Transfer & Export

Transfer & Export เมนู Transfer & Export  เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ(Admin) จะใช้งานเพื่อจัดการเล่มวิทยานิพนธ์ ในการส่งข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ของนิสิตนักศึกษาแต่ละคณะไปจัดเก็บเข้าสู่ระบบคลังปัญญาของสถาบัน(IR) สำหรับการใช้งานในเมนูดังกล่าวนั้น ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูข้อมูลของผู้ที่ส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมส่งเข้าคลังปัญญา  โดยการส่งข้อมูลนั้น เจ้าหน้าที่สามารถเลือกส่งข้อมูลเป็นรายบุคคลหรือรายคณะได้ สำหรับวิธีการใช้งานสามารถอธิบายได้ดังนี้ Solution: เข้าใช้งานเมนู Intellectual Repository เข้าใช้งานเมนู Transfer & Export เลือกตรวจสอบข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่พร้อมส่งเข้าสู่คลังปัญญาของทางสถาบัน ที่ Select faculty/ college of หลังการเลือกคณะที่ต้องการทราบข้อมูล กรณีมีข้อมูลที่พร้อมนำเข้าคลังปัญญา(IR) ส่วนของตัวเลือกจะปรากฏจำนวนรวมของวิทยานิพนธ์ที่พร้อมส่งเข้าสู่คลังปัญญา มีการแสดงผลรายชื่อที่ส่วนด้านล่าง  กรณีที่ไม่มีข้อมูลพร้อมส่ง ระบบจะแสดงข้อความแจ้งให้ทราบ การส่งข้อมูลเข้าสู่คลังปัญญา กรณีที่มีข้อมูลพร้อมส่งไปยัง IR ทำเครื่องหมายหน้ารายชื่อ คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Transfer ระบบจะส่งข้อมูลวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษาดังกล่าวไปยัง IR

การแก้ไขวงเล็บกลับด้าน

Applies to: Microsoft Word version: 2013 365 2016 Description: ผู้ใช้งานบางท่านอาจเคยประสบกับปัญหาการพิมพ์งานบนโปรแกรม Microsoft Word ซึ่งเมื่อเขียนเอกสารมาได้ระยะหนึ่ง มีการเปิดปิดเอกสารหลายครั้ง และเมื่อเปิดเอกสารขึ้นเพื่อใช้งานอีกครั้งพบว่ามีการแสดงผลของเนื้อหาไม่ถูกต้อง เช่น การแสดงผลของวงเล็บไม่ถูกต้อง หรือการแสดงผลของข้อความไม่ถูกต้อง ไม่สามารถอ่านเป็นคำ ดังเช่นตัวอย่าง สำหรับวิธีการแก้ไข สามารถแก้ไขได้ 2 วิธี ดังที่จะอธิบายในส่วนของ Solution Solution: วิธีที่ 1 ใช้โปรแกรม Notepad ช่วยในการล้างสไตล์ (Clear style) ที่ซ่อนอยู่ในข้อความส่วนนั้น เปิดโปรแกรม Notepad ค้นหาโปรแกรมที่ส่วนของการค้นหา (search program) หรือ กดปุ่ม Windows + r เพื่อเรียกใช้เครื่องมือ Run – พิมพ์คำว่า “notepad” […]

การปรับแก้ไขเทมเพลต

Applies to: iThesis   ข้อจำกัดของ add-in หน้าปก: สามารถใช้ได้เพียง tag จำพวก textbox, paragraph, img หน้าอนุมัติ: สามารถใช้ได้เพียง tag จำพวก table, sig-table การ generate template: เป็นการวาดจากบนลงล่าง ดังนั้นการจะกำหนดให้รายชื่อในหน้าอนุมัติอยู่ในตำแหน่งที่ชิดขอบล่างกระดาษจึงทำได้ยาก ในกรณีที่มีจำนวนชื่อที่อยู่ในหน้านั้น ๆ เช่นหน้าอนุมัติมีจำนวนไม่แน่นอน ระยะขอบกระดาษ: ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยระบบจะกำหนดไว้ที่ left-margin  =  3.81 right-margin = 2.54 top-margin = 3.81 bottom-margin =  2.54 Tag Tag คือ ลักษณะการระบุคำสั่งเพื่อใช้ในการแสดงผลของข้อมูล ซึ่งอยู่ในรูปแบบ …. ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ในเทมเพลต ทั้งข้อความหรือตัวแปร […]

