Journal Management

เมนู  Journal management อยู่ภายใต้เมนู System settings เป็นเมนูสำหรับให้เจ้าหน้าที่จัดการข้อมูลวารสารทางวิชาการในระบบฯ เพื่อให้นิสิตนักศึกษาเลือกกรอกข้อมูลลงในเมนู Publication   ส่วนประกอบของเมนู  Journal management จำนวนรวมของแต่ละฐานข้อมูลวารสาร SCImago Database JCR Database TCI Database PUBMED Database ปุ่มคำสั่ง Collapse รายการวารสาร เรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยข้อมูลดังนี้ # – ลำดับ Journal name – ชื่อวารสาร Publisher – สำนักพิมพ์ ISSN – ค่า ISSN Level – ระบบดับ International หรือ National Country – ประเทศที่ตีพิมพ์วารสารนั้น […]

(Admin) การใช้งานเมนูย่อย Academic year

เมนู Academic year อยู่ภายใต้เมนู Application settings เป็นเมนูสำหรับให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งค่าวันเปิดภาคเรียนวันสุดท้ายของแต่ละภาคการศึกษา เนื่องจากในหลายๆ มหาวิทยาลัยกำหนดให้วันเปิดภาคเรียนวันสุดท้าย เป็นวันรับเล่มวิทยานิพนธ์วันสุดท้าย และมีวิธีการตั้งค่าดังนี้ ใช้งานที่เมนู Application settings เมนูย่อย Academic year  เป็นเมนูแรก เจ้าหน้าที่สามารถเพิ่มข้อมูลวันปิดภาคเรียนของแต่ละภาคการศึกษา หรือวันส่งวิทยานิพนธ์วันสุดท้ายของแต่ละภาคการศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้ คลิกปุ่มคำสั่ง Add new เพื่อเพิ่มข้อมูลใหม่ หลังคลิกที่ปุ่มคำสั่ง Add new ระบบจะปรากฏฟอร์มการเพิ่มข้อมูล และมีปุ่มคำสั่งเพื่อใช้งานดังนี้ ฟอร์มระบุ วันสุดท้ายของภาคเรียน (หมายเลข 1) ฟอร์มระบุ ปีการศึกษา (หมายเลข 2) ฟอร์มระบุ ภาคเรียน (หมายเลข 3) คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Save เพื่อบันทึกข้อมูล หากต้องการลบข้อมูล ให้คลิกที่เครื่องหมายลบ (หมายเลข 4) หากต้องการเพิ่มข้อมูลเพิ่ม ให้คลิกที่ Add new

Contact information

Applies to:        iThesis 2016        iThesis 2017 Description: เมนู Contact information อยู่ภายใต้เมนู Your profile เป็นเมนูที่เก็บข้อมูลการติดต่อ เช่น อีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก (main advisor) อีเมลและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน(นิสิตนักศึกษา) (student) อีเมลการติดต่อของเจ้าหน้าที่ (officer) อาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor) อีเมลของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ปรากฎขึ้นในส่วนนี้ จะเป็นข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเท่านั้น โดยระบบจะนำอีเมลของอาจารย์ที่อยู่ในฐานข้อมูลขึ้นมาแสดงผล  โดยผู้ใช้งานสามารถเพิ่มอีเมลการติดต่ออื่นๆ ของอาจารย์ลงในฟอร์มที่ปรากฏขึ้นได้ ซึ่งจะอธิบายวิธีการเพิ่มหรือลบข้อมูลในลำดับถัดไป นิสิตนักศึกษา (Student) ระบบแสดงอีเมลของผู้ใช้งานที่ถูกเก็บในฐานข้อมูล โดยบางมหาวิทยาลัยอาจแสดงผลเป็นอีเมลของมหาวิทยาลัย เช่น b5230300680@ku.ac.th  ซึ่งหากผู้ใช้งานมีการใช้อีเมลอื่นสามารถเพิ่มอีเมลอื่นๆ ลงในฟอร์มการกรอกข้อมูลได้ โดยวิธีการในการเพิ่มหรือลบข้อมูลจะใช้วิธีการเดียวกับอาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ (Officer) ระบบจะแสดงผลอีเมลของเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการดูแลนิสิตนักศึกษาในคณะหรือสาขานั้น ๆ ซึ่งข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ที่ปรากฎขึ้นนั้นจะไม่สามารถแก้ไขได้ […]

การใช้งานเมนู Manage Student ในบทบาทผู้ดูแลระบบ (Admin)

  เมนู Manage Student เมนู Manage Student เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ (Administrator) จะใช้งานเพื่อตรวจสอบบัญชีผู้ใช้งานของนิสิตนักศึกษา โดยจะสามารถตรวจสอบรายชื่อ หรือสถานะในการใช้งานของนิสิตนักศึกษาผู้ที่ใช้งานในระบบขณะนั้น และตรวจสอบสถานะการส่ง Activate account ที่เป็น Local account ไปยังนิสิตนักศึกษาใช้ในกรณีที่ระบบ Ldap หรือ AD ของสถาบันไม่สามารถเข้าใช้งานได้ชั่วคราว เพื่อให้นิสิตนักศึกษา Activate account ของตนเพื่อให้สามารถเข้าใช้งานในระบบได้ในช่วงเวลาที่กำหนด การตรวจสอบบัญชีผู้ใช้งานของนิสิตนักศึกษา เมนู Manage Student นี้สามารถทำการตรวจสอบบัญชีผู้ใช้งานของนิสิตนักศึกษาได้ดังนี้ สามารถกรองข้อมูลนิสิตนักศึกษาตามสถานะต่าง ๆ ได้แก่ ผู้ใช้งานทั้งหมด (All) ผู้ใช้งานที่ Activate account แล้ว (Active) ผู้ใช้งานที่อยู่ในระหว่างการรอการ Activate account (Pending) ผู้ใช้งานที่มีรายชื่อ แต่ยังไม่ได้เริ่มใช้งานระบบ (None) สามารถค้นหาตามข้อมูลต่าง ๆ […]

Import & Sync Data

เมนู Import & Sync Data เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ (Administrator) ใช้งานเพื่อนำเข้าข้อมูลสำคัญลงสู่ฐานข้อมูล ซึ่งข้อมูลที่สำคัญมีดังนี้ Student – ข้อมูลนิสิตนักศึกษา Faculty – ข้อมูลมหาวิทยาลัย Degree – ข้อมูลหลักสูตร Major – ข้อมูลสาขาวิชา Advisor – ข้อมูลอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย Department – ข้อมูลภาควิชา Qualification – ข้อมูลระดับปริญญา Officer – ข้อมูลเจ้าหน้าที่บัณฑิตศึกษา เมนู Import & Sync Data ประกอบด้วย 3 เมนูย่อย ดังนี้  เมนู Database Synchronization  เมนู Data Interchange Sync  เมนู Help […]

การใช้งานเมนู Complete Version ในบทบาทเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ (Admin) และเจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate Staff)

  เมนู Complete Version  เมนู Complete Version เป็นเมนูสำหรับตรวจสอบข้อมูลของผู้ที่ส่งวิทยานิพนะ์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมทั้งได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลได้เป็นรายคณะ รายภาคเรียน และเนื่องจากกระบวนการอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จะมีเพียงการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเท่านั้น เช่นเดียวกันกับการอนุมัติวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง เจ้าหน้าที่สามารถเข้าใช้งานเพื่อตรวจสอบรายชื่อของนิสิตนักศึกษา ผู้ที่ส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว โดยวิธีการใช้งานจะเป็นลักษณะเดียวกันกับเมนู Proposal และเมนู Draft Version เพื่อตรวจสอบรายชื่อของผู้ที่ส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่อาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติผ่านระบบแล้ว วิธีการใช้งานเมนู Complete Version คลิกที่เมนู Complete Version  เลือกข้อมูลประเภทเอกสารวิทยานิพนธ์ที่ต้องการตรวจสอบข้อมูล  โดยข้อมูลประเภทแต่ละเมนู คือรูปแบบการวิจัยที่จะปรากฎเป็นเมนูย่อยว่าประเภทใดจะมีการทำวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสถาบันการศึกษา เลือกเงื่อนไขในกาารตรวจสอบข้อมูล ได้แก่ Semester – ปีการศึกษา Faculty / College Name – คณะที่ต้องการทราบข้อมูล Field of study – สาขาวิชาที่ต้องการทราบข้อมูล คลิกที่ปุ่ม Display เพื่อแสดงข้อมูล […]

