู TDC-AS Collections เป็นเมนูสำหรับตรวจสอบความถูกต้องของรหัส Collection จาก IR ของทางสถาบัน และ TDC-AS Collection ID (รหัส collection จากเครื่อง TDC)  โดยทุกข้อมูลที่ปรากฏขึ้นในเมนูนี้ ผู้ใช้งานจะไม่สามารถแก้ไขได้ เป็นเพียงการแสดงผลให้ทราบเท่านั้น ส่วนประกอบของเมนู TDC-AS  Collections ประกอบด้วย Faculty name – ชื่อคณะของแต่ละมหาวิทยาลัย [ขึ้นอยู่กับล็อกอินของผู้ใช้งานว่าเป็นผู้ดูแลระบบ(Administrator) หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด(Librarian) ของสถาบันใด] Collection […]

CDS Check-Up

เมนู CDS Check-Up อยู่ภายใต้เมนู System settings เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบใช้งานเพื่อตรวจสอบสถานะต่างๆ ของเครื่อง CDS (Credential Delegator Server) โดยเมนูดังกล่าวจะไม่มีปุ่มคำสั่งในการใช้งาน แต่เมื่อเจ้าหน้าที่คลิกที่เมนู CDS Check-Up  ระบบจะตรวจสอบสถานะต่างๆ ของเครื่อง CDS แบบ real time โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถคลิกที่ Update ปุ่มเครื่องมือมุมขวาของหน้าจอ เพื่อให้ระบบทำการ Update สถานะ หากมีการเปิดใช้งานเมนูนี้เป็นเวลานาน

Authentication Method

เมนู Authentication Method อยู่ภายใต้เมนู System settings  ซึ่งเป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ(admin) ใช้งานเพื่อตั้งค่าการล็อกอินเข้าใช้งานระบบฯ สำหรับนิสิตนักศึกษา ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้ เจ้าหน้าที่เข้าใช้งานเมนู Authentication method เลือกตั้งค่าการเข้าใช้งานระบบได้ดังนี้ User local account เมื่อเป็นผู้ใช้งานจากระบบ iThesis Use Lightweight Directory Access Protocol เมื่อทางสถาบันใช้งานระบบ LDAP พิสูจน์ตัวบุคคลของ Linux Use Active Directory เมื่อทางสถาบันใช้งานระบบ AD พิสูจน์ตัวบุคคลของ Microsoft คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Run Connection เมื่อเลือกใช้งานตัวเลือกที่ 2 และ 3 คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Apply config เมื่อเลือกใช้งานตัวเลือกที่ 1

Condition setting

เมนู Condition setting อยู่ภายใต้เมนู System settings เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบจะใช้งานเพื่อการจัดการเงื่อนไขการจบการศึกษาของนิสิตนักศึกษา ตัวอย่างเช่น “นิสิตนักศึกษาที่รหัสขึ้นต้นด้วย 56-57 (ปีการศึกษา 2556-2557) ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมซอฟแวร์ มีเงื่อนไขในการจบการศึกษาว่าต้องผ่านกระบวนการในการจบการศึกษา และการทดสอบระดับทางภาษาแล้ว” ซึ่งหากนิสิตนักศึกษาของคณะ สาขา ในรหัสดังกล่าวยังไม่ผ่านการทดสอบในส่วนนี้ ระบบจะไม่ปรากฏใบนำส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ขึ้นในเมนู Submission document และจะไม่สามารถส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้ทางบัณฑิตวิทยาลัยได้ และยังไม่สามารถทำเรื่องขอจบการศึกษาได้ โดยมีวิธีการกำหนดเงื่อนไขการจบการศึกษาผ่านเมนูนี้ ดังนี้ เจ้าหน้าที่เข้าใช้งานเมนู Condition settings ตั้งค่าเงื่อนไขการจบการศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้ ทำเครื่องหมายลงในส่วนของ Create conditions (เงื่อนไข) (หมายเลข 1) Complete on course registration (กระบวนการในการจบการศึกษา) English proficiency examination (การสอบวัดระดับทางภาษา) Test of information technology skill (การสอบวัดระดับทางคอมพิวเตอร์) Research ethics Course (หลักสูตรจริยธรรมการวิจัย) […]