Error : DLL required for this install to complete

Applies to: Add-In ทุกเวอร์ชั่น Description: ในกรณีที่ผู้ใช้งานทำการติดตั้ง Add-in แต่ไม่สามารถติดตั้งได้ และมีการแสดง error ดังภาพ สำหรับการแสดงผลของ Error ดังกล่าว เกิดจากการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึง การใช้งานของโฟลเดอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน (โดย error นี้สามารถเกิดได้กับทุกโปรแกรม ไม่ใช่เพียง Add-in) สำหรับวิธีการตรวจสอบและแก้ไขสามารถอธิบายได้ดังนี้ Solution: 1. เปิดหน้าต่างของ Run โดยกดปุ่ม Windows+R หรือค้นหาที่ส่วนของ Search ด้วยคำว่า Run 2. เมื่อปรากฏหน้าต่าง Run ให้พิมพ์คำว่า %appdata%  ดังที่แสดงในภาพ และคลิกที่ปุ่ม OK หรือกดปุ่ม Enter 3. จะปรากฏหน้าต่างที่ชื่อว่า Roaming  และให้กดที่ปุ่ม ย้อนกลับ 1 ครั้ง ดังภาพ […]

Service Settings

เมนู Service Settings เมนู Service setting เป็นเมนูที่เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบจะใช้งานเพื่อตั้งค่า ในกรณีที่มีการปิดการใช้งานระบบฯ  โดยเจ้าหน้าที่ฯ สามารถตั้งค่าให้ปิดการใช้งานได้ ทั้งในส่วนของ เว็บพอร์ทัล และ Add-in   ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ฯ สามารถระบุข้อความที่ต้องการแจ้งให้กับผู้ใช้งานที่จะล็อกอินเข้าใช้งานในช่วงวันเวลาที่กำลังปิดระบบอยู่ทราบถึงเหตุผลที่มีการปิดระบบ Solution: ส่วนประกอบของเมนู Service settings Web Login status ตั้งค่าการล็อกอินเข้าใช้งานบน เว็บพอร์ทัล (On-Off) Add-in Login status ตั้งค่าการล็อกอินเข้าใช้งานบน Add-in (On-Off) Descriptions เจ้าหน้าที่สามารถระบุคำประกาศที่ต้องการให้แสดงผลในหน้าเว็บพอร์ทัลได้ที่นี่ การใช้งาน เลือกตั้งค่าเปิด หรือปิด การใช้งานบนเว็บพอร์ทัลที่ Web login status เลือกตั้งค่าเปิด หรือปิด การใช้งาน Add-in ที่ Add-in login status ระบุคำประกาศที่ต้องการให้ปรากฏขึ้นบนหน้าเว็บพอร์ทัลที่ Descriptions คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Save […]

การใช้งานเมนู Tutorial หน้าเว็บพอร์ทัล

การใช้งานเมนู Tutorials เมนู Tutorial เป็นเมนูที่ใช้แสดงเอกสารคู่มือการใช้งาน หรือวีดิโอสอนการใช้งานของระบบไอทีสิส Tutorials เป็นส่วนของสื่อการสอน และการเรียนรู้การใช้งานระบบของนิสิต/นักศึกษา ที่สามารถใช้งานได้ที่หน้าแรกของเว็บพอร์ทัล โดยส่วนประกอบของเมนู Tutorial ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้ 1. Document  เป็นเมนูที่แสดงคู่มือการใช้งานของผู้ใช้งาน โดยการแสดงผลของหัวข้อของเอกสาร (Display name) โดยมีเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ โดยจะเลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลด และบันทึกข้อมูล ระบบจะแสดงไฟล์เอกสารต่าง ๆ ที่หน้าแรกของระบบที่เมนู Tutorial 2. Media link  เป็นเมนูที่แสดงวิธีการใช้งานหรือสื่อการสอนในรูปแบบของวีดิโอ โดยการแสดงผลของหัวข้อของวีดิโอ (Display name)  เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้กรอกข้อมูลลิงก์ที่ต้องการแสดงวีดีโอ และบันทึกข้อมูล และระบบจะแสดงวีดีโอที่หน้าแรกของระบบที่เมนู Tutorial

Type Settings

เมนู Type Settings เป็นเมนูสำหรับจัดการ การกำหนดเลือกเทมเพลตทั้งที่ต้องการใช้งานจริง และเทมเพลตที่ต้องการทดสอบเพื่อปรับแก้ไข ในกรณีที่อาจต้องการปรับใช้เทมเพลตอื่นในอนาคต Student id: ใช้กำหนดรหัสนิสิต/นักศึกษาที่จะใช้เพื่อทดสอบ Generate Template ด้วย iThesis Add-in ซึ่งมักจะถูกกำหนดในช่วงที่แก้ไขรูปแบบเอกสารวิทยานิพนธ์ Save id: คลิกเพื่อบันทึกรหัสนิสิต/นักศึกษาที่ต้องการใช้งานเพื่อทดสอบการ generate template Reset id: คลิกเพื่อล้างข้อมูลรหัสนิสิต/นักศึกษาที่กรอกลงในช่องว่าง Template type: เลือก Template type ที่ตั้งต้นจากระบบ 1 แบบ จาก 5 ต้นแบบ  ซึ่งสามารถนำไปปรับแก้ไขเทมเพลต หรือเลือกเพื่อใช้งานจริงก็ได้ Save config: คลิกเพื่อบันทึกการเลือก Template type Apply template: คลิกเพื่อกำหนดให้ Template type ที่เลือกไว้มีผลต่อการใช้งานระบบจริงกับนิสิต/นักศึกษาทั้งหมด Variable description: […]

