แนวคิดของการทำ Data visualization

Data visualization เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข จำนวน วันที่ เวลา ฯลฯ
มานำเสนอในรูปแบบของภาพ เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ใช้งานข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นระบบผู้บริหารขององค์กร ลูกค้า หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมักจะใช้กราฟรูปแบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการนำเสนอ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ยกตัวอย่างกราฟประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. แผนภูมิวงกลม (pie chart)
    เหมาะสำหรับการสื่อ “สัดส่วน” ขององค์ประกอบต่าง ๆ ของข้อมูลในประเด็นเดียวกัน บันทึกในช่วงเวลาเดียวกัน ทุกกลุ่มบวกรวมกันได้ 100% โดยต้องมั่นใจว่าสัดส่วนต่างๆ ที่จะนำมาพล็อตใส่แผนภูมินั้นเป็นส่วนเสี้ยวของเรื่องเดียวกัน ไม่ใช่คนละเรื่องกัน และบวกกันได้ทั้งหมดหรือ 100% จริงๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้
    นอกจากนี้ยังมีแผนภูมิโดนัท ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการใช้งานไม่แตกต่างกันมากนัก
    Chart01
    donutChart01
  2. แผนภูมิแท่ง (bar chart)
    แผนภูมิพื้นฐานประเภทที่สองคือ แผนภูมิแท่ง ไม่ว่าจะแนวตั้งหรือแนวนอน แผนภูมิประเภทนี้เหมาะสำหรับการ “เปรียบเทียบ” ข้อมูลต่างชนิดในเวลาเดียวกัน หรือชนิดเดียวกันแต่ต่างเวลากัน ประเด็นสำคัญคือต้องเป็นข้อมูลที่มี “หน่วย” เดียวกัน เช่น จำนวนเล่มวิทยานิพนธ์ จำนวนการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ จำนวนนิสิตนักศึกษา ฯลฯ
    BarChart01
  3. แผนภูมิแท่งลำดับชั้น (Stacked bar chart)
    แผนภูมิแท่งอีกประเภทที่มีการแสดงถึงสัดส่วนเชิงประมาณของข้อมูล ภายในชุดข้อมูลที่ต่างกัน เป็นการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมภายใน นอกจากนั้นยังมี แผนภูมิแท่งลำดับชั้นแบบแสดงสัดส่วน (%) เพื่อแสดงการเปรียบเทียบสัดส่วนกลุ่มข้อมูลภายในข้อมูลแต่ละชุดด้วย
    BarChart03
    BarChart02
  4. กราฟเส้น (line chart)
    กราฟพื้นฐานประเภทสุดท้ายคือ กราฟเส้น เหมาะสำหรับการนำเสนอ “ความเปลี่ยนแปลง” ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลตัวใดตัวหนึ่งผ่านช่วงเวลา หรือที่เรียกว่า ข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) โดยทั่วไปนิยมแสดงข้อมูลจากอดีตทางด้านซ้าย ข้อมูลจากปัจจุบันทางด้านขวา ถ้าจะให้ดีควรเป็นข้อมูลที่มีการเก็บบันทึกเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น รายเดือนหรือรายภาคการศึกษา เพราะการลากจุดเชื่อมจุดข้อมูลแต่ละจุดเป็นเส้นย่อมทำให้ผู้อ่านคาดหวัง “ความต่อเนื่อง” ของข้อมูล
    lineChart01

 

Tiny URL for this post:
 

Related Articles