Intellectual repository

Applies to: iThesis: 2016 2017 Description: เมนู Intellectual repository เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ(Admin) หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด(Librarian) ใช้งานสำหรับตรวจสอบข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ที่พร้อมจะนำเข้าสู่คลังปัญญาของสถาบัน (IR)  โดยเจ้าหน้าที่สามารถตั้งค่าของระบบ DSpace ได้ผ่านเมนูนี้,  สามารถตั้งค่าหมายเลข collection รวมทั้งแสดงประวัติการนำเข้าข้อมูลลงสู่คลังปัญญาของสถาบัน และสามารถสำรองข้อมูลวิทยานิพนธ์ได้ เมนู Intellectual repository ประกอบด้วย 5 เมนูย่อยๆ ดังนี้ Transfer & Export Configuration Collections History Backup Thesis/IS   Transfer & Export เมนูสำหรับแสดงข้อมูลส่วนของเล่มวิทยานิพนธ์ที่ส่งไปยังคลังปัญญาของสถาบัน ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูข้อมูลของคณะที่ต้องการนำวิทยานิพนธ์เข้าสู่คลังปัญญาได้ที่ตัวเลือกของ Select faculty/ college of หากมีข้อมูลที่พร้อมจะนำเข้าสู่คลังข้อมูล จะมีการแสดงผลรายชื่อที่ส่วนด้านล่าง ดังที่ปรากฏในภาพตัวอย่างทางด้านล่าง กรณีที่มีข้อมูลพร้อมส่งไปยัง IR สามารถทำเครื่องหมายหน้ารายชื่อ และคลิกที่ปุ่มคำสั่ง Transfer ระบบจะส่งข้อมูลวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาดังกล่าวไปยัง […]

System Status

Applies to: iThesis: 2016 2017 Description: เมนู System Status เป็นเมนูที่แสดงข้อมูลการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์และการใช้งานดิสก์ ซึ่งประกอบด้วย 2 เมนูย่อย คือ เมนู Server Connection เมนู Disk usage   เมนู Server Connection เป็นเมนูที่แสดงสถานะการใช้งาน ณ ปัจจุบันของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบไอทีสิส โดยในแต่ละสถานะ จะแสดงข้อมูล Host Name URL Execute time Status   เมนู Disk Usage เป็นเมนูที่แสดงกราฟการใช้งานของดิสก์ โดยข้อมูลที่แสดงประกอบด้วย File space used พื้นที่การเก็บไฟล์วิทยานิพนธ์ Log space used พื้นที่การเก็บ log file

Research Mapping

Applies to: iThesis Description: เมนู Research Mapping อยู่ภายใต้เมนู Report Data เป็นเมนูที่จัดทำขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ฉบับนั้นๆ  ซึ่งผู้ใช้งานต้องกรอกข้อมูลโดยการเลือกข้อมูลในแต่ละส่วนตามแบฟอรืมที่ระบบแสดงผล  โดยก่อนกรอกข้อมูลควรสอบถามอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อความถูกต้อง เมนู Research mapping  แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ Subject Area / Subject Category – หมวดหมู่งานวิจัย (หมายเลข 1) โดยเลือกให้ตรงกับวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ที่วิจัย และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 หมวดหมู่ Thailand Standard Industrial Classification (TSIC) – ประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม (หมายเลข 2) สามารถเลือกได้เพียง 1 ตัวเลือกเท่านั้น ประเภทของงานวิจัยที่ตรงกับเรื่องที่ทำการวิจัย/วิทยานิพนธ์ (หมายเลข 3) สามารถเลือกได้มากกว่าหัวข้องานวิจัย เนื่องจากเมนูดังกล่าวมีข้อมูลของหัวข้องานวิจัยเป็นจำนวนมาก ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้จากเมนู Tutorial บนหน้าเว็บพอร์ทัลหรือดาวน์โหลดไฟล์เอกสารได้จากที่นี่ >>  เอกสารรายชื่อสาขาที่ทำวิจัย

วิธีการทำให้หัวข้อเรื่องปรากฏในหน้าสารบัญหลัก

Applies to: Microsoft Word : 2013 2016 2017 Add-in : 2017 หน้าสารบัญหลักที่ได้จากการ Generate template จะถูกล็อกไว้ทั้งหน้า กล่าวคือไม่สามารถแก้ไข, เพิ่มเติมDescription: หรือลบข้อมูลในหน้าดังกล่าวได้  สำหรับวิธีการที่จะทำให้ข้อมูลหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือหัวข้อเรื่องต่างๆ ในแต่ละบท ปรากฏในหน้าสารบัญหลักนั้นจะใช้เครื่องมือของ Add-in ที่ชื่อว่า Bookmark โดยสามารถอธิบายการใช้งานดังใน Solution ดังนี้ Solution: Generate template ด้วยการคลิกที่ปุ่มคำสั่ง Generate Template บน Add-in เพื่อสร้างแม่แบบของการเขียนเล่มวิทยานิพนธ์ หลังการ Generate จะได้หน้าว่างเพื่อให้เริ่มเขียนวิทยานิพนธ์(หมายเลข 2) ซึ่งตามภาพจะพบว่ามีตัวเคอร์เซอร์ อยู่ข้างหน้าคำว่า Section break (next Page) หรืออาจไม่เห็นคำดังกล่าว แต่จะเห็นเป็นหน้าว่าง ๆ ที่อยู่ต่อจากหน้าสารบัญ . . พิมพ์หรือวางเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ลงบนหน้าว่างที่ปรากฏ […]