Template Management

Applies to: iThesis: 2016 2017 Description: เมนู Template Add-in เป็นเมนูที่ใช้สำหรับแก้ไขรูปแบบเอกสารวิทยานิพนธ์ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อนิสิต/นักศึกษาผู้ใช้งานระบบทั้งหมดของระบบไอทีสิส ดังนั้นผู้ดูแลระบบจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ เบื้องต้นดังหัวข้อต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึงก่อนที่จะใช้งานเมนู Template add-in ดังนี้ เทมเพลตเอกสารในระบบไอทีสิส การใช้งานระบบไอทีสิสจะมีเทมเพลต (รูปแบบ) เอกสารวิทยานิพนธ์ตั้งต้นมาให้ 5 แบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะเลือกรูปแบบที่สามารถใช้งานในระบบได้ครั้งละ 1 แบบเท่านั้น โดยนิสิต/นักศึกษาทุกสาขาวิชา ทุกหลักสูตร และทุกระดับการศึกษาในมหาวิทยาลัยจะใช้ เทมเพลตแบบเดียวกันทั้งหมด ซึ่งระบบรองรับการแก้ไขเทมเพลตตามที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการ โดยจะต้องอาศัยความรู้พื้นฐานทางด้านการเขียนภาษา HTML และ XML และแนะนำให้เลือกแก้ไขเทมเพลตจากเทมเพลตตั้งต้นที่มีลักษณะใกล้เคียงกับที่ทางมหาวิทยาลัยต้องการมากที่สุด เพื่อควบคุมการแก้ไขเทมเพลตให้น้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดจากการแก้ไขเทมเพลตได้ สำหรับหน้าเอกสารวิทยานิพนธ์ในเทมเพลตที่ระบบรองรับให้สามารถแก้ไขได้ มีทั้งหมด 8 หน้า ได้แก่ Cover page first th: หน้าปกแรกของวิทยานิพนธ์ฉบับภาษาไทย Cover […]

System Update

เมนู System Updater เป็นเมนูที่ระบบจะแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบทราบว่า ในส่วนของ Web portal และ Add-in มีการปรับรุ่น (update version) หรือไม่ ซึ่งหากระบบตรวจสอบแล้วพบว่ามีเวอร์ชันใหม่ จะแสดงผลดังภาพ หรือในกรณีตรวจไม่พบเวอร์ชันใหม่ หรือระบบมีการอัพเดตเวอร์ชันเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงผลดังภาพ Web portal กรณีที่มีการอัพเดตในส่วนนี้ ทีมพัฒนาระบบจะเป็นผู้อัพเดตให้ ซึ่งก่อนการอัพเดต ทางทีมงานจะแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบทราบก่อน จึงจะทำการปิดระบบเพื่อปรับปรุงระบบ Add-in กรณีที่มีการอัพเดตข้อมูลในส่วนนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบสามารถดาวน์โหลด Add-in ตัวใหม่ได้ พร้อมทั้งสามารถตัดสินใจได้ว่า ต้องการจะให้นิสิตนักศึกษาของทางสถาบันใช้งาน Add-in ตัวใหม่หรือไม่

การใช้งานเมนู SANDBOX

เมนู SANDBOX            เมนู SANDBOX เป็นเมนูที่ใช้สำหรับทดสอบการใช้งานระบบ โดยจะประกอบไปด้วยเมนู Email sandbox ซึ่งเป็นเมนูที่ซ่อนอยู่ภายในเมนู SANDBOX นี้ โดยเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบจะใช้งานเมนูดังกล่าวนี้เพื่อตั้งค่าการส่งอีเมล โดยตัวอย่างอีเมลที่ระบบจะทำการส่งออกไปยังผู้รับที่ตั้งค่า เช่น อีเมลขอพิจารณาอนุมัติวิทยานิพนธ์ อีเมลฉบับร่าง(กรณีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม) อีเมลแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติวิทยานิพนธ์ เป็นต้น Sandbox mode ในส่วนของ Sandbox mode นี้จะแบ่งการใช้งานได้เป็น 2 โหมด ดังนี้ Production  Development   โดยทั้ง 2 คำสั่งนี้จะมีความแตกต่างกันในด้านของจุดประสงค์การใช้งานดังนี้   การใช้งานในโหมด Production เป็นการใช้งานในโหมดปกติ คือการส่งอีเมลถึงผู้รับจริง ตามอีเมลของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม นิสิตนักศึกษา หรือเจ้าหน้าที่ ที่ปรากฎในระบบ วิธีการใช้งานโหมด Production  เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบกดเลือก […]