เมนู Database Synchronization

Applies to:

iThesis:

  • 2016
  • 2017

Description:

เมนู Database Synchronization

เมนู Database Synchronization เป็นเมนูย่อยของเมนู Import & Sync Data
ซึ่งเมนูดังกล่าว จะใช้งานเพื่อนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลของระบบฯ
โดยทางสถาบันการศึกษาจะเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลสำคัญที่จะต้องใช้ในระบบฯ เช่น
– ข้อมูลคณะ
– สาขาวิชา
– ภาควิชา
– ระดับปริญญา
– รายชื่ออาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย
– รายชื่อนิสิตนักศึกษา
– รายชื่อรายชื่อเจ้าหน้าที่

data inter sync

สำหรับวิธีการใช้งาน มีดังนี้

  1. เข้าใช้งานเมนู Import & Sync Data (หมายเลข 1)
  2. ไปยังเมนูย่อย Database Synchronization (หมายเลข 2)
  3. ทำเครื่องหมายลงหน้าข้อมูลที่ต้องการนำเข้าฐานข้อมูล ที่ Choose data sync below: (ดังภาพ)
    data sync07

    1. หลังจากที่ทำเครื่องหมายลงหน้าข้อมูลที่ต้องการ จะปรากฏคำว่า “View Data
      ทางด้านหลังของข้อมูลที่ผู้ใช้งานเลือกdata sync08
    2. เมื่อคลิกที่ “View data” จะปรากฏข้อมูล เทียบระหว่างข้อมูลเดิม และข้อมูลที่จะนำเข้าใหม่
      ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องก่อนการ sync ข้อมูลได้จากที่นี่data sync09
  4. หลังตรวจสอบข้อมูลตามข้อ 3  และไม่พบความผิดปกติใดๆ
    ให้คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Sync Now  เพื่อเริ่มนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ และรอกระทั่งระบบประมวลผลแล้วเสร็จ
  5. เจ้าหน้าที่จะทราบผลการนำเข้าข้อมูลได้จากค่าที่ปรากฏขึ้นใต้ปุ่มคำสั่ง Sync Now
    หรือในส่วนที่เรียกว่า ” SYNC HISTORY “

    1. กรณีที่สามารถนำข้อมูลเข้าได้ปกติ :
      — ระบบจะแจ้งให้ทราบว่า Successful และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลมาตรวจสอบได้
      โดยไฟล์ที่ได้จากการดาวน์โหดล จะเป็นไฟล์ .csv history db sync
    2. กรณีที่ไม่สามารถนำเข้าข้อมูลได้ :
      — ระบบจะแจ้งให้ทราบถึงข้อมูลส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาหรือไม่สามารถนำเข้าฐานข้อมูลได้
      ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง และทำการ Sync ข้อมูลใหม่อีกครั้ง

      1. ด้านหลังของส่วนที่แจ้ง Error  เจ้าหน้าที่สามารถดาวน์โหลด log file และ raw file
        เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ไม่สามารถนำเข้าสู่ระบบได้
        data sync10
      2. ไฟล์ที่ได้จากการดาวน์โหลดตามที่อธิบายในข้อ 1data sync11
      3. โดยข้อมูลส่วนที่ไม่สามารถ sync ได้เจ้าหน้าที่จะพบว่ามีการแสดงเป็น Error code
        โดยสามารถนำ code ที่ระบบแสดงในส่วนของ sync history (ภาพบน)
        ไปเทียบกับ error code (ภาพล่าง) ในส่วนของเมนู Help

        data sync12
        การแสดง Error code ที่ส่วนของ SYNC HISTORY

        Sync error
        แสดงคำอธิบาย Error Code ที่เมนู HELP
      4. หลังจากเจ้าหน้าที่ทราบแล้วว่าปัญหา หรือ Error ดังกล่าวเกิดจากข้อมูลส่วนใด
        ให้ทำการแก้ไข/เพิ่มเติม /ลบข้อมูล เพื่อ Sync ข้อมูลใหม่อีกครั้ง

Tiny URL for this post:
 

Related